×

จับตาสหรัฐฯ เพิ่มงบกองทัพ 5% มุ่งนโยบายรับมือความท้าทายจากจีน หลังจบสงครามในอัฟกานิสถาน

17.12.2021
  • LOADING...
บตาสหรัฐฯ เพิ่มงบกองทัพ 5%

สำนักข่าว Al Jazeera เผยแพร่รายงาน ชี้ให้เห็นนโยบายทางการทหารของสหรัฐฯ ที่เปลี่ยนทิศทางไปหลังการยุติสงครามในอัฟกานิสถาน โดยพุ่งเป้าไปที่การแข่งขันและรับมือความท้าทายจากจีนมากขึ้น ซึ่งแม้ว่าสหรัฐฯ จะถอนทหารทั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานตั้งแต่เดือนสิงหาคม แต่งบประมาณกองทัพนอกจากจะไม่ลดลงแล้ว ยังเพิ่มขึ้นอีกถึง 5%

 

รายงานดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันพุธ (15 ธันวาคม) ที่ผ่านมา วุฒิสภาสหรัฐฯ มีมติด้วยคะแนน 89 ต่อ 10 เสียง อนุมัติกฎหมายงบประมาณสำหรับกองทัพ วงเงินกว่า 777,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณเกือบ 26 ล้านล้านบาท

 

ซึ่งแม้ผู้นำทางการเมืองจากฝั่งเดโมแครตและรีพับลิกัน จะเห็นชอบกับการเพิ่มงบประมาณกองทัพดังกล่าว แต่ก็เกิดคำถามจากกลุ่ม ส.ส. และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองหัวก้าวหน้าบางส่วน ที่สงสัยถึงความจำเป็นของงบประมาณมหาศาลก้อนนี้ โดยวิจารณ์ผู้นำรัฐบาล ที่ชี้เหตุผลไปที่การแข่งขันกับจีน

 

“ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เราได้ยินมาว่าภัยคุกคามของก่อการร้ายเป็นเหตุผลที่ทำให้งบประมาณของเพนตากอนเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลังจากสงครามในอัฟกานิสถานยุติลงและความสนใจได้เปลี่ยนไปที่จีน ตอนนี้เราได้ยินว่าภัยคุกคามจากจีนนั้นกลายเป็นเหตุผล” สตีเฟน ไมล์ส กรรมการบริหารของ Win Without War องค์กรสนับสนุนนโยบายต่างประเทศก้าวหน้าของสหรัฐฯ กล่าว

 

ทั้งนี้ ส.ส.สหรัฐฯ หลายคนชี้ว่า การต่อต้านจีนนั้นเป็นภารกิจสูงสุดในงบประมาณป้องกันประเทศที่เรียกว่า พระราชบัญญัติการอนุญาตป้องกันประเทศ (National Defense Authorization Act: NDAA) 

 

โดย อีเลน ลูเรีย ส.ส. หญิงฝ่ายอนุรักษ์นิยมของเดโมแครต โพสต์ในทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ว่ากฎหมายงบประมาณกองทัพนั้น “ก่อให้เกิดการลงทุนที่สำคัญในการป้องกันประเทศ และเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนสำคัญเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากจีนที่เพิ่มมากขึ้น”

 

ขณะที่ จิม อินโฮฟ วุฒิสมาชิกหัวแถวของรีพับลิกัน แสดงความเห็นสอดคล้องกันว่า “ภัยคุกคามที่กองทัพจีนก่อขึ้นนั้น ไม่ใช่ภัยคุกคามที่อยู่ห่างไกล ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งที่อาจเกิดขึ้นในปี 2030, 2035 หรือบางช่วงเวลาในอนาคต แต่มันเป็นปัญหาที่เผชิญอยู่ในวันนี้ ตอนนี้ และจะยิ่งแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป” 

 

ทั้งนี้ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลปักกิ่งกับวอชิงตันนั้นย่ำแย่ลง โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดสงครามการค้าในยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของไบเดนยังพยายามต่อต้านการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ด้วยการตั้งกลุ่มพันธมิตรอย่าง AUKUS และ Quad รวมถึงมีท่าทีสนับสนุนไต้หวันที่จีนมองว่าเป็นมณฑลหนึ่งของตน

 

ภาพ: Photo by Lt. Steve Smith / U.S. Navy via Getty Images

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X