×

ทำไมไทยต้องนำเข้า ‘น้ำมัน’ เกือบ 90% แท้จริงแล้วไทยมีศักยภาพในการผลิตแค่ไหน [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
22.12.2023
  • LOADING...
นำเข้าน้ำมัน

น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานหลักของโลกมานานนับศตวรรษ และการที่ประเทศใดสามารถผลิตได้ด้วยตัวเองก็จะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้สูงขึ้น

 

สำหรับประเทศไทยถือว่าโชคดีที่มีแหล่งพลังงานของตัวเอง ทั้งแหล่งก๊าซธรรมชาติและแหล่งน้ำมันดิบกระจายอยู่หลายแห่ง ทั้งในทะเลและบนบก แต่แหล่งที่ผลิตได้ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ทำให้ประเทศยังต้องอาศัยการนำเข้า ทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ

 

ปัจจุบันไทยสามารถผลิตน้ำมันดิบได้เพียงประมาณ 10-15% ขณะที่ก๊าซธรรมชาติผลิตได้ประมาณ 50-60% ทั้งจากแหล่งผลิตในทะเลอ่าวไทย เช่น แหล่งเอราวัณ แหล่งบงกช แหล่งอาทิตย์ แหล่งเบญจมาศ เป็นต้น รวมถึงแหล่งผลิตบนบก เช่น แหล่งสินภูฮ่อม จังหวัดอุดรธานี และแหล่งน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

 

แม้ว่าประเทศไทยจะมีแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ แต่แหล่งเหล่านี้มีลักษณะทางธรณีวิทยาเป็น ‘กระเปาะ’ ส่งผลให้หลุมผลิตเหล่านี้มีระยะเวลาในการผลิตสั้น และต้องลงทุนเจาะหลุมผลิตในกระเปาะอื่นๆ อย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก นำมาซึ่งต้นทุนในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมต่อหน่วยที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมขนาดใหญ่ เช่น พม่าและมาเลเซีย 

 

ทั้งนี้ การที่ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือที่ในแวดวงเรียกกันว่า ‘ต้นน้ำ (Upstream)’ จะสามารถดำเนินการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติออกมาได้หลังจากได้รับสัญญาแล้ว สำหรับการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมไทยจะมีการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน ดังนี้

 

  1. การสำรวจ (Exploration) เป็นการเจาะหลุมเพื่อพิสูจน์ว่ามีน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติอยู่หรือไม่ ซึ่งต้นทุนในการพิสูจน์ก็มีตั้งแต่ร้อยล้านบาทไปจนถึงพันล้านบาท ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่และสภาพทางธรณีวิทยา กระบวนการนี้มักใช้เวลาประมาณ 5 ปี กรณีที่ไม่พบปิโตรเลียมจะต้องคืนพื้นที่ให้กับรัฐ
  2. การพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (Field Development) แม้สำรวจพบแหล่งปิโตรเลียม แต่จะต้องมีการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ หากพบว่า ‘ไม่คุ้มค่า’ ก็จะดำเนินการคืนแปลงสำรวจให้แก่รัฐ หาก ‘คุ้มค่า’ ก็จะได้รับอนุมัติงบลงทุนก่อสร้าง ทั้งแท่นกระบวนการผลิต แท่นหลุมผลิต และอุปกรณ์การผลิตต่างๆ ส่วนนี้อาจใช้เงินลงทุนสูงถึงหลักหมื่นล้านบาท และใช้เวลาอีก 3-5 ปี

 

 

อ้างอิง: วพน.18 The National Energy Security and The Ways Forward (10 สิงหาคม 2566)

 

  1. การผลิต (Production) ปกติจะใช้เวลา 20-30 ปี ขึ้นอยู่กับสัญญา แต่ด้วยหลุมของไทยเป็นแบบกระเปาะเล็ก ทำให้ต้องมีการลงทุนเจาะหลุมผลิตในกระเปาะอื่นๆ อย่างต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก
  2. การรื้อถอน (Abandonment) หลังจากผลิตจนหมดอายุสัญญา หรือกำลังผลิตลดลงจนถึงจุดที่ไม่คุ้มทุน ก็ต้องรื้อถอนแท่นและอุปกรณ์ รวมทั้งปิดหลุมทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-5 ปี

 

จะเห็นว่าธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เป็นธุรกิจที่ใช้ ‘เงินลงทุนสูง (Capital Intensive)’ บริษัทผู้ลงทุนมีความเสี่ยงสูง ‘ที่อาจไม่พบปิโตรเลียม’ หรือ ‘การผลิตไม่เป็นไปตามแผนการลงทุน’ จนนำไปสู่การลงทุนที่ไม่คุ้มทุน ดังนั้น ถ้ารัฐจะลงทุนสำรวจเองก็จะเป็นการนำเงินภาษีของประชาชนไปพบกับความเสี่ยงมากเกินไป

 

หมายเหตุ: สัญญา หมายถึง สัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract: PSC) และสัญญาจ้างบริการ (Service Contract: SC)

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising