×

เช็กลิสต์ ‘5 พฤติกรรมพึงระวัง’ หากไม่อยากทุนหายกำไรจม

12.04.2022
  • LOADING...
นักลงทุน

วลีคุ้นเคยที่ระบุว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน” นั้น เป็นข้อเตือนใจสำหรับนักลงทุนทุกยุคสมัย และเหมาะกับทุกสภาวะตลาด แต่รู้หรือไม่ว่า แม้จะศึกษาข้อมูลด้านการลงทุนกันมาเป็นอย่างดี และคอยระมัดระวังความเสี่ยงต่างๆ อยู่ตลอดเวลา แม้แต่นักลงทุนที่เป็นตำนานก็ยังพลาดพลั้ง

 

สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ เชื่อได้ว่าส่วนใหญ่ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานธุรกิจ อัปเดตภาพรวมอุตสาหกรรมและมองไปถึงแนวโน้มการเติบโตของตลาด นักลงทุนหน้าใหม่บางรายมีการสืบค้นเชิงลึกไปถึงวิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้งหรือผู้บริหารระดับสูงด้วยซ้ำ แต่กระนั้น ก็ยังต้องเผชิญกับตัวเลขสีแดง หรือการขาดทุนจากการลงทุนอยู่ดี 

 

และปัญหาพื้นๆ ที่บ่อยครั้งก็นำไปพาไปสู่ความผิดพลาดด้านการลงทุนครั้งใหญ่ ก็คือความเชื่อผิดๆ นำไปสู่การตัดสินใจพลาดนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อที่ว่าลงทุนเกาะพอร์ตรายใหญ่แล้วรวยแน่นอน ความเชื่อที่ว่าไม่ขายเท่ากับไม่ขาดทุน รวมไปถึงพฤติกรรมไม่ล็อกเป้าหมายกำไรแต่พอหุ้นลงกลับรับไม่ได้และรีบขายทันที และที่หนักหนาที่สุดก็คือเน้นขายทำกำไรสั้นๆ แต่หากขาดทุนจะยอมถือยาว 

 

ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับทัศนคติและมุมมอง รวมถึงทำความเข้าใจตัวเองใหม่ ทั้งในมุมของความสามารถในการรับความเสี่ยง และเป้าหมายการลงทุนนั่น โดย SCB Wealth ได้สรุป 5 พฤติกรรมที่ควรหลีกให้ห่างสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ลองพิจารณาฝึกฝนกัน ดังต่อไปนี้

 

  1. Panic Sell

ไม่ว่าจะตลาดหุ้นไทยหรือตลาดหุ้นโลก พฤติกรรมพวกมากลากไปมีให้เห็นเสมอ โดยเฉพาะในยามที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนและอ่อนไหวตามปัจจัยต่างๆ ที่มารุมเร้า ยกตัวอย่าง ในตลาดหุ้นไทยเองก็มีหลายรอบที่ดัชนีปรับลดลงอย่างไม่สมเหตุสมผลแม้จะมีเหตุผลรองรับก็ตาม เมื่อเกิดสภาวการณ์เช่นนี้ทีไร หลายคนตื่นกลัว รับไม่ได้หากจะต้องขาดทุนไปด้วย จึงตัดสินใจขายหุ้นในทันทีโดยที่ยังไม่ได้พิจารณาให้ละเอียดว่าสาเหตุที่ดัชนีปรับลดลงมากนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ 

 

สิ่งที่ควรทำเมื่อเผชิญกับตลาดหุ้นที่ผันผวน คือการมองการณ์ไกล นักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้รอบคอบก่อน เช่น หุ้นที่ลงทุนอยู่นั้นได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่มากดดันตลาดหุ้นในช่วงเวลานั้นๆ หรือไม่ มากน้อยเพียงใด และประเมินความสามารถในการยอมรับการขาดทุนของตัวเองไว้อยู่ตลอดเวลา 

 

  1. ถือเงินสดนานเกินไป

แน่นอนว่านักลงทุนหลายท่านต้องมีสูตรถือเงินสดลดความเสี่ยงอยู่ในใจ แต่รู้หรือไม่ว่า การถือเงินสดนานเกินไปทำให้นักลงทุนพลาดโอกาสเหมาะในการเข้าลงทุนมาแล้วนักต่อนัก หลายคนอาจจะกำเงินสดไว้รอเข้าซื้อในจังหวะที่ราคาหุ้นต่ำสุด ซึ่งต้องทำความเข้าใจใหม่โดยด่วนว่าจังหวะนั้นไม่มี นักลงทุนผู้เป็นตำนานหลายคนยืนยันให้แล้วว่า ไม่มีใครซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำที่สุดและขายหุ้นในราคาสูงที่สุดอย่างแน่นอน ทุกคนล้วนมีจุดพอใจที่จะเข้าซื้อและพอใจที่จะขายเป็นของตัวเองทั้งนั้น 

 

สิ่งที่ควรทำในกรณีที่มีเงินสดจำนวนมากที่พร้อมจะลงทุนก็คือ การทยอยลงทุน หรือ DCA โดยการ DCA หุ้นนั้นจะช่วยสร้างวินัยในการออมและลงทุน เนื่องจากต้องลงทุนต่อเนื่องเป็นประจำทุกงวด ช่วยให้ได้มีโอกาสลงทุนในช่วงที่สินทรัพย์ลงทุนมีราคาลดลงจากความผันผวนระยะสั้น และช่วยให้ลงทุนได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องคอยจับจังหวะลงทุน

 

  1. มั่นใจเกินไปจนไฟไหม้พอร์ต

แน่นอนว่าความมั่นใจในตัวเองเป็นสิ่งที่ดี และเป็นแรงผลักดันให้เกิดความก้าวหน้า แต่ในตลาดหุ้นนั้นมีอีกหลากหลายปัจจัยที่นักลงทุนยังไม่รู้ และอาจไม่มีโอกาสได้รับรู้ ดังนั้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่นักลงทุนศึกษามาด้วยตนเองจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงทั้งหมดที่มีผลต่อความเคลื่อนไหวราคาหุ้น โดยหากลองนึกภาพภูเขาน้ำแข็งก็จะน่าจะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าทำไมจึงไม่ควรมั่นใจตัวเองมากเกินไปหากจะเป็นนักลงทุนในตลาดหุ้น

 

สิ่งที่ควรทำเพื่อแก้ปัญหานี้คือ ให้ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนได้ทำหน้าที่ โดยที่ปรึกษาการลงทุนและผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นมีมากมาย ตั้งแต่นักวิเคราะห์ ผู้แนะนำการลงทุน ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ผู้จัดการกองทุน รวมไปถึงนักลงทุนผู้เป็นตำนานหลายๆ ท่าน ที่พร้อมจะแบ่งปันมุมมองและความคิดเห็นแก่นักลงทุนอยู่ตลอด 

 

  1. ขาดทุนแค่ไหนก็ถือ แต่พอกำไรนิดหน่อยก็ขาย

ขอให้จำไว้ว่าวลี ‘ไม่ขายเท่ากับไม่ขาดทุน’ เป็นเพียงวลีติดตลก และมักถูกหยิบยกมาใช้ในปลอบใจตัวเองทั้งนั้น การไม่ขายเท่ากับไม่ขาดทุนอาจไปสู่วลีใหม่ที่ว่า ‘ไม่ขายก็ยิ่งขาดทุน’ ซึ่งมีแต่จะนำพานักลงทุนไปสู่สถานการณ์ที่ย่ำแย่กว่าเดิม 

 

การ Cut Loss และ Take Profit เป็นสิ่งที่นักลงทุนต้องฝึกทำจนเกิดวินัย ซึ่งปัจจุบันเครื่องมือทางการลงทุนต่างๆ ล้วนมีฟังก์ชันนี้ให้นักลงทุนเลือกใช้ทั้งนั้น แต่ส่วนใหญ่จะทำไม่ได้ และบางรายทำได้เป็นครั้งคราว นั่นก็เพราะว่านักลงทุนยังใช้อารมณ์ในการลงทุนอยู่นั่นเอง 

 

สิ่งที่ควรทำคือ การฝึกฝนและสร้างวินัยในการ Cut Loss และ Take Profit หลายคนกำหนดสัดส่วนขาดทุนที่ตัวเองรับได้ที่ 5% และพอใจกำไรที่ 10% ซึ่งสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดนั้นจะสอดคล้องกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของตัวเอง อย่างไรก็ตาม แม้จะกำหนดสัดส่วนการขาดทุนรับได้ หลายคนก็ยังล้มเหลวในการสร้างวินัยเพราะไม่สามารถตัดอารมณ์ออกจากแผนลงทุนได้ ซึ่งหากนักลทุนคนไหนรู้ตัวว่ากำลังประสบภาวะเช่นนี้ ที่ปรีกษาทางการเงินและผู้แนะนำการลงทุนสามารถช่วยได้ 

 

  1. ไม่สนใจรีบาลานซ์พอร์ต

โลกสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตลาดหุ้นก็เช่นกัน หากย้อนกลับไปเพียง 3 ปีที่แล้วก่อนเกิดโควิด ตลาดหุ้นทั่วโลกยังมองไม่เห็นการเติบโตของหุ้นเทค หุ้นที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม New Normal ได้ชัดเจนนัก แม้จะรู้ว่าเป็นเทรนด์อนาคต แต่ก็ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าเป็นอนาคตอันใกล้หรือไกลเพียงใด

 

มาสู่ปี 2022 ทั่วโลกมีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นมากมาย เช่นเดียวกับธีมการลงทุนใหม่ๆ ที่ดูจะมีความหวังด้านการเติบโตมากกว่าธุรกิจดั้งเดิม พิสูจน์ได้จากเม็ดเงินลงทุนมากมายจากกองทุนระดับโลกที่มุ่งไปสู่ธีมการลงทุนแห่งอนาคต เช่น ธีม Technology, ธีม New Energy, ธีม ESG, ธีม Healthcare-Healthtech 

 

ข้อเสียของการไม่รีบาลานซ์พอร์ต คือการสูญเสียโอกาสครั้งใหญ่ในการเพิ่มพูนความมั่งคั่งให้กับตัวเอง ภาพที่ชัดที่สุดคือหุ้นพลังงานที่ปัจจุบันทั่วโลกกำลังมูฟออนไปสู่ New Energy และ Renewable Energy 

 

สิ่งที่ควรทำในโลกที่การลงทุนเปลี่ยนแปลงรวดเร็วคือการรีบาลานซ์พอร์ต เพื่อให้พอร์ตลงทุนทันสมัย และเพื่อลดความอ่อนไหวของพอร์ตในช่วงตลาดผันผวน อย่างไรก็ตาม ในการรีบาลานซ์พอร์ตนั้นจะมีปัจจัยที่ต้องคำนึงด้วย คือเรื่องค่าธรรมเนียม 

 

และนี่ก็คือ 5 พฤติกรรมพึงระวังและสิ่งที่ควรทำเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งแก่พอร์ตลงทุนที่นักลงทุนหน้าใหม่สามารถนำไปฝึกฝนและสร้างวินัยให้กับตัวเองได้ไม่ยาก 

 

หากนักลงทุนต้องการคลายร้อนจากสถานการณ์ตลาดโลกผันผวน รับความชุ่มฉ่ำกับโอกาสพอร์ตเติบโต เลือกลงทุน SCBDV กองทุนหุ้นไทย 4 ดาว MorningStar และ SCBGHC กองทุนหุ้นกลุ่ม Healthcare 

 

พิเศษ! รับ Gift Voucher by Central Group สูงสุด 2,000 บาท เพียงลงทุนในกองทุนที่ร่วมรายการตามเงื่อนไขที่กำหนดผ่าน SCB Easy App ตั้งแต่วันที่ 1-29 เมษายน 2565 รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 

  • กองทุนเปิดไทยพาณิชย์หุ้นทุนปันผล (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (SCBDV) ความเสี่ยง 6 เสี่ยงสูง Overall Rating 4 ดาว จาก Morningstar ประเภท Thailand Fund Equity Large-Cap ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
  • กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลบอลเฮลธ์แคร์ (SCBGHC) ความเสี่ยง 7 เสี่ยงสูง

 

หมายเหตุ: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน รวมถึงควรลงทุนในกองทุนรวมที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้ กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต และสามารถศึกษาข้อมูลกองทุนหลักได้จากเว็บไซต์ของ SCBAM และสามารถศึกษารายละเอียดกองทุนเพิ่มเติมผ่าน SCB Easy App

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising