×

TU – พรีวิว 2Q67: คาดกำไรปกติเพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY

08.07.2024
  • LOADING...

เกิดอะไรขึ้น:

 

พรีวิวผลประกอบการ 2Q67 InnovestX Research คาดว่า บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) จะรายงานกำไรสุทธิที่ 1.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 7%YoY แต่ลดลง 4%QoQ หากตัดขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 200 ล้านบาทออกไป กำไรปกติ 2Q67 จะอยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 2%YoY และ 45%QoQ กำไรปกติที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY มาจากยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น ซึ่งจะมากเกินพอชดเชยอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขายและดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น

 

ในขณะที่จะไม่มีการรับรู้ผลการดำเนินงานของ Red Lobster ใน 2Q67 หลังจากบริษัทปรับมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนใน Red Lobster เป็นศูนย์เมื่อสิ้น 4Q66 กำไรปกติที่เพิ่มขึ้นมาก QoQ เป็นผลมาจากยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากปัจจัยฤดูกาล TU จะประกาศผลประกอบการวันที่ 7 สิงหาคม 2567

 

รายการที่สำคัญใน 2Q67

 

  1. ยอดขาย คาดว่าจะเติบโต 5%YoY เนื่องจากยอดขายที่ดีขึ้นจากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปและธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงในสหรัฐฯ และยุโรปหักล้างยอดขายที่ลดลง จากธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งตามกลยุทธ์ปรับลดขนาดธุรกิจที่มีมาร์จิ้นต่ำในธุรกิจเทรดดิ้งล็อบสเตอร์และปลา รวมถึงอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงในสหรัฐฯ และมีผลบวกจากการแปลงค่าเงินจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า

 

  1. อัตรากำไรขั้นต้น จะกว้างขึ้นสู่ 18% (เพิ่มขึ้น 110bps YoY, เพิ่มขึ้น 70bps QoQ) จากอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (เพิ่มขึ้น YoY, QoQ) จากปริมาณขายและสัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป (เพิ่มขึ้น QoQ) จากราคาผลิตภัณฑ์ OEM ที่สูงขึ้นท่ามกลางต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่าที่ลดลง และธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง (เพิ่มขึ้น YoY) จากการปรับลดขนาดธุรกิจที่มีมาร์จิ้นต่ำ

 

  1. อัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสู่ 12.7% (เพิ่มขึ้น 100bps YoY, เพิ่มขึ้น 10bps QoQ) จากค่าใช้จ่ายการตลาดที่สูงขึ้น และค่าที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างธุรกิจ

 

  1. ผลกระทบจากการขาดแคลนเรือคอนเทนเนอร์ TU ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าระวาง เนื่องจากการขนส่งส่วนใหญ่อยู่ภายใต้สัญญา FOB โดยที่มีความล่าช้าเล็กน้อยในการรับรู้ยอดขายซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ระยะเวลาขนส่งใน 2Q67 เพิ่มขึ้น 10 วันจาก 1Q67

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น TU ปรับลง 1.33% สู่ระดับ 14.80 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 2.71% สู่ระดับ 1,301.04 จุด

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2567:

 

InnovestX Research คาดว่ากำไร 3Q67 จะเพิ่มขึ้น QoQ จากปัจจัยฤดูกาล และ YoY จากยอดขายที่ดีขึ้นจากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปและธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และอัตรากำไรขั้นต้นที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะจากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปจากราคาผลิตภัณฑ์ OEM ที่ดีขึ้น (สัญญาระยะสั้น) ท่ามกลางต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่าที่ลดลง (มีสต็อกอยู่ในมือราว 5 เดือน) และไม่มีผลขาดทุนจาก Red Lobster

 

ราคา Spot ปลาทูน่าท้องแถบเพิ่มขึ้น 11%QoQ สู่ 1,478 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ใน 2Q67 แต่ลดลง 21%YoY สู่ 1,406 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ใน 6M67 (เทียบกับ 1,784 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในปี 2566) ทั้งนี้ เมื่ออิงกับปัจจัยตามฤดูกาล TU คาดว่าราคา Spot ปลาทูน่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย MoM ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จากการเข้าสู่ช่วงห้ามจับปลาด้วยเครื่องล่อ (FAD) ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกของปีนี้ จากนั้นจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายปีนี้

 

เป้าหมายในปี 2567 TU ยังคงเป้ายอดขายเติบโต 3-4% อัตรากำไรขั้นต้นที่ 17-18% (เทียบกับ 17.1% ในปี 2566) และอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขายที่ 11-12% ในขณะที่เงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่ามากกว่าสมมติฐานที่ TU วางไว้ก่อนหน้านี้ (36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2567TD เทียบกับ 33.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่บริษัทตั้งสมมติฐานไว้ก่อนหน้านี้) และแนวโน้มที่จะมีการปรับเป้ายอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (ITC) เพิ่มขึ้นหลังจากตัวเลข 1H67 ออกมาแข็งแกร่ง บ่งชี้ถึงความเสี่ยงขาขึ้นต่อเป้าหมายปี 2567 ของ TU

 

สำหรับหุ้นที่ซื้อคืนมาจำนวน 200 ล้านหุ้น (4.2% จากหุ้นทั้งหมด) ใน 1H66 (ที่ต้นทุนเฉลี่ย 14.88 บาทต่อหุ้น) TU ประกาศจำหน่ายหุ้นซื้อคืนดังกล่าวในวันที่ 8-12 กรกฎาคม 2567 หรือลดทุนที่ชำระแล้วโดยการตัดหุ้นที่ซื้อคืนหลังจากวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 เช่นเดียวกับที่เคยทำกับหุ้นซื้อคืนในปี 2563

 

แผนการจำหน่ายหุ้นซื้อคืนอาจเป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นในระยะสั้น แต่หลังจากนั้นราคาหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการดำเนินงานที่ดีขึ้นในระยะถัดไป โดยยังคงคำแนะนำ Outperform สำหรับ TU โดยมีราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 ที่ 18 บาทต่อหุ้น อ้างอิง PE 16 เท่า (PE เฉลี่ย 10 ปี)

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ แรงกดดันเงินเฟ้อ และการแข็งค่าของเงินบาท ปัจจัยเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญคือ การบริหารจัดการพลังงาน ของเสีย และน้ำ ผลิตภัณฑ์ที่ยังยืน (E) นโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัย (S)

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising