×

เมื่อสงครามยังส่อแวววุ่น เราควรลงทุนอย่างไร?

16.11.2023
  • LOADING...
สงคราม การลงทุน

สถานการณ์การสู้รบระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาส ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ที่กำลังดำเนินอยู่ ถือเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก หากความขัดแย้งดังกล่าวลุกลามขยายกว้างขึ้นเป็นสงครามในระดับภูมิภาค

 

แม้ว่าท่าทีล่าสุดของกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ และเป็นสมาชิกหลักของกลุ่ม OPEC จะยังไม่มีแนวโน้มจำกัดการส่งออกน้ำมันที่อาจนำไปสู่วิกฤตราคาพลังงานโลก แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายต่างยังไม่วางใจและจับตาดูพัฒนาการของสงครามอย่างใกล้ชิด

 

องค์การการค้าโลก (WTO) ได้ออกมาเตือนว่า ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับฮามาสที่กำลังดำเนินอยู่จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลก หากความขัดแย้งดังกล่าวลุกลามกว้างขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลาง

 

ด้านผลกระทบต่อไทย เบื้องต้นสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า ผลกระทบทางตรงต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยจากกรณีการสู้รบดังกล่าวยังไม่ได้กระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังประเทศคู่ขัดแย้ง หรือหากกรณีที่ไม่สามารถส่งออกไปได้ก็จะไม่ได้ส่งผลต่อการส่งออกรวมของไทยมากนัก เนื่องจากทั้งอิสราเอลและปาเลสไตน์ไม่ใช่คู่ค้าสำคัญอันดับต้นๆ ของไทย

 

โดยข้อมูลในปี 2022 อิสราเอลเป็นคู่ค้าลำดับที่ 42 ของไทย การค้าระหว่างไทย-อิสราเอลมีมูลค่า 49,182 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.2% ของการค้ารวมของไทยเท่านั้น

 

สำหรับการค้าระหว่างไทยกับปาเลสไตน์ ในปี 2022 ปาเลสไตน์เป็นคู่ค้าลำดับที่ 186 ของไทย การค้าระหว่างไทย-ปาเลสไตน์มีมูลค่า 134 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 0.001% ของการค้ารวมของไทย

 

อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่ากังวลและต้องจับตาอย่างใกล้ชิดคือผลกระทบทางอ้อมจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มผันผวนไปในทิศทางสูงขึ้น ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งในประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง และนำไปสู่การขาดแคลนอุปทานน้ำมันจากกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นได้ จากข้อมูลในอดีตพบว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ราคาน้ำมันมักปรับตัวสูงขึ้นในระยะสั้น และในครั้งนี้หลังเกิดเหตุการณ์สู้รบ ช่วงแรกราคาน้ำมัน WTI ปรับตัวขึ้น 3.38% ด้านน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้นกว่า 3.14%

 

 

หนึ่งในความเสี่ยงที่ต้องจับตาในไตรมาสสุดท้ายของปีคือราคาน้ำมันที่อาจปรับตัวสูงขึ้น โดย UOB มองว่ามีโอกาสที่ราคาน้ำมันจะปรับตัวขึ้นเหนือ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในไตรมาส 1 ปี 2024 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการเกษตรและการขนส่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาอาหารแพงขึ้น ซึ่งทำให้เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นทั่วโลกและอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาด และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจโลกในปี 2024

 

โดยมี 2 สถานการณ์ที่อาจส่งผลให้อุปทานน้ำมันในตะวันออกกลางหยุดชะงัก และส่งผลต่อราคาน้ำมัน คือ

 

  1. การคว่ำบาตรน้ำมันดิบจากอิหร่าน
  2. การหยุดชะงักในการขนส่งน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ

 

ทำให้ต้องจับตาดูท่าทีของความขัดแย้งว่าจะขยายวงกว้างหรือไม่ แต่ปัจจุบันสถานการณ์ทั้ง 2 ยังมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ แต่หากความขัดแย้งดำเนินไปนานกว่าที่คาดไว้ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอาจกดดันให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคชะลอตัวลง รวมถึงส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรของอุตสาหกรรมที่ยังต้องพึ่งพาน้ำมันอย่างมาก

 

สำหรับมุมมองการลงทุน UOB Privilege Banking มองว่าประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์นั้นโดยปกติมักส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินในระยะสั้น และในท้ายที่สุดตลาดจะกลับมาให้ความสนใจกับประเด็นหลัก เช่น ทิศทางของนโยบายการเงิน การเติบโตทางเศรษฐกิจ ปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนตลาด แต่ภายใต้สถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอน และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้ออาจสร้างความผันผวนได้ทุกเมื่อ นักลงทุนควรสร้างพอร์ตที่ทนทาน (Defensive) และกระจายการลงทุน โดยสินทรัพย์ที่แนะนำในสภาวะเช่นนี้ ได้แก่ ตราสารหนี้คุณภาพดีกลุ่ม Investment Grade และหุ้นคุณภาพสูง

 

ทั้งนี้ นักลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อที่ปรึกษาทางการเงิน (Client Advisor) ของ UOB Privilege Banking ได้ที่ โทร. 0 2081 0999 หรือคลิก www.uob.co.th/privilegebanking

 

สงคราม

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X