อุตสาหกรรมแรงงานในสหรัฐฯ นั้นขาดแคลนที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากโรคโควิดทำให้นายจ้างหลายคนล้วนแสวงหาวิธีที่จะอุดช่องว่างแรงงานของตน ในขณะที่บางคนเริ่มหันไปพึ่งพาเทคโนโลยีอัตโนมัติและหุ่นยนต์มากขึ้น
The Wall Street Journal รายงานว่า แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบอัตโนมัติจะไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่แปลกใหม่ แต่มันก็เป็นหนึ่งในวิธีบรรเทาทุกข์ของหลายบริษัทที่ต้องดิ้นรนเพื่อตอบสนองความต้องการภายในตลาดแรงงานที่อึดอัดนี้
คำสั่งซื้อหุ่นยนต์เพิ่มขึ้น 40% ในไตรมาสแรกของปี 2022 และเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 21% เมื่อเทียบกับปี 2021 ตามรายงานของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในอเมริกา ซึ่งผลักให้อุตสาหกรรมมีมูลค่าประมาณ 1.6 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 5.5 หมื่นล้านบาท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ทั่วโลกเดินขบวนวันแรงงาน ประท้วงค่าครองชีพพุ่ง-เรียกร้องสันติภาพในยูเครน
- UN คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2022 โตลดลงเหลือ 4% พิษโอมิครอน-เงินเฟ้อพุ่ง-แรงงานขาดแคลน
“ผู้คนไม่ต้องการแรงงาน” เดวิด เอ. ซาปิโค ซีอีโอของ AMETEK, Inc. กล่าวกับ Bloomberg เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยตั้งข้อสังเกตว่าบริษัทอุปกรณ์อัตโนมัติของตนได้ ‘ยิงกระบอกสูบทั้งหมดอย่างไม่หยุดยั้ง’ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
อย่างน้อย หุ่นยนต์ก็ช่วยแก้ปัญหาชั่วคราวให้กับธุรกิจที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการจ้างงานในตลาดงานที่ท้าทายที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งยังมีอัตราการเลิกจ้างที่สูงเป็นประวัติการณ์ และความโกลาหลของพายุเศรษฐกิจครั้งใหญ่
ในเดือนมีนาคม ตำแหน่งงานว่างในสหรัฐอเมริกาทำสถิติสูงสุด 11.5 ล้านคน และผู้เชี่ยวชาญบางคนยังคาดการณ์อีกว่าวิกฤตแรงงานนี้อาจคงอยู่นานหลายปี
การขาดแคลนแรงงานส่งผลกระทบอย่างมากต่อทุกอย่าง ตั้งแต่การเดินทางทางอากาศจนถึงร้านค้าปลีก เนื่องจากบริษัทต่างๆ ถูกบังคับให้ลดการผลิตโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีขั้นสูงช่วยให้เครื่องจักรสามารถช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมที่มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งการเข้าถึงที่ง่ายขึ้น
“พวกหุ่นยนต์ใช้งานง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ” ไมเคิล คิกโค ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ FANUC America บริษัทผู้ให้บริการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมกล่าวกับ The Wall Street Journal “บริษัทต่างๆ เคยคิดว่าระบบอัตโนมัตินั้นยากเกินไปหรือแพงเกินไปที่จะนำไปใช้”
แต่เมื่อการใช้หุ่นยนต์เพิ่มขึ้น บางคนแสดงความกังวลเกี่ยวกับการใช้เครื่องจักรมาแทนที่แรงงานมนุษย์ ในขณะที่วิกฤตด้านแรงงานอาจคลี่คลายลงในที่สุด
“หากระบบอัตโนมัติพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มันสามารถทำลายสายงานจำนวนมากได้เลย” ดารอน อาเซโมกลู ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ กล่าว “การขาดแคลนแรงงานจะอยู่อีกไม่นานนัก มันเป็นเพียงวิกฤตชั่วคราวเท่านั้น”
อ้างอิง:
ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH
Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP