‘ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร’ คืออะไร ทำไมต้องมี
THE STANDARD รวบรวมข้อมูล ที่มา ส่วนประกอบ และการเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ผังเมืองที่จะกำหนดวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และความเจริญของแต่ละพื้นที่ในเมืองหลวงของประเทศไทย
ทำไมต้องจัดทำ?
- เป็นแนวทางพัฒนากรุงเทพฯ ให้เป็น ‘เมืองน่าอยู่’
- บริหารให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ
- บริหารให้เป็นศูนย์กลางการปกครอง
- บริหารให้เป็นต้นแบบในการรักษาสิ่งแวดล้อม
ทำไมต้องปรับปรุงผังเมืองรวมฯ?
- สภาพการณ์-สิ่งแวดล้อมของเมืองเปลี่ยน
- การเปลี่ยนแปลงการลงทุนภาครัฐ-เอกชน
- การเพิ่มเส้นทางคมนาคม
- บรรเทาปัญหาภัยพิบัติ
- เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดปัญหาโลกร้อน
- แก้ปัญหาสุขลักษณะ-ความปลอดภัยประชาชน
กฎกระทรวงให้บังคับใช้ ‘ผังเมืองรวมฯ’ เป็นกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผู้ที่ประสงค์จะใช้ที่ดินก่อสร้าง หรือเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย หรือกิจการใดๆ ต้องตรวจสอบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าที่ดินของตนเองอยู่ในพื้นที่ประเภทใด มีข้อจำกัดใดบ้าง
ที่ดินโซนไหนสำคัญอย่างไร? (ประเภทที่ดินแบ่งตามการใช้ประโยชน์)
สีเหลือง: มีสภาพแวดล้อมของการอยู่อาศัยที่ดี
สีส้ม: พื้นที่ต่อเนื่องกับเขตเมืองชั้นใน สร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกรูปแบบ
สีน้ำตาล: เมืองชั้นใน สร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกรูปแบบ เนื่องจากเป็นที่ดินซึ่งมีมูลค่าสูง
สีแดง: ศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ นันทนาการ
สีม่วง: สร้างที่อยู่อาศัยได้ แต่ไม่สามารถสร้างอาคารสูง อาคารชุดขนาดใหญ่ได้
กรอบขาวและเส้นทแยงสีเขียว: ส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร มีหน้าที่รองรับน้ำให้เมือง
สีน้ำตาลอ่อน: อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน ส่วนมากอยู่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์
สีน้ำเงิน: กระจายอยู่ทั่วทุกเขต
ประชาชนสามารถตรวจสอบว่าพื้นที่ของตัวเองจัดอยู่ในที่ดินประเภทไหนได้ด้วยตัวเองที่แอปพลิเคชัน ‘Check ผังเมือง กทม.’, ‘SmartLands’ และกองควบคุมผังเมือง
สำหรับผังเมืองรวมฯ ฉบับล่าสุดจะมี 6 ผัง ประกอบด้วย
- แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน
- แผนผังแสดงที่โล่ง
- แผนผังแสดงโครงการคมนาคมและการขนส่ง
- แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ
- แผนผังแสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เพิ่มใหม่)
- แผนผังแสดงผังน้ำ (เพิ่มใหม่)
ภาพประกอบ: พิชามญชุ์ วรรณสาร
อ้างอิง: THE STANDARD รวบรวม ณ วันที่ 9 มกราคม 2567