×

13 พันธมิตรใหม่ BRICS กับความสำคัญเชิงภูมิศาสตร์-ยุทธศาสตร์

20.11.2024
  • LOADING...

BRICS ขยายพาร์ตเนอร์เพิ่มอีก 13 ประเทศ รวมถึงไทย โดย รศ. ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน มองว่าพาร์ตเนอร์ใหม่ BRICS ล้วนมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ หรือแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ป้อนอุตสาหกรรมใหม่ๆ

 

ในอีกมุมหนึ่ง การเลือกพาร์ตเนอร์ BRICS รอบนี้ยังสะท้อนการเชื่อมหมากในกระดานหมากล้อม ที่จีนพยายามแก้เกมปิดล้อมในทางภูมิศาสตร์ของสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก

 

 

แอลจีเรียมีทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เดิมมีลูกค้าพลังงานรายใหญ่คือฝรั่งเศส แต่เริ่มรู้สึกว่าไม่แฟร์ จึงกระจายความเสี่ยงไปคบกับจีน

 

 

ไนจีเรีย เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุด และมีตัวเลข GDP สูงที่สุดในทวีปแอฟริกา อีกทั้งยังเป็นประตูสู่แอฟริกาตะวันตก และประตูสู่พื้นที่รอยต่อทางใต้ของทะเลทรายซาฮารา และเหนือพื้นที่สีเขียวของแอฟริกาที่เรียกว่าเข็มขัดซาเฮล

 

 

ยูกันดาเป็นประตูสู่แอฟริกาตะวันออก มีทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์

 

 

โบลิเวียเป็นประเทศที่มีแหล่งแร่ลิเธียมมากที่สุดในโลก ซึ่งจะเป็นหลักประกันในการป้อนอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของจีนตามแผนยุทธศาสตร์ 3 ขั้น

 

 

คิวบาเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ของ BRICS ด้วยเหตุผลด้านทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ เพื่อจ่อคอหอยอเมริกา โดยที่ผ่านมาเคยมีบทบาทสำคัญจากวิกฤตการณ์คิวบาปี 1962 ที่เกิดการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐฯ กับโซเวียต หลังสหรัฐฯ นำขีปนาวุธไปติดตั้งในตุรกีและเล็งไปที่มอสโก รัสเซียจึงขนขีปนาวุธไปคิวบาจนเกิดวิกฤตการณ์ขึ้น

 

 

เบลารุสเป็นรัฐกันชนรัฐสุดท้ายของรัสเซีย (รัสเซียมี 3 แนวกันชน แนวแรกคือ ลัตเวีย, ลิทัวเนีย และเอสโตเนีย ซึ่งเป็น NATO ทั้งหมด แนวที่ 2 ที่อยู่ใต้ลงมาคือ เบลารุส และใต้ลงมาอีกคือยูเครน) โดยมีความสำคัญในเชิงที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ ทำให้รัสเซียและ BRICS ต้องพยายามชิงเบลารุสให้ได้ก่อน

 

 

ตุรกีเป็นสะพานเชื่อมเอเชียและยุโรป การได้ตุรกีเป็นพาร์ตเนอร์ยังได้ประโยชน์ในแง่การ PR ว่า BRICS เป็นความร่วมมือที่เปิดกว้างจริงๆ และโฟกัสเรื่องเศรษฐกิจ เพราะตุรกีเป็นสมาชิก NATO ซึ่งแม้ NATO จะขัดแย้งกับรัสเซีย แต่ก็สามารถร่วมมือกันทางเศรษฐกิจได้ ขณะที่จีนเองก็ไปลงทุนในตุรกีผ่านโครงการ BRI ในการเชื่อมจากตุรกีไปยุโรป โดยมองเป็นเส้นทางสายไหมทางบกทางด้านใต้

 

 

คาซัคสถานมีความสำคัญจากการเป็นประเทศที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรปทางตอนกลาง และอยู่ในเส้นทางสายไหมตอนกลางที่ทอดจากนครซีอานของจีน

 

 

อุซเบกิสถานเป็นจุดศูนย์กลางของเอเชียกลาง และมีแหล่งแร่ธาตุเยอะ รวมทั้งอยู่ในเส้นทางสายไหมตอนกลางที่ทอดจากนครซีอานของจีน

 

 

ไทยถือเป็นศูนย์กลางอาเซียนภาคพื้นทวีป มีความสำคัญในแง่ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แต่คำถามสำคัญคือไทยจะได้อะไรจาก BRICS นั้น ยังคงเป็นเรื่องของความร่วมมือในทุกมิติ ต่างจากเขตการค้าเสรีที่มีข้อผูกมัด โดย BRICS เน้นเปิดพื้นที่เพื่อให้แต่ละประเทศมาให้สิทธิประโยชน์และให้สิทธิพิเศษระหว่างกัน แต่มีจุดต่างระหว่างการเป็นสมาชิกเต็มตัวกับประเทศพาร์ตเนอร์ โดยสมาชิกดั้งเดิมมีสิทธิพิเศษในการนำเสนอประเด็นใหม่ๆ ส่วนพาร์ตเนอร์ยังไม่แน่ชัดว่าจะได้สิทธิประโยชน์อะไรจากแหล่งเงินกู้ในธนาคาร New Development Bank หรือไม่

 

 

อินโดนีเซียเป็นแหล่งทรัพยากร (นิกเกิล) มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ และตลาดแรงงานมหาศาล อีกทั้งยังมีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นประโยชน์ในแง่การรวมกลุ่มมุสลิม

 

 

มาเลเซียมีศักยภาพในการเป็นฐานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในอนาคต นอกเหนือจากการเป็นแหล่งสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมันปาล์ม และอิเล็กทรอนิกส์ โดยเมื่อพิจารณาว่าผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ย้ายฐานออกจากไต้หวันจะไปไหน คำตอบคือไป 4 ที่ ได้แก่ มาเลเซีย, สิงคโปร์, เท็กซัส และแอริโซนา จีนจึงจำเป็นต้องมีมาเลเซีย

 

 

เวียดนามมีศักยภาพ เศรษฐกิจโตเร็ว เป็นศูนย์กลางการผลิตของอาเซียน โดยจีนเองอยากให้อินเดียมองเวียดนามเป็นตัวอย่าง จากการที่มีพรมแดนติดกับจีนเหมือนกัน และมีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนเหมือนกัน แต่จีนกับเวียดนามสามารถทำมาค้าขายกันได้ และเวียดนามยังเปิดประตูให้จีนเข้าไปลงทุนอย่างมหาศาล แม้มีปัญหาพิพาทในทะเลจีนใต้ ซึ่งจีนอยากใช้โมเดลนี้กับอินเดียเช่นกัน 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising