×

เล่า…เรื่องประชาธิปไตยสมัย 2475 ผ่าน 5 หนังสือประวัติศาสตร์

โดย THE STANDARD TEAM
23.06.2023
  • LOADING...

ทีมข่าว THE STANDARD แนะนำหนังสือ 5 เล่มที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ในโอกาสครบรอบ 91 ปีประชาธิปไตยไทย และสำหรับผู้อ่านที่อยากเปิดมุมมองเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ร่วมค้นหาและติดตามเบื้องลึก-เบื้องหลังที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อนในปีเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง 2475 

 


 

 

เนื้อหาภายในเล่มได้เรียบเรียงอดีตและความทรงจำเกี่ยวกับประเทศไทยไว้หลากหลายมิติ ตั้งแต่ก่อตั้งรัฐไทยจนถึงช่วงเวลาที่คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจในสังคมไทย แสดงให้เห็นถึงความร่วมสมัยต่อผู้อ่านไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

 

โดยในบทที่ 10 เล่าถึงเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่ช่วงปี 2548-2564 การลุกขึ้นมาส่งเสียงของเหล่านักเรียนและเยาวชนผ่านแฟลชม็อบและม็อบทั่วประเทศไทย สร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ และส่งสัญญาณว่าจากนี้สังคมไทยจะไม่มีวันเหมือนเดิม

 

ฉบับนี้ยังมีบทความพิเศษโดย เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ และปกใหม่ที่เป็นภาพวาดของ ตะวัน วัตุยา ศิลปินชื่อดัง

 


 

 

จากภาพยนตร์สารคดีสู่ตัวหนังสือ บอกเล่าเรื่องราวการค้นหาคำตอบของคำถามที่ว่า ‘ประชาธิปไตยคืออะไร’ ผ่านการบอกเล่าของสองผู้กำกับภาพยนตร์ โดยเหล่านักวิชาการแนวหน้าของประเทศและนักเคลื่อนไหวทางด้านประชาธิปไตย เช่น สุลักษณ์ ศิวรักษ์, ธงชัย วินิจจะกูล, ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และ สมบัติ บุญงามอนงค์

 

เนื้อหาได้นำเสนอมุมมองทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของเหตุการณ์ทางการเมืองการปกครองในประเทศ ตั้งแต่เหตุการณ์ยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475, กบฏบวรเดช, รัฐประหาร 2490 และเหตุการณ์อีกหลายเรื่องที่ไม่ได้รับการกล่าวถึงจนช่วงเวลาปัจจุบัน  

 


 

 

“เมื่อบรรยากาศและกระแสตื่นตัวทางประชาธิปไตยเริ่มแผ่ขยายไปทั่วโลก…สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงจึงพัดผ่านประเทศไทย” 

 

งานเขียนที่บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์การปกครองช่วงที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ปี 2475 

 

หนังสือเล่มนี้ได้เพิ่มมุมมองและเปิดโลกทัศน์ทางการเมืองการปกครองประกอบกับสถานการณ์ของบ้านเมืองที่ผ่านมานับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้นักอ่านได้เรียนรู้และเข้าใจ นอกจากนี้ยังมีการให้ข้อมูลวิวัฒนาการของความคิดและการปกครองประเทศไทยในประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์ผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองภายหลังปี 2475 

 


 

 

ฉบับปรับปรุงแก้ไขฉบับพิมพ์ครั้งแรกปี 2550 ได้ปรับปรุงแก้ไขในส่วนลำดับเหตุการณ์ที่ได้เพิ่มบันทึกการเมืองให้ถึงต้นปี 2561 อันเป็นปัจจุบันที่สุดในการพิมพ์ครั้งนี้ 

 

โดยหนังสือเล่มนี้คือการศึกษาการเมืองไทยแบบภาพรวมกว่าหนึ่งศตวรรษ แสดงให้เห็นว่ากระแสประชาธิปไตยสากลยังเป็นกระแสสำคัญของโลกและไทย แม้ว่าจะถูกเหนี่ยวรั้งให้กลับไปสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และรัฐทหาร-พลังราชาชาตินิยมอยู่เป็นระยะ 

 

เนื้อหาภายในเล่มที่น่าสนใจ ประกอบด้วย บทวิเคราะห์ข้ออ้างการปฏิวัติ-รัฐประหารในการเมืองไทยสมัยใหม่, ลำดับเหตุการณ์ศตวรรษการเมืองไทยสมัยใหม่, เอกสารและข้ออ้างการปฏิวัติ-รัฐประหารในการเมืองไทยสมัยใหม่

 

นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยตัวเลขสถิติของการเมืองไทยที่น่าสนใจ เช่น ไทยมีรัฐประหารสำเร็จ 13 ครั้ง เท่ากับทุก 6 ปีครึ่ง ต่อ 1 ครั้ง, มีรัฐประหารไม่สำเร็จและกบฏ 11 ครั้ง เท่ากับทุก 7 ปีครึ่ง ต่อ 1 ครั้ง และ 86 ปีหลังปฏิวัติ 2475 มีรัฐประหาร กบฏ และพลังประชาชน 26 ครั้ง เท่ากับทุก 3 ปี ต่อ 1 ครั้ง

 


 

 

สำหรับใครที่กำลังมองหาฐานข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นก่อน ระหว่าง และหลัง ปี 2475 หนังสือเล่มนี้ถือว่าตอบโจทย์ เพราะมีเนื้อหาที่น่าสนใจ เช่น เส้นทางจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ประชาธิปไตยยุคคณะราษฎร ปี 2435-2490, เส้นทางจากกึ่งเผด็จการสู่ประชาธิปไตยแบบไทย ปี 2491-2516, สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในกรุงเทพฯ ที่เกี่ยวกับการปกครองสยามในกรุงเทพฯ 

 

โดยในส่วนของสถานที่มีการแนบภาพตัวอย่างเอาไว้ให้เห็น ทั้งภาพสมัยอดีตและสมัยปัจจุบัน

 

ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X