เมื่อโลกของธุรกิจพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอย่างไม่รู้จบ ทำให้ประสบการณ์และสิ่งที่ทำมาในอดีตไม่อาจการันตีถึงความอยู่รอดขององค์กรในอนาคตได้ องค์กรที่ยังคิดหรือใช้กลุยทธ์แบบเดิมอาจก้าวไม่ทันโลก แล้วเทรนด์ที่ต้องก้าวตามให้ทันมีอะไรบ้าง
จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดชี้ให้เห็นว่า ก่อนที่จะเกิดโควิด กว่า 97% ขององค์กรส่วนใหญ่โฟกัสไปที่การนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ แต่หลายครั้งที่ผลลัพธ์ไม่ได้ออกมาดีอย่างที่คิด เพราะขาดการนำนวัตกรรมมาพัฒนาทรัพยากรภายในองค์กร และนวัตกรรมที่ไม่อัปเดตมากพอ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- “ผมมีรายได้เป็นตัวเลข 6 หลักโดยไม่ต้องจบปริญญา” ชาวนิวยอร์กเผย มีรายได้ปีละ 4.3 ล้านบาท จากอาชีพ ‘พาสุนัขเดินเล่น’
- เปิดโผ 10 อาชีพ รายได้งาม ความเครียดต่ำ ส่วนมากไม่ต้องรับผิดชอบชีวิตคนและไม่ต้องเผชิญหน้ากับลูกค้า
- LinkedIn เปิดโผ 20 ทักษะในการทำงานที่องค์กรตามหากันมากที่สุด พร้อมคอร์สเรียนออนไลน์ที่ได้ใบประกาศฯ
ผลพวงจากโควิดทำให้หลายองค์กรต้องทิ้งตำราในการทำธุรกิจที่มีอยู่ทิ้ง เพราะเมื่อโลกไปไกลกว่าเดิม การบริหารธุรกิจและองค์กรที่พัฒนามาเป็นปีอาจไม่ตอบโจทย์นิยามของโลกที่เปลี่ยนไปในวันนี้ โดยเฉพาะหลังสถานการณ์โควิด เป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ แบบเร็วขึ้น ทำให้ต้องจับตากันดูแบบรายวัน
ดังนั้นองค์กรต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้หรือวิ่งตามให้ทันกับโลกที่จะเปลี่ยนไป ตัดสินใจบนข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เพราะจะไม่มีโอกาสให้นั่งลองผิดลองถูกได้อีก
SEAC ร่วมกับ The Stanford Center for Professional Development มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้เผยข้อมูล 5 เทรนด์สำคัญ จากโครงการ ‘Leading in a Disruptive World 5’ ที่จะนำเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารขององค์กรชั้นนำไปฟังข้อมูลและร่วมเวิร์กช็อปเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารธุรกิจในทิศทางที่ถูกต้องหลังโควิด ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ถึง 5 วันเต็ม โดยมีศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งการสอนและทำวิจัยจากการเก็บข้อมูลจากองค์กรชั้นนำระดับโลกมาร่วมให้ข้อมูลและแนะแนวทางในการวางหมากกลยุทธ์สำหรับแต่ละองค์กรที่เข้าร่วมด้วย
ขณะเดียวกันนี่คือ 5 เทรนด์โลกที่ต้องจับตามองหลังสถานการณ์โควิด
-
การ Transform ของโลกและผู้นำ ที่จะมุ่งสู่ Digital Future อย่างแท้จริง
สถานการณ์โควิดเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้นถึง 20 เท่า ความเปลี่ยนแปลงที่เร็วขึ้นแบบติดจรวดเช่นนี้ส่งผลให้นิยามของ Transformation เปลี่ยนไป กลยุทธ์การทำธุรกิจก็ต้องปรับเปลี่ยนใหม่ให้ทัน การก้าวเข้าสู่ Digital Future เร็วขึ้น ส่งผลต่อทุกธุรกิจต้องหันมานำดิจิทัลเข้ามาใช้ เพื่อให้ทันกับโลกและพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้นำองค์กรต้องมี Mindset และ Skillset แบบใหม่ที่จำเป็นสำหรับโลกอนาคต
ผู้นำจะไม่แค่เพียงสั่งการ แต่ต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบ Collective Intelligent หรือความฉลาดของการรวมกลุ่ม สร้าง Digital Future และ AI มาใช้ในองค์กร การนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการพัฒนาสินค้าและบริการ ต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรด้วย เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขยายธุรกิจ
-
Tech, Digital และ Data ที่ส่งผลต่อ Transformation
Transformation ไม่ใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยีอีกต่อไป Tech, Digital และ Data ส่งผลต่อทิศทางของ Transformation การมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ต้องผนวกทั้งเทรนด์และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เทคโนโลยี Crown Computing เข้ามามีผลต่อธุรกิจต่างๆ ต้องเรียนรู้ที่จะเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในการสร้างโอกาสทางธุรกิจ
นอกจากนี้ยังต้องรู้จักที่จะใช้ประโยชน์จาก Data ที่มีอยู่ให้มากที่สุด เข้าใจเรื่องของ Data ในมิติที่มากกว่าการเก็บหรือวิเคราะห์ข้อมูล แต่ต้องมองข้ามช็อตว่าองค์กรสามารถนำ Data มาสร้างความได้เปรียบให้ธุรกิจได้ในระดับไหน และจะส่งผลต่อภาพรวมของธุรกิจอย่างไร ดังนั้น Data Mindset จึงเป็นอีกหนึ่ง Mindset สำคัญที่ผู้นำและคนในองค์กรต้องมี
กลยุทธ์นวัตกรรมที่จะช่วยให้แข่งขันได้ในโลกแห่ง Disruptive
องค์กรต้องวางกรอบกลยุทธ์นวัตกรรมในองค์กรใหม่ เพราะนวัตกรรมที่เคยพัฒนามาก่อนสถานการณ์โควิดอาจจะไม่ตอบโจทย์นิยามของนวัตกรรมในวันนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นองค์กรต้องให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ในการทำนวัตกรรม (Innovation Stretegy) ซึ่งต้องมาจากผู้นำที่มี Venture Mindset หรือ Entrepreneurial Mindset ในการตัดสินใจว่านวัตกรรมตัวไหนขององค์กรที่ต้องนำมาพัฒนาต่อไปให้สุดทาง (Exploitation)
และต้องหานวัตกรรมใหม่ๆ (Exploration) เข้ามาใช้ควบคู่กัน เพื่อเข้าไปเจาะตลาดที่เกิดใหม่ ต้องมองทั้งสองเรื่องควบคู่ไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งกระบวนการ Design Thinking ที่จะนำมาใช้ในองค์กร จะถูกพัฒนาไปอีกขั้นเพื่อให้เกิดผลที่เร็วขึ้น รวมถึงการทำธุรกิจโดยคำนึงความยั่งยืนมากกว่าแค่มุมมองเรื่องผลกำไร ก็เป็นอีกเทรนด์สำคัญที่จะยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องหลังสถานการณ์โควิด
-
ผู้นำองค์กรต้องมองการณ์ไกลถึงภาพของอนาคต ไม่ใช่แค่ปัจจุบัน
ผู้นำองค์กรยุคใหม่ต้องเป็น Futurist หรือเป็น Future Leader ที่ต้องปรับเปลี่ยนเกมกลยุทธ์ และมองถึงอนาคตมากกว่าแค่วันนี้ ต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและเลือกที่จะปรับใช้กับสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นภาพใหม่ของผู้นำที่ต้องมีหลังสถานการณ์โควิด
รวมไปถึงทักษะสำคัญของการโน้มน้าวและเชิญชวน (Influence และ Persuation) เพื่อให้คนในองค์กรคิดและเห็นภาพไปในทิศทางเดียวกัน และต้องมี Improv Mindset ซึ่งเป็นศัพท์ใหม่ที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นหู เป็นต้นกำเนิดของทักษะสำคัญๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ ความยืดหยุ่น ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) และการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย
-
การบริหารงานบุคลากรใหม่ ที่สร้าง Talent แบบตัวคูณ
การนิยามและภาพของคำว่า Talent ปรับเปลี่ยนไป ในอดีตองค์กรชั้นนำของสหรัฐฯ มองว่าต้องมี Talent อย่างน้อย 10-20% ตอนนี้กลายเป็นว่าองค์กรไม่จำเป็นต้องมี Talent ในองค์กรเป็นจำนวนมากเหมือนเคย มี Talent ที่ใช่แค่ 3 % ก็พอ แต่ต้องขยายศักยภาพของ Talent ให้เป็นตัวคูณที่เพิ่มผลผลิตที่ดีต่อองค์กรให้ได้ โดยสร้างคอมมูนิตี้ของ Talent ในองค์กร หรือแพลตฟอร์มให้ Talent ได้พัฒนาศักยภาพร่วมกัน
โดยสามารถขยายวงไปถึง Talent นอกองค์กรใน Business Value Chain ที่เป็นการรวมกลุ่มกันแบบข้ามสายงานหรือข้ามบริษัท ที่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับองค์กร เพื่อให้ Talent ได้เปิดมุมมองใหม่ๆ อีกทั้งรูปแบบของ Talent ที่องค์กรที่ต้องการหลังจากนี้จะเป็นแบบ Comb-Sharped Talent คือ มีความรู้กว้างและรู้ลึกมากกว่าด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
จากข้อมูลที่กล่าวข้างต้น ถึงแม้จะเป็นเพียงการพรีวิวข้อมูลเทรนด์ของโลกล่าสุดในเบื้องต้นจากงาน Breakfast Briefing ภายใต้โครงการ Leading in a Disruptive World 5 โดยอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง SEAC แต่เชื่อว่าน่าจะทำให้เจ้าของธุรกิจหรือผู้บริหารองค์กรหลายแห่งเริ่มให้ความสนใจกับความเปลี่ยนไปของโลกหลังสถานการณ์โควิด ที่สามารถส่งผลต่อการทำธุรกิจนับจากนี้ โดยเฉพาะในช่วงที่หลายๆ บริษัทกำลังมองหาแผนกลยุทธ์องค์กรที่ใช่สำหรับปีหน้า หรือในอีก 3 ปีข้างหน้า เพื่อให้สามารถเตรียมตัวรับมือ หรือมองหาโอกาสในการบริหารธุรกิจหรือองค์กรได้ถูกทาง