กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ประกาศขึ้นบัญชี 10 ประเทศในบัญชีประเทศต้องจับตาอย่างใกล้ชิดในฐานะที่อาจบิดเบือนค่าเงิน หนึ่งในนั้นคือประเทศไทย
กระทรวงคลังสหรัฐฯ เปิดเผยรายงานเรื่องการบิดเบือนค่าเงินเมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า ประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเวียดนามเข้าข่ายบิดเบือนแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอย่างชัดเจน โดยเวียดนามมีความพยายามสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมในการค้าระหว่างประเทศอย่างชัดเจน
ส่วนประเทศจีนนั้น กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้หยุดสอดส่องเรื่องการบิดเบือนค่าเงินในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ยังคงไว้ในรายชื่อประเทศที่ต้องจับตามอง และเรียกร้องให้ประเทศจีนยกระดับความโปร่งใสด้านการบริหารจัดการค่าเงิน
ขณะที่ประเทศไทยไทยติดกลุ่ม 3 ประเทศที่ถูกเพิ่มในบัญชีเฝ้าจับตาที่ต้องสงสัยว่าใช้มาตรการลดค่าเงินตราเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และนอกจากไทยแล้วยังมีไต้หวัน, อินเดีย, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, เยอรมนี, อิตาลี, สิงคโปร์ และมาเลเซีย
อ้างอิงจากสำนักข่าว Reuters เกณฑ์ที่สหรัฐฯ ใช้วัดว่าประเทศใดบิดเบือนค่าเงินคือ ประเทศนั้นต้องได้เปรียบดุลการค้าทวิภาคีต่อสหรัฐฯ อย่างน้อย 20,000 ล้านดอลลาร์, มีการแทรกแซงการปริวรรตเงินตราเกิน 2% ของ GDP และเกินดุลบัญชีเดินสะพัดทั่วโลกมากกว่า 2% ของ GDP
นี่นับเป็นครั้งแรกของสวิตเซอร์แลนด์และเวียดนามที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้บิดเบือนค่าเงิน อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาตาม Criteria พบว่า ทั้งสองประเทศต่างเข้าข่ายทั้ง 3 Criteria ขณะที่จีนนั้นเข้าข่ายเพียง 1 ใน3 ของ Criteria
โดยค่าเงินฟรังก์สวิสแข็งค่าขึ้น 3% เทียบกับดอลลาร์สหรัฐในช่วงระยะเวลา 12 เดือน ซึ่งกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุว่า เป็นการแทรกแซงที่หนักที่สุด ซึ่งได้ข้อสรุปว่า การแทรกแซงของสวิสบางส่วนมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการปรับดุลการชำระเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ กระทรวงคลังสหรัฐฯ ได้แนะนำให้ธนาคารกลางสวิสพิจารณามาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณภายในประเทศ เพื่อช่วยสร้างความสมดุลระหว่างนโยบายการเงิน
ส่วนประเทศเวียดนามนั้น กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุว่า มีการเกินดุลการค้าของเวียดนามกับสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยได้เรียกร้องให้เวียดนาม รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริหารจัดการค่าเงินของตนแข็งค่าขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาความไม่สมดุลภายนอก
กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุเพิ่มว่า ทางการเวียดนามรายงานต่อสหรัฐฯ ว่าได้ซื้อเงินตราต่างประเทศสุทธิ 16.8 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 4 ไตรมาส (ถึงเดือนมิถุนายน 2563) ซึ่งคิดเป็น 5.1% ของ GDP จึงเรียกร้องให้เวียดนามบริหารจัดการค่าเงินดองอย่างโปร่งใสมากขึ้น และการปรับปรุงเครื่องมือทางการเงินให้ทันสมัย เพื่อให้ประเทศพึ่งพาการแทรกแซงของสกุลเงิน
นอกจากนี้เวียดนามควรลดอุปสรรคทางการค้า เพื่อให้มีประเทศคู่ค้าต่างๆ รวมถึงสหรัฐฯ สามารถเข้าถึงตลาดเวียดนามได้
อ้างอิง: