วันนี้ (20 กันยายน) ไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยง ประกอบกับกรมอุตุนิยมวิทยามีประกาศฉบับที่ 12 (204/2567) ลงวันที่ 17 กันยายน เวลา 04.00 น. แจ้งว่า พายุโซนร้อน ‘ซูลิก’ บริเวณ สปป.ลาว ได้อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันแล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดนครพนมประมาณ 100 กิโลเมตร ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย
ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ประกอบกับสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติมีประกาศฉบับที่ 16/2567 ลงวันที่ 17 กันยายน 2567 แจ้งว่า ได้วิเคราะห์สถานการณ์และคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและดินโคลนถล่มบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ โดยมีพื้นที่แจ้งเตือนสถานการณ์ระหว่างวันที่ 19-25 กันยายน ดังนี้
พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม
ภาคเหนือ 17 จังหวัด
จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ทุกอำเภอ), เชียงใหม่ (อำเภอแม่อาย, ฝาง, เชียงดาว, จอมทอง และฮอด), เชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย, แม่สาย, เชียงของ, เชียงแสน, แม่จัน, แม่ฟ้าหลวง, เทิง, พญาเม็งราย, เวียงแก่น, ขุนตาล, เวียงชัย และแม่ลาว), ลำพูน (อำเภอเมืองลำพูนและลี้), ลำปาง (อำเภอวังเหนือและงาว), พะเยา (อำเภอเมืองพะเยา, แม่ใจ, ภูซาง, ปง, เชียงคำ, จุน, ภูกามยาว และเชียงม่วน), แพร่ (อำเภอเมืองแพร่, วังชิ้น, สูงเม่น, เด่นชัย, สอง และลอง), น่าน (อำเภอเมืองน่าน, ทุ่งช้าง, เฉลิมพระเกียรติ, ปัว, บ่อเกลือ, ท่าวังผา, เชียงกลาง, สองแคว, แม่จริม, ภูเพียง และเวียงสา), อุตรดิตถ์ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์, ลับแล, พิชัย, ทองแสนขัน, ท่าปลา และน้ำปาด)
จังหวัดตาก (อำเภอเมืองตาก, ท่าสองยาง, แม่ระมาด, แม่สอด, พบพระ และอุ้มผาง), สุโขทัย (อำเภอเมืองสุโขทัย, ศรีสัชนาลัย, ศรีสำโรง และกงไกรลาศ), กำแพงเพชร (อำเภอปางศิลาทอง, คลองลาน, โกสัมพีนคร และพรานกระต่าย), พิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ, นครไทย, วัดโบสถ์, วังทอง และเนินมะปราง), พิจิตร (อำเภอโพธิ์ประทับช้าง), เพชรบูรณ์ (อำเภอเมืองเพชรบูรณ์, หนองไผ่, หล่มเก่า และหล่มสัก), นครสวรรค์ (อำเภอแม่วงก์และแม่เปิน) และอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด
จังหวัดเลย (อำเภอนาแห้ว, เชียงคาน, ด่านซ้าย และปากชม), หนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย, สังคม, ศรีเชียงใหม่, ท่าบ่อ, โพนพิสัย และโพธิ์ตาก), บึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ, ปากคาด, บุ่งคล้า, โซ่พิสัย, เซกา และบึงโขงหลง), หนองบัวลำภู (อำเภอสุวรรณคูหา), อุดรธานี (อำเภอเพ็ญ, บ้านดุง, หนองหาน, นายูง และน้ำโสม), สกลนคร (อำเภอเมืองสกลนคร, อากาศอำนวย, คำตากล้า, พรรณานิคม, ภูพาน และสว่างแดนดิน), นครพนม (อำเภอเมืองนครพนม, บ้านแพง, ท่าอุเทน, นาหว้า, โพนสวรรค์, ปลาปาก, ธาตุพนม และศรีสงคราม)
จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอเมืองชัยภูมิ, บ้านเขว้า, จัตุรัส, คอนสวรรค์, คอนสาร และหนองบัวแดง), ขอนแก่น (อำเภอเมืองขอนแก่น, ภูผาม่าน, ชุมแพ และบ้านไผ่), มหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคามและโกสุมพิสัย), กาฬสินธุ์ (อำเภอเมืองกาฬสินธุ์, กมลาไสย, ยางตลาด และร่องคำ), มุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร, นิคมคำสร้อย, หว้านใหญ่ และดอนตาล), ร้อยเอ็ด (อำเภอเมืองร้อยเอ็ด, เสลภูมิ, ทุ่งเขาหลวง และเกษตรวิสัย), ยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร, ป่าติ้ว และคำเขื่อนแก้ว), อำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญ, หัวตะพาน และชานุมาน)
จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอเมืองนครราชสีมา, เมืองยาง, ลำทะเมนชัย, พิมาย, ปากช่อง และวังน้ำเขียว), บุรีรัมย์ (อำเภอเมืองบุรีรัมย์), สุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์, ชุมพลบุรี, ท่าตูม, รัตนบุรี, จอมพระ, สนม, โนนนารายณ์, ศีขรภูมิ และปราสาท), ศรีสะเกษ (อำเภอเมืองศรีสะเกษ, ราษีไศล และยางชุมน้อย) และอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี, ตาลสุม, วารินชำราบ, น้ำยืน, พิบูลมังสาหาร และน้ำขุ่น)
ภาคกลาง 22 จังหวัด
จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอสังขละบุรีและทองผาภูมิ), ราชบุรี (อำเภอปากท่อและสวนผึ้ง), สุพรรณบุรี (อำเภอเมืองสุพรรณบุรีและด่านช้าง), ชัยนาท (อำเภอหันคา), สิงห์บุรี (อำเภออินทร์บุรีและพรหมบุรี), อ่างทอง (อำเภอป่าโมกและวิเศษชัยชาญ), พระนครศรีอยุธยา (อำเภอบางบาล, บางปะหัน, เสนา, ผักไห่, พระนครศรีอยุธยา, บางปะอิน และบางไทร), ลพบุรี (อำเภอชัยบาดาล, สระโบสถ์ และลำสนธิ), สระบุรี (อำเภอแก่งคอย), นครนายก (อำเภอเมืองนครนายก, ปากพลี และบ้านนา), ปราจีนบุรี (อำเภอเมืองปราจีนบุรี, ประจันตคาม, กบินทร์บุรี และนาดี), สระแก้ว (อำเภอเมืองสระแก้วและอรัญประเทศ)
จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอสนามชัยเขตและท่าตะเกียบ), ชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี, ศรีราชา และบางละมุง), ระยอง (อำเภอเมืองระยอง, ปลวกแดง, นิคมพัฒนา, แกลง และบ้านค่าย), จันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี, ท่าใหม่, เขาคิชฌกูฏ, สอยดาว, โป่งน้ำร้อน, มะขาม และขลุง), ตราด (ทุกอำเภอ), ประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอบางสะพาน, บางสะพานน้อย และปราณบุรี), ปทุมธานี (อำเภอธัญบุรีและคลองหลวง), นนทบุรี (อำเภอเมืองนนทบุรีและปากเกร็ด), นครปฐม (อำเภอเมืองนครปฐมและบางเลน) และจังหวัดสมุทรปราการ (อำเภอเมืองสมุทรปราการ, บางพลี และบางเสาธง) รวมถึงกรุงเทพมหานคร
ภาคใต้ 11 จังหวัด
จังหวัดชุมพร (อำเภอท่าแซะ, พะโต๊ะ และสวี), สุราษฎร์ธานี (อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี, คีรีรัฐนิคม, พุนพิน, พระแสง, เวียงสระ, พนม และบ้านตาขุน), นครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช, เชียรใหญ่, ถ้ำพรรณรา, ทุ่งใหญ่, พิปูน, ช้างกลาง และลานสกา), พัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง, ปากพะยูน, กงหรา, ศรีนครินทร์ และควนขนุน), สงขลา (อำเภอรัตภูมิ, หาดใหญ่, สะบ้าย้อย และนาหม่อม), ระนอง (ทุกอำเภอ), พังงา (อำเภอเมืองพังงา, คุระบุรี, ตะกั่วป่า, กะปง และท้ายเหมือง)
จังหวัดภูเก็ต (ทุกอำเภอ), กระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่, เขาพนม, เหนือคลอง, อ่าวลึก, คลองท่อม, ปลายพระยา และเกาะลันตา), ตรัง (อำเภอเมืองตรัง, ปะเหลียน, นาโยง, กันตัง, สิเกา, ย่านตาขาว, ห้วยยอด, รัษฎา และวังวิเศษ) และสตูล (อำเภอเมืองสตูล, ควนโดน, ควนกาหลง, ทุ่งหว้า และมะนัง)
พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณจังหวัดเชียงใหม่, ลำปาง, พะเยา, แพร่, น่าน, สุโขทัย, ตาก, อุทัยธานี, เพชรบูรณ์, เลย, หนองคาย, บึงกาฬ, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, สกลนคร, นครพนม, ชัยภูมิ, ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, มุกดาหาร, ร้อยเอ็ด
จังหวัดยโสธร, สุรินทร์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, นครนายก, ปราจีนบุรี, จันทบุรี, ตราด, สุราษฎร์ธานี, ระนอง, ภูเก็ต และตรัง รวมทั้งอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกักที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ
พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ระดับน้ำล้นตลิ่ง และท่วมขัง ในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำสาย (อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย), แม่น้ำกก (อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่, อำเภอเมืองเชียงรายและเชียงแสน จังหวัดเชียงราย), แม่น้ำอิง (อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา), แม่น้ำยม (อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก), แม่น้ำป่าสัก (อำเภอหล่มสักและหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์), แม่น้ำเลย (อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย), ห้วยหลวง (จังหวัดอุดรธานี), แม่น้ำสงคราม (จังหวัดอุดรธานี, สกลนคร, บึงกาฬ และนครพนม), แม่น้ำจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรีและมะขาม จังหวัดจันทบุรี) และแม่น้ำตราด (อำเภอเมืองตราด, เขาสมิง และบ่อไร่ จังหวัดตราด)
พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง
ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี, ศรีราชา, เกาะสีชัง, บางละมุง และสัตหีบ), ระยอง (อำเภอเมืองระยอง, บ้านฉาง และแกลง), จันทบุรี (อำเภอนายายอาม, ท่าใหม่, แหลมสิงห์ และขลุง) และจังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด, แหลมงอบ, คลองใหญ่, เกาะช้าง และเกาะกูด)
ภาคใต้ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง, สุขสำราญ และกะเปอร์), พังงา (อำเภอเกาะยาว, ตะกั่วทุ่ง, ท้ายเหมือง, ตะกั่วป่า และคุระบุรี), ภูเก็ต (ทุกอำเภอ), กระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่, คลองท่อม, เกาะลันตา, เหนือคลอง และอ่าวลึก), ตรัง (อำเภอกันตัง, สิเกา, ปะเหลียน และหาดสำราญ) และจังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล, ละงู, ท่าแพ และทุ่งหว้า)
กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้ประสานแจ้ง 70 จังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดอุทกภัยได้
ทั้งนี้ ได้กำชับให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน และสถานการณ์น้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักและพื้นที่ที่มีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานาน พื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ โดยเฉพาะถ้ำน้ำตกและถ้ำลอด
หากมีความเสี่ยงเกิดสถานการณ์ภัย ให้ประกาศแจ้งเตือนและปิดกั้นพื้นที่ไม่ให้บุคคลใดเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีที่มีคลื่นลมแรงให้แจ้งเตือนประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเลและนักท่องเที่ยวห้ามลงเล่นน้ำโดยเด็ดขาด รวมถึงให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมเจ้าท่า กองทัพเรือ และตำรวจน้ำ แจ้งเตือนการเดินเรือ โดยให้ชาวเรือ ผู้บังคับเรือ และผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร เดินเรือด้วยความระมัดระวัง หากสถานการณ์มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ให้พิจารณาห้ามเดินเรือออกจากฝั่งโดยเด็ดขาด
นอกจากนี้ขอให้เตรียมความพร้อมของเครื่องจักรกลสาธารณภัย รถปฏิบัติการ และเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) ให้พร้อมเข้าเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดสถานการณ์ขึ้น และขอให้จังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งแจ้งเตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทราบล่วงหน้า เพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำจากทางราชการอย่างเคร่งครัด