นโยบายการเก็บภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐฯ ภายใต้การนำของโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังเป็นประเด็นที่สร้างความกังวลให้กับเศรษฐกิจไทยอย่างยิ่ง แม้ตัวเลขภาษีที่ชัดเจนจะยังไม่ถูกเปิดเผย แต่คาดการณ์ว่าผลกระทบจะเกิดขึ้นในหลายด้าน
นิสารัตน์ ชมภูพงษ์ ผู้อำนวยการ Wealth and Investment Advisory, SCB CIO ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ Morning Wealth ระบุว่าประเด็นภาษีการค้าของไทยกับสหรัฐฯ ยังมีความไม่แน่นอนใน 3 ประเด็นหลักที่ยังไม่มีข้อสรุปและสร้างความไม่แน่นอน
โดยอัปเดตล่าสุดจากการให้สัมภาษณ์ของ พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะหัวหน้าทีมไทยแลนด์ ที่ได้ยื่นข้อเสนอสุดท้ายต่อสหรัฐฯ ไปแล้วเมื่อวานนี้ แม้จะยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียด แต่ประเด็นที่ยังต้องจับตาคือ
- หากการเจรจาไม่เป็นผล ไทยอาจต้องเผชิญกับอัตราภาษีสูงถึง 36% ซึ่งสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมีนัยสำคัญ อย่างเวียดนามที่ได้อัตราภาษี 20%, อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่อัตราภาษี 19%
- ขณะที่บางประเทศเพื่อนบ้านตกลงที่จะลดภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ เหลือ 0% ในสินค้าบางประเภท แต่ไทยยังไม่มีการยอมรับในส่วนนี้ และส่วนที่เหลืออีก 10% ที่ยังไม่ได้รับการยกเว้นภาษีก็ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียด
- ปัญหา Transshipment สหรัฐฯ กังวลว่าไทยอาจเป็นช่องทางผ่านของสินค้าจีนเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งไทยจะต้องมีมาตรการควบคุมแหล่งที่มาของสินค้า (Country of Origin) ที่ชัดเจน หากสหรัฐฯ ไม่ยอมรับ ไทยอาจถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มเป็น Tier Tariff เช่นเดียวกับเวียดนามที่ต้องจ่ายภาษีสูงถึง 40% หากพิสูจน์ได้ว่ามีการขนส่งผ่าน
ทั้งนี้สหรัฐฯ ถือเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย โดยไทยส่งออกไปยังสหรัฐฯ กว่า 20% ของการส่งออกทั้งหมด ดังนั้น การไม่สามารถเจรจาต่อรองเพื่อลดภาษีลงได้ จะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อเศรษฐกิจไทย
ประเมินผลกระทบภาษีต่อ GDP ไทย เสี่ยงเหลือ 0.4% หากโดนภาษี 36%
- หากลดภาษีได้ครึ่งหนึ่งเหลือ 18% ประเมินว่า GDP ปีนี้จะขยายตัวประมาณ 1.5% และปีหน้าจะเหลือ 1.2%
- หากไทยโดนเก็บภาษี 36% เต็ม ประเมินว่า GDP ปีนี้จะเหลือเพียง 1.1% เนื่องจากเริ่มเก็บในเดือนสิงหาคมนี้ แต่ในปีหน้าซึ่งเป็นผลกระทบเต็มปี GDP จะชะลอตัวอย่างรุนแรง เหลือเพียง 0.4% เท่านั้น
โดยผลกระทบหลักจะมาจากการหดตัวของการส่งออกและการชะลอตัวอย่างมากของการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในไทย นอกจากนี้ หากต้นทุนของไทยสูงกว่าเพื่อนบ้าน จะส่งผลให้ความน่าดึงดูดในการลงทุนลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซัปพลายเชนขนาดใหญ่ของไทย เช่น ยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า จะได้รับผลกระทบ รวมถึงความสามารถในการแข่งขันระยะยาวจะลดลง โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าคำแนะนำสำหรับภาครัฐและเอกชน
นิสารัตน์ ยังเสนอแนะแนวทางสำหรับภาครัฐและเอกชนเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้ ดังนี้
- ภาครัฐ ควรดำเนินนโยบายเชิงรุกมากขึ้น และใช้เครื่องมือทางการคลังและการเงินให้สอดคล้องกัน การผ่านงบประมาณและการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ควรดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อประคองเศรษฐกิจ นอกจากนี้ การยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตให้มีนวัตกรรมมากขึ้น และส่งเสริมพัฒนา SME ให้มีความสามารถในการแข่งขันระยะยาวเป็นสิ่งจำเป็น
- ภาคเอกชน ควรเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
แนะนำกลยุทธ์การลงทุนรับมือความไม่แน่นอน
สำหรับนักลงทุนในภาวะที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน คุณนิสารัตน์ย้ำถึงปรัชญาการลงทุนที่สำคัญ 2 ประการ
- การลงทุนอย่างต่อเนื่อง (Stay Invested) Stay Invested การอยู่ในตลาดอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ
- การกระจายการลงทุน (Diversified) ในสินทรัพย์ที่หลากหลายจะช่วยลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้
ชี้เป้าสินทรัพย์ที่น่าสนใจ
- ตลาดหุ้นยังคงเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ซึ่งมองว่าเป็น Core Portfolio ที่ดีสำหรับนักลงทุน
- หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและ AI, Tech เป็น Satellite Portfolio ซึ่งผลประกอบการของกลุ่มนี้ยังคงเติบโตโดดเด่นอย่างต่อเนื่องและดีกว่ากลุ่มอื่นๆ
- กองทุน Global Multi Asset Funds สำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ที่หลากหลายและอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ กองทุนประเภทนี้ เช่น กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Global Multi-Asset Core Portfolio (SCB GM Core) ที่บริหารโดย BlackRock จะช่วยจัดการน้ำหนักการลงทุนให้เหมาะสมกับภาวะตลาดและมีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงครบถ้วน