×

ผู้อพยพตามแนวชายแดนสหรัฐฯ และเม็กซิโกล้นทะลัก หลังมาตรา 42 หมดอายุเมื่อคืนนี้

12.05.2023
  • LOADING...
มาตรา 42

กฎหมายมาตรา 42 ซึ่งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถขับไล่ผู้อพยพ ณ บริเวณพรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกกลับประเทศได้ หมดอายุลงแล้วในวันนี้ (12 พฤษภาคม) ทำให้อนาคตของผู้ลี้ภัยตกอยู่ในความไม่แน่นอนอีกครั้ง อีกทั้งยังทำให้สังคมอเมริกันกลับมาถกเถียงกันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอย่างเผ็ดร้อน

 

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สหรัฐฯ เผชิญกับปัญหาผู้อพยพที่หลั่งไหลกันเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อหลีกหนีจากปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความยากจน หรือแก๊งอาชญากรที่มีอำนาจในประเทศของตนเอง แต่ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา จำนวนผู้อพยพที่เข้ามาตามแนวพรมแดนเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากพวกเขากังวลว่า หากเข้าสู่วันที่ 12 พฤษภาคม ซึ่งมีการใช้กฎหมายใหม่ไปแล้ว การขอสิทธิ์เข้าสหรัฐฯ จะยากขึ้นกว่าเดิมอีก 

 

ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาซึ่งเกิดโควิดระบาดทั่วโลก สหรัฐฯ ประกาศใช้กฎหมายมาตรา 42 ซึ่งอนุญาตให้ทางการสามารถปฏิเสธผู้อพยพที่มาขอลี้ภัยตามแนวพรมแดนระหว่างสหรัฐฯ และเม็กซิโกซึ่งทอดตัวยาวกว่า 3,200 กิโลเมตรได้ เพื่อเป็นมาตรการสกัดไม่ให้โควิดแพร่ระบาดรุนแรงขึ้นกว่าเดิมในประเทศ แต่เมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลายลง กฎดังกล่าวก็สิ้นสุดลงตามไปด้วยเมื่อช่วงเที่ยงคืนวันนี้ตามเวลาท้องถิ่น และมีการออกข้อบังคับใหม่ขึ้นมาใช้แทน โดยข้อบังคับใหม่ที่ว่านี้ได้กำหนดให้ผู้ขอลี้ภัยและผู้ที่ต้องการย้ายถิ่นฐานต้องทำเรื่องขอลี้ภัยตั้งแต่อยู่นอกสหรัฐฯ เท่านั้น

 

แต่นั่นเป็นในแง่ของทฤษฎี ส่วนในทางปฏิบัตินั้นสิ่งต่างๆ ยังคงคลุมเครือ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นก็ทำให้สังคมอเมริกาถกเถียงกันอย่างมาก

 

ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังพยายามหาจุดสมดุลระหว่างการใช้แนวทางช่วยเหลือผู้ลี้ภัยตามที่สมาชิกพรรคเดโมแครตเสนอมา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้การออกนโยบายใดๆ กระตุ้นให้ผู้ลี้ภัยจำนวนมากไหลทะลักเข้ามามากกว่าเดิม

 

“ตั้งแต่คืนนี้เป็นต้นไป ผู้ที่มาถึงชายแดนโดยไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง จะถูกตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีสิทธิ์ขอลี้ภัย” อเล็กซานเดอร์ มายอร์คัส (Alejandro Mayorkas) รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ กล่าวหลังมาตรา 42 หมดอายุลง “เรามีเจ้าหน้าที่ 24,000 คนประจำอยู่ในชายแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ ขณะเดียวกัน เราได้เพิ่มกำลังทหารและเจ้าหน้าที่หลายพันคน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ลี้ภัยกว่าพันคนเพื่อช่วยบังคับใช้กฎหมายของเรา”

 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้สร้างความสับสนให้กับผู้ลี้ภัยเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังส่งผลให้สมาชิกพรรครีพับลิกันโจมตีไบเดนอย่างหนัก เนื่องจากบรรดาผู้อพยพหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก โดยวุฒิสมาชิก เท็ด ครูซ (Ted Cruz) แห่งรัฐเท็กซัส เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า เฉพาะในเมืองบราวน์สวิลล์ของเท็กซัส มีผู้อพยพมากถึง 22,000 คนตั้งแคมป์อยู่ที่อีกฟากหนึ่งของชายแดน

 

“และผมต้องบอกว่าผมโกรธมาก เพราะนี่เป็นการตัดสินใจที่คิดใคร่ครวญมาแล้วของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส รวมถึงสมาชิกสภาคองเกรสจากพรรคเดโมแครต เพื่อเปิดพรมแดนให้กับสิ่งที่สมควรเรียกว่าเป็นผู้บุกรุก” ครูซกล่าว

 

วุฒิสมาชิกโรเจอร์ มาร์แชล เปิดเผยกับ Fox News ว่า สถานการณ์ชายแดนคือหายนะ “ภัยคุกคามอันดับหนึ่งต่อความมั่นคงของชาติอยู่ที่นี่ ที่ทางตอนใต้ของเท็กซัสไปจนถึงแอริโซนา นี่ไม่ใช่อเมริกาที่ผมเติบโตมา”

 

ภาพ: Alfredo Estrella / AFP

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising