×

ทำไม Climate Change Strategy จึงเป็นกลยุทธ์ที่นักลงทุนให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

11.09.2021
  • LOADING...
Climate Change Strategy

ซีรีส์… แนวโน้มการลงทุน Responsible Investment (5)

 

บทความในตอนนี้จะยังคงอยู่ในเนื้อหากลยุทธ์การลงทุนแบบ Climate Change Strategy ซึ่งเป็นความลึกของการลงทุนแบบ Responsible Investment ที่จะเป็นที่นิยมในระยะต่อไป

 

1. Investment Approaches

Climate Change Strategy เริ่มมีแนวโน้มจะได้รับความสนใจมากขึ้นจากนักลงทุนจนทำให้สถาบันการเงินที่เป็น Investment Companies เริ่มพัฒนา Guidelines ที่เรียกว่า Climate Change Strategy Expectations to Companies เพื่อไว้เป็นแนวทางให้คำแนะนำวางแผนออกแบบ ESG Portfolio ให้กับลูกค้า เช่น หากจะมีการลงทุนในบริษัทพลังงานที่ยังต้องใช้ Fossil Fuels เป็นเรือธงหลักของธุรกิจก็จะต้องการข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับโครงการที่จะลดคาร์บอนจากการใช้พลังงานฟอสซิลเหล่านั้น เป็นต้น

 

หากความเข้มข้นหรือความลึกที่นักลงทุนสไตล์นี้มีมากขึ้น อาจนำมาซึ่งการปรับหุ้นของบริษัทพลังงาน Fossil เหล่านี้ที่ไม่ได้พัฒนาหรือหาวิธีลดคาร์บอนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกจาก Investment Portfolio ได้ในที่สุด ในอนาคตอันใกล้เราอาจพบว่าในกอง Private Equity หรือกองทุนรวมที่ Asset management Companies ออกมาขายให้นักลงทุน อาจมีการระบุ Investment Policy ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น

 

ตัวอย่างเช่นบางสถาบันการเงินกำหนดให้มี Carbon Footprint Portfolios โดยบริษัทที่ถูกคัดเข้า Portfolio จะเป็นบริษัทที่ดำเนินการลด Carbon Emission ได้ดีเท่ากับหรือดีกว่าเป้าหมาย ข้อมูลสำคัญพื่อประกอบการพิจารณาลงทุนจึงได้แก่ เป้าหมาย Areas ที่ต้องการลด แผนการดำเนินการและผลที่เกิดจริง ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปวิเคราะห์พื่อดูว่ากระทบต่อ Portfolio Risks อย่างไร เพราะต้นทางจะมาจาก Climate Change Risk ของหลักทรัพย์แต่ละตัวเป็นหลัก เป็นต้น

 

Fund Managers ของ Asset management Companies ควรติดตามข้อมูล Direct Investments ของบริษัทที่อยู่ใน Portfolio เช่น การลงทุนใน Green, Energy, Clean Technology, Sustainable Climate-related solutions ซึ่งสามารถแปลงผลสำเร็จออกมาเป็นคาร์บอนที่ลดลง ซึ่งหากมี Carbon Footprint Portfolios มากขึ้น ก็ถือว่า Fund Managers และนักลงทุนที่เป็น Asset Owners จะมีบทบาทสูงมากขึ้นในการช่วยควบคุมลดการปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศลงได้มาก

 

2. ขั้นตอนการพัฒนา Climate Change Strategy

ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้ การวัด (Measure) การปฏิบัติ (Act) และการทบทวน (Review)

 

2.1 การวัด (Measure)

หุ้นสามัญที่เลือกเข้ามาใน Portfolio จะถูกตรวจสอบและติดตามในประเด็นต่างๆ เช่น Energy Efficiency, Emission ว่าบริษัทเหล่านี้ยังทำได้ดีหรือไม่ เพื่อทบทวนความเสี่ยงด้าน Climate Change ว่าจะปรับหุ้นนั้นออกหรือคงไว้ หรือหาหุ้นตัวอื่นใส่เข้าไปเพิ่ม

 

ในการวิเคราะห์เพื่อหาหุ้นอาจพิจารณาความเสี่ยง 3 ตัว (Three Carbon Risk Factors) ได้แก่ Policy And Legal, Technology และ Market, Economic มาร่วมในการวิเคราะห์ เช่น กฎหมายและกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นหรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป อาจทำให้เป็นผลทางลบหรือบวกต่อหุ้นที่อยู่เดิมใน Climate Change, Portfolio รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางรสนิยมของผู้บริโภคหรือราคาพลังงานฟอสซิลที่เปลี่ยนแปลงก็อาจส่งผลเป็นโอกาสหรืออุปสรรคของหุ้นเดิมหรือหุ้นใหม่ก็ได้ เป็นต้น

 

กลยุทธ์การลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งคือ ลงในหุ้นกลุ่ม Low-Carbon Investments เพื่อใช้ถ่วง (Hedge) กับกลุ่มหุ้น High-Carbon Investments เพื่อกระจายทำให้ความเสี่ยงด้าน Climate Change ของ portfolio มีระดับลดลง โดยยังสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนได้ระดับหนึ่ง

 

2.2 การปฏิบัติ (Act)

การสร้าง Carbon Footprint Portfolio เดิมทีก็เป็นไปในลักษณะที่ต้องการจะช่วยโลกให้เข้าสู่ Low-Carbon

 

Economy อยู่แล้ว Fund Managers ที่บริหาร Portfolio ในลักษณะนี้อาจยึดหลักกลยุทธ์ 3 ประการ ได้แก่ Engage, Invest และ Avoid

 

กลยุทธ์ Engage คือการติดตามนโยบายของภาครัฐว่าจะส่งเสริมหรือบังคับใช้เรื่องอะไร เช่น ด้าน Energy Efficiency, Renewable Energy, Low-carbon Technologies and Innovations, Plans to Phase out Subsidies for Fossil Fuels เป็นต้น แล้วดูว่านโยบายดังกล่าวกระทบทางบวกและทางลบต่อบริษัทใดบ้าง นอกจากนี้ Fund Managers และนักลงทุนอาจต้อง Engage with Companies คือติดตามการพัฒนาการดำเนินการให้เกิด Low-Carbon ของบริษัทว่ามีความก้าวหน้าเพียงใด

 

กลยุทธ์ Invest ในลักษณะ Carbon Footprint Portfolio จะมีความเหมาะสมที่จะใช้กลยุทธ์แบบ Active Manage Equities มากกว่าแบบ Passive เนื่องจากต้องคอยปรับการคัดเลือกหุ้นเข้าหรือออกจาก Portfolio ตลอดเวลาตามการเปลี่ยนแปลง Climate Change Risk Factors อย่างไรก็ดี กรณีที่ต้องการใช้กลยุทธ์แบบ Passion จริงๆ ก็อาจลงในดัชนีประเภท Low-Carbon Indices หรือผลิตภัณฑ์ประเภท Thematic Funds ที่เน้นในการลดปัญหา Climate Change เช่น Renewable Energy, Clean Energy, Water และ Waste Management เป็นต้น ซึ่งกองทุนเหล่านี้จะคอยคัดเลือกหุ้นที่ทำได้ดีในเรื่องดังกล่าวโดยที่นักลงทุนต้องไปค้นหาด้วยตนเอง

 

กลยุทธ์สุดท้ายคือ Avoid โดยระบุอย่างชัดเจนในนโยบายที่จะหลีกเลี่ยงหุ้นของบริษัท High-Carbon Companies เช่น ธุรกิจพลังงานฟอสซิล การลงทุนจะพยายามลด Exposure ออกจากหุ้นกลุ่ม High-Carbon เหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยงลง

 

2.3 การทบทวน (Review)

Fund Managers หรือ Asset Owners ควรทบทวน Carbon Footprint Portfolio อย่างสม่ำเสมอ และจัดทำรายงานที่มาตราฐานเกี่ยวกับข้อมูล Climate Change ซึ่งเนื้อหาในรายงานอาจประกอบไปด้วย ความโปร่งใส การบริหารความเสี่ยง Low-Carbon Investment เป็นต้น

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X