×

อธิบายกรณี UOB ยกเลิกการจัดสรรยอดชำระเงินอัตโนมัติสำหรับบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด [ADVERTORIAL]

04.07.2024
  • LOADING...
UOB

ภายหลังจากที่ธนาคารยูโอบี (UOB) ออกมาประกาศการปรับเปลี่ยนแนวทางในการชำระเงินสำหรับบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด ด้วยการยกเลิก ‘การจัดสรรยอดชำระอัตโนมัติ’ โดยจะมีผลตั้งแต่วันสรุปยอดบัญชีวันที่ 24 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป

 

การประกาศในครั้งนี้ทำให้ผู้ถือบัตรจำนวนมากต่างออกมาสะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ของยูโอบี โดยมองว่าธนาคารมีการ Take Action เร็ว รับฟัง และแก้ไขปัญหาที่กระทบกับการใช้งานของผู้ถือบัตรได้อย่างทันท่วงที

 

อย่างไรก็ดี เพื่ออธิบายเรื่องนี้ให้ชัดเจนมากขึ้น เราจึงขออาสาย่อยประเด็นการเปลี่ยนแปลง พร้อมสรุปให้กลุ่มผู้อ่าน THE STANDARD ที่ถือบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดของ UOB จูนความเข้าใจกรณีนี้อีกสักครั้งเพื่อไขทุกข้อสงสัย

 

ยกเลิกการ ‘จัดสรรยอดชำระอัตโนมัติสำหรับบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด UOB’ คืออะไร

 

ก่อนหน้านี้ UOB มีระบบที่เรียกว่า การจัดสรรยอดชำระอัตโนมัติ (Payment Apportionment) สำหรับผู้ถือบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดของธนาคาร ซึ่งระบบดังกล่าวจะเป็นการจัดสรรยอดการชำระบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสดให้เกิดขึ้นผ่านยอดเดียว (เช่น ในกรณีที่ลูกค้าถือบัตรหลายใบ ลูกค้าสามารถรวมยอดที่ต้องชำระเป็นยอดเดียวเพื่อชำระค่าบัตรทุกใบพร้อมกัน โดยหลังการชำระเงิน ธนาคารจะจัดสรรยอดชำระให้กระจายไปทุกบัตรโดยอัตโนมัติ ทำให้ลูกค้าไม่ต้องชำระเงินหลายครั้งแยกตามแต่ละบัตร)

 

อย่างไรก็ตาม UOB ตัดสินใจยกเลิกระบบจัดสรรยอดชำระอัตโนมัติให้กับลูกค้าทุกราย โดยจะมีผลในวันที่สรุปยอดบิลตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป

 

ทำให้ต่อไปนี้ ลูกค้าบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด UOB จะสามารถเลือกจ่ายยอดชำระของแต่ละบัตรได้ตามความสะดวก กำหนดยอดที่ต้องการชำระเองได้ (จ่ายยอดแบบแยกใบ ไม่รวมยอด)

 

มีบัตรหลายใบชำระผ่านคิวอาร์โค้ดเดียวได้ไหม ใบแจ้งยอดบัญชีเดิมยังจ่ายได้อยู่หรือเปล่า บัตรเสริมชำระอย่างไร เคลียร์ทุกข้อสงสัยอื่นๆ เพิ่มเติม

 

นอกเหนือจากคำอธิบายข้างต้น สำหรับการยกเลิกการจัดสรรยอดอัตโนมัติสำหรับการชำระบัตรกดเงินสดและบัตรเครดิต UOB แล้ว เชื่อว่าอาจยังมีผู้ใช้งานบางส่วนที่ยังมีข้อสงสัยในประเด็นอื่นๆ อยู่ไม่มากก็น้อย เราจึงรวบรวมกรณีอื่นๆ เพิ่มเติมมาอธิบาย

 

ใบแจ้งยอดบัญชี (Statement) ของเดิมและของใหม่จะเปลี่ยนไปอย่างไร แล้วเราจะดูใบแจ้งยอดบัญชีได้ที่ไหนบ้าง?

 

คำตอบ: ลูกค้าที่ถือบัตรที่มีวันสรุปยอดบัญชีก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2567

 

  • จะได้รับใบแจ้งยอดบัญชีแบบเดิม ที่มีคิวอาร์โค้ดหรือบาร์โค้ดเดียว ไม่ว่าจะมีบัตรกี่ใบก็ตาม

 

ลูกค้าที่ถือบัตรที่มีวันสรุปยอดบัญชีตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป

 

  • จะได้รับใบแจ้งยอดบัญชีแบบใหม่ ที่มีคิวอาร์โค้ดหรือบาร์โค้ดแยกตามบัตรเครดิตแต่ละใบ (เช่น มี 3 บัตร ก็จะมี 3 คิวอาร์โค้ด หรือบาร์โค้ด)

 

 

สามารถดูใบแจ้งยอดบัญชีตามช่องทางที่เคยแจ้งไว้กับธนาคาร

 

  • eStatement ดูที่แอป UOB TMRW หลังจากวันสรุปยอด 3 วันทำการ
  • Paper Statement จัดส่งทางไปรษณีย์

 

หากมีใบสรุปยอดหลังวันที่ 24 มิถุนายน และถือบัตรหลายใบ ยังสามารถชำระผ่านคิวอาร์โค้ดเดียวได้ไหม?

 

คำตอบ: สำหรับลูกค้าที่มีวันสรุปยอดหลังวันที่ 24 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป จะต้องชำระผ่านใบแจ้งยอดใหม่ที่มีการแยกรายการชำระเงินตามบัตรแต่ละใบเท่านั้น

 

หากใช้ใบแจ้งยอดเดิมที่มีคิวอาร์โค้ด หรือบาร์โค้ดเดียว การชำระในครั้งนั้นๆ จะถูกนำไปใช้ชำระตามหมายเลขบัญชีบัตรผ่านคิวอาร์โค้ด หรือบาร์โค้ดนั้นเท่านั้น

 

ใบแจ้งยอดบัญชีเดิมที่เคยได้ ยังสามารถใช้ชำระเงินได้อีกไหม?

 

คำตอบ: ใบแจ้งยอดเดิมที่เคยได้ยังชำระได้ตามปกติ แต่ UOB แนะนำว่าควรใช้คิวอาร์โค้ด หรือบาร์โค้ดที่แยกตามแต่ละบัตรในการชำระเท่านั้น เพื่อเลี่ยงกรณีการจัดสรรยอดอัตโนมัติ

 

โดยสำหรับลูกค้าที่ถือบัตรที่มีวันสรุปยอดบัญชี ก่อนวันที่ 24 มิถุนายน ยอดการชำระยังคงมีการจัดสรรยอดแบบอัตโนมัติอยู่ ส่วนใบแจ้งยอดบัญชีและคิวอาร์โค้ด หรือบาร์โค้ดเดิมจากบัตรภายใต้แบรนด์ซิตี้จะสามารถใช้ชำระได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายนนี้เท่านั้น

 

แบบฟอร์มการชำระเงินมีสำหรับบัตรใบใดบ้าง?

 

คำตอบ: แยกตามบัตรแต่ละใบตามยอดการใช้งานหรือยอดที่ต้องชำระของบัตรใบนั้นๆ ได้เลย

 

บัตรเสริมได้รับผลกระทบไหม ต้องชำระเงินอย่างไรกันแน่?

 

คำตอบ: ยอดของบัตรเสริมจะถูกนำมารวมที่ยอดใช้จ่ายของบัตรหลัก ณ วันสรุปยอดบัญชี ดังนั้นผู้ถือบัตรต้องชำระรวมยอดเดียวผ่านบัตรหลัก

 

หากบัตรหลักสูญหายหรืออยู่ระหว่างรอการออกบัตรใหม่ จะมีแบบฟอร์มการชำระเงินสำหรับบัตรเสริมโดยเฉพาะสำหรับรอบบัญชีนั้นๆ โดยใบแจ้งยอดบัญชีจะถูกส่งให้กับผู้ถือบัตรหลัก

 

ถือบัตรหลายใบ วันสรุปยอดต่างกัน ผลการชำระเป็นอย่างไร?

 

คำตอบ: กรณีถือบัตรหลายใบ และมีวันสรุปยอดที่ต่างกัน โดยที่หนึ่งในนั้น ‘มีใบที่สรุปยอดก่อนวันที่ 24 มิถุนายน 2567’ รวมอยู่ด้วย ผลการชำระเงินจะยังคงเป็นไปในรูปแบบการกระจายยอดชำระอัตโนมัติของบัตรทุกใบ ดังนั้นลูกค้าต้องใช้วิธีชำระเงินแบบเดิม โดยรวมยอดชำระของบัตรทุกใบ และสแกนคิวอาร์โค้ดหรือบาร์โค้ดจ่ายในครั้งเดียว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระจายยอดชำระอัตโนมัติ

 

โดยที่ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เป็นต้นไป การยกเลิกการจัดสรรยอดชำระอัตโนมัติจะมีผลโดยสมบูรณ์กับทุกบัตรและทุกรอบบัญชี

 

การชำระเงินยอดบัตรแบบไหนจะได้วงเงินคืนทันทีบ้าง?

 

คำตอบ: มี 5 ช่องทางการชำระเงินที่ลูกค้าจะได้วงเงินคืนทันทีหลังการชำระเงิน ได้แก่

 

  1. ชำระผ่านแอป UOB TMRW Thailand
  2. ชำระผ่าน UOB Personal Internet Banking
  3. ชำระผ่าน ATM และ CDM หรือสาขาของธนาคารยูโอบีเท่านั้น
  4. ชำระผ่าน Mobile Banking หรือ Internet Banking ของทุกธนาคารผ่าน PromptPay (ยกเว้นธนาคารกรุงศรีอยุธยา จะได้รับวงเงินคืนภายใน 2 วันทำการหลังการชำระเงิน)
  5. ที่ทำการไปรษณีย์

 

ส่วนการชำระผ่านจุดให้บริการชำระอื่นๆ ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, โลตัส, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, เอ็มเปย์ และตู้รับฝากเงินทรูมันนี่ จะได้รับวงเงินคืนภายใน 2 วันทำการหลังการชำระเงิน (โดยมีค่าธรรมเนียมเป็นไปตามแต่ละผู้ให้บริการกำหนด)

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X