×

ส่องข้อเสนอแนะสิทธิมนุษยชนจากโลกถึงไทย บนเวที UPR รอบที่ 3

โดย THE STANDARD TEAM
12.11.2021
  • LOADING...
ส่องข้อเสนอแนะสิทธิมนุษยชนจากโลกถึงไทย บนเวที UPR รอบที่ 3

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เข้าสู่กระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน หรือ UPR ซึ่งถือเป็นรอบที่ 3 ของประเทศไทย ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 

 

สำหรับกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) หรือกระบวนการทบทวนสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน เป็นกลไกหนึ่งที่อยู่ภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Human Rights Council: HRC) ซึ่งมีจุดประสงค์ในการตรวจสอบสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในทุกๆ ด้านของรัฐสมาชิกสหประชาชาติ

 

กระบวนการนี้ในแต่ละประเทศจะเกิดขึ้นทุกๆ 4 ปีครึ่ง โดยแต่ละประเทศจะจัดทำรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศของตน เพื่อที่รัฐอื่นๆ หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสามารถรับรู้ถึงสถานการณ์หรือประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกด้านที่เกิดขึ้น

 

สำหรับรอบนี้ รัฐบาลไทยมีเวลา 48 ชั่วโมง ในการตอบแบบไม่เป็นทางการว่าจะรับข้อเสนอแนะจากประเทศใดบ้าง เรื่องใดบ้าง หรือจัดเป็น Take Note คือไม่ตอบรับ หลังจากนั้นจะมีเวลาพิจารณาอย่างน้อย 2 เดือน ในการตอบรับอย่างเป็นทางการ

 

และนี่คือช่วงที่เปิดพื้นที่ให้ประเทศต่างๆ กล่าวถึงการทำงานของประเทศไทย พร้อมข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย  

 

 

สหราชอาณาจักร: ให้ทบทวนกฎหมายและข้อบังคับที่กำหนดข้อจำกัดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับสิทธิในเสรีภาพในการแสดงออก และมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อปกป้องนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและสื่อจากการถูกคุกคาม การข่มขู่ 

 

สหรัฐอเมริกา: เสนอให้พิจารณาร่างกฎหมายว่าด้วยกิจการและองค์กรที่แสวงหาผลกำไร ที่จะเป็นการจำกัดพื้นที่ในการทำงานของ NGO, แก้ไขปัญหาการจำกัดสิทธิเสรีภาพ เช่น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และโทษสำหรับกฎหมายอาญา มาตรา 112 เรื่องของการบังคับให้บุคคลสูญหายของนักกิจกรรม 7 คน

 

เยอรมนี: แสดงความกังวลต่อการจำกัดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการรวมตัวกัน, เสนอแนะให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และกฎหมายหมิ่นประมาท, แก้ไขมาตรการที่จำกัดสิทธิในเสรีภาพการชุมนุม 

 

สวิตเซอร์แลนด์: เสนอให้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการกระทำอื่นๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี รวมถึงปรับแก้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ 116 

 

ฟินแลนด์: เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยเฉพาะการบังคับใช้ต่อเยาวชน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ 

 

ฝรั่งเศส: ได้แสดงข้อเสนอแนะเรื่องการปกป้องประชาชนจากการถูกบังคับบุคคลให้สูญหาย โทษประหารชีวิต การทรมาน ปกป้องสิทธิในเสรีภาพการแสดงออก รวมถึงการให้แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112, แก้ไขร่าง พ.ร.บ.NGO 

 

แคนาดา: ยุติการใช้กฎหมายที่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นการชุมนุม กฎหมายอาญา มาตรา 112 และ 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์, มีกฎหมายป้องกันการทรมานและมีการนำผู้กระทำการทรมานมาลงโทษ, ไม่จำกัดกิจกรรมของ NGO คุ้มครองนักปกป้องสิทธิตามมาตรฐานสากล

 

ญี่ปุ่น: ชื่นชมไทยเรื่องของการบังคับบุคคลให้สูญหาย ที่เตรียมมีการรับกฎหมายมาบังคับใช้ และมีข้อเสนอแนะเรื่องของการให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศ และปรับปรุงสถานการณ์สิทธิมนุษยชน รวมทั้งสิทธิในการแสดงออกและเรื่องของการปกป้องสิทธิเด็กรวมทั้งเรื่องของการดูแลสุขภาพ

 

มาเลเซีย: ชื่นชมในการปกป้องสิทธิผู้หญิงและเด็ก ในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ชมเชยบทบาทของไทยที่มีต่ออาเซียน 

 

นอร์เวย์: ขอให้เคารพสิทธิในการแสดงออก สิทธิในการชุมนุม สิทธิในการรวมตัว แม้ว่าจะเป็นคู่ต่อสู้ทางการเมืองหรือขัดแย้งทางการเมือง, แก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพื่อที่จะให้เป็นไปตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชน 

 

ออสเตรีย: สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก, การดำเนินคดีกับเด็กจะต้องมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา และให้มีการดำเนินการในคดีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง

 

ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

อ้างอิง: Amnesty International Thailand (12 พ.ย. 2021)

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X