นับตั้งแต่วันที่ ‘ttb’ ประกาศชัดว่าต้องการบ่มเพาะ Young Tech & Data Talents ผ่าน ‘ttb spark academy’ โครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่เข้ามาเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้าน Tech & Data ด้วยแนวคิด Build, Groom, Growth เพื่อร่วมกันจุดประกายไอเดียใหม่ พัฒนา สร้างสรรค์ ขับเคลื่อนนวัตกรรมและโซลูชันทางการเงิน เพื่อสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้านให้กับลูกค้า เป็นใครก็จับตามอง!
เพราะอย่างที่รู้ว่า ttb เป็น ‘LEAD the CHANGE’ หรือผู้นำในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่อลูกค้ามาโดยตลอด โดยเร่งทรานส์ฟอร์มองค์กรแบบรอบด้าน นำดิจิทัลมาดูแลลูกค้าทุกกลุ่มในทุกช่วงชีวิต ซึ่งถ้าได้หมายมั่นที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงเรื่องอะไรแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้อง ‘Make REAL Change’
และเมื่อ ttb spark academy ถูกวางให้เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่จะมาขับเคลื่อน Tech & Data Ecosystem ในการสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศไทย ยิ่งทำให้อยากล้วงลึกเข้าไปถึงแนวคิด วิธีการ และเครื่องมือในการ ‘Build’ และ ‘Groom’ คนรุ่นใหม่ในแบบฉบับของ ttb ที่ทำให้พวกเขา ‘Growth’ พร้อมสู่โลกของการทำงานจริง
นริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ชี้ให้เห็นความท้าทายระดับประเทศ ซึ่งถือเป็นความท้าทายของ ttb ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือการขาดบุคลากรในสายงาน Tech & Data
“สิ่งสำคัญวันนี้คือ การสร้างคนที่มี Digital Literacy และพร้อมทำงานได้จริง ความท้าทายเรื่องคนจึงไม่ใช่ความท้าทายของ ttb เท่านั้น แต่เป็นความท้าทายระดับประเทศ”
นริศมองว่าการจะทำ Digital Transformation ลงทุนในเทคโนโลยีอย่างเดียวไม่เกิดประโยชน์ ถ้าเราไม่มี ‘คน’ เข้ามาขับเคลื่อน แล้ว ttb ในฐานะองค์กรที่อยู่ใน Ecosystem ของวงการการเงิน จะช่วยพัฒนาบุคลากร Tech & Data ได้อย่างไร
การพูดคุยครั้งนี้ไม่ได้เน้นไปที่จุดเริ่มต้นของโครงการ แต่เจาะจงไปที่ผลลัพธ์จากการ Build, Groom, Growth เหล่าเมล็ดพันธุ์ที่ได้เข้ามาเรียนรู้และปฏิบัติงานจริงมากกว่า แต่ถ้าใครอยากรู้จัก ttb spark academy ให้มากขึ้น สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ ‘ttb spark academy’ พื้นที่แห่งการจุดประกายโอกาสด้าน Tech & Data ให้คนรุ่นใหม่ที่อยากเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เพื่อให้คนไทยมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น
สูตรลับบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต: Build, Groom, Growth
การบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์คนรุ่นใหม่ภายใต้โครงการ ‘Tech & Data Internship Program’ ที่เปิดพื้นที่ให้โอกาสคนรุ่นใหม่และน้องๆ จากมหาวิทยาลัยที่มีความสนใจด้านเทคโนโลยีและฐานข้อมูล (Tech & Data) ได้มาสัมผัสและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงจากพี่ๆ ผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยพัฒนาและต่อยอดความรู้ ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาขยายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำมากกว่า 30 คณะ ไม่ว่าจะเป็นภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ภาควิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีผู้สนใจสมัครร่วมโครงการกว่า 4,300 คน และเข้าร่วมฝึกงานแล้วกว่า 190 คน
นอกจากนี้การทำ Co-create Program ในหลักสูตร Computer Engineering and Digital Technology (CEDT) ของภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรับหลักสูตรให้มีการผลิตบัณฑิตได้ปีละ 300 คน และให้ความสำคัญกับการฝึกปฏิบัติทำงานจริง โดยนักศึกษาจะเริ่มต้นฝึกงานตั้งแต่ปี 1 เพื่อเรียนรู้โลกการทำจริง ยังสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการ Build และ Groom คนสาย Tech & Data ให้พร้อมทำงานจริง
“แน่นอนว่าจำนวนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการที่เพิ่มขึ้นมันสะท้อนถึงความตั้งใจจริงของเรา และมันเป็นสัญญาณที่ดีว่าเรากำลังมาถูกทาง แต่สิ่งที่เราได้มากกว่านั้นคือ พี่ๆ ที่มาเป็นเมนเทอร์ก็ได้ Groom ตัวเองไปพร้อมกับน้องๆ ด้วยเช่นกัน”
หนึ่งในประเด็นที่เราเองก็เคยตั้งข้อสังเกตคือ น้องๆ ที่เข้ามาฝึกงานจะจำกัดอยู่เพียงกลุ่มคนเรียนวิศวะคอมฯ และแม้ว่า ttb จะเปิดกว้างให้กับเด็กคณะอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอักษรศาสตร์ บัญชี หรือการตลาด เข้าร่วมได้ แต่เมื่อเข้าสู่กระบวนการ Build และ Groom รูปแบบการทำงานจะต่างไปจากการฝึกงานเดิมๆ อย่างไร
นริศบอกว่า ttb มีหลักคิดการทำงานแบบ ‘Agile Way of Work’ เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันแบบ Value Chain ได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
“การทำงานจริงมันมีบทบาทหน้าที่ในเชิง Tech & Data ที่ไม่จำกัดแค่ทักษะของคนที่จบวิศวะคอมฯ อย่างเดียวเท่านั้น คนที่จบการตลาด จบอักษรศาสตร์ ก็สามารถทำได้ เพราะตอนนี้ใครๆ ก็เข้าถึงการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง อีกทั้ง AI ยังมาช่วยเรื่องการเขียนโค้ดได้ แต่หัวใจหลักคือคนคนนั้นต้องเข้าใจว่าโจทย์ธุรกิจคืออะไร อะไรคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการและไม่ต้องการ แล้วจะใช้ Tech & Data มาแก้ปัญหาได้อย่างไร ถ้าเข้าใจ 3 ส่วนนี้ ที่เหลือมันเป็นเรื่องของเครื่องมือ”
“เราไม่ได้เชื่อว่าคน Gen ไหนทำงานเก่งกว่านั้น เช่นเดียวกัน เราไม่ได้เชื่อว่าคนที่จบวิศวะคอมฯ จะทำงานด้าน Tech & Data ได้ดีกว่าคนที่จบการตลาด เพราะแต่ละคนมีจุดแข็งของตัวเอง”
ปัจจุบันน้องๆ ที่ได้รับโอกาสทำงาน Full Time ประมาณ 30 คน กระจายการทำงานในหลากหลายทีม ไม่ว่าจะเป็น Digital, Data หรือ Marketing
“เรากำลังอยู่ในขั้นตอนของการขยายไปยังส่วนงานอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องไปกับแนวทางการทำงานแบบ Value Chain”
“การทำงานแบบ Value Chain ทำให้คนทำงานเห็นภาพตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ น้องที่เข้ามาฝึกงานจะได้ทำงานและปฏิสัมพันธ์กับคนจากหลากหลายส่วนงาน และทำให้พวกเขาเข้าใจว่าทำไมคนที่ทำงานสาย Tech & Data ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ไปพร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างเช่น ให้น้องทำ Gen AI สิ่งที่ต้องทำไม่ใช่การนั่งเขียนโค้ด แต่ต้องเริ่มตั้งแต่ทำความเข้าใจก่อนว่าผู้ใช้งานจริงคือใคร ต้องไปคุยกับทีม ttb contact center ว่าอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการจริงๆ อะไรคือสิ่งที่ไม่ต้องการ อะไรที่มีแล้วช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานให้กับทีม ttb contact center ได้ พอน้องเข้าใจว่าปลายทางมันควรจะหน้าตาเป็นแบบไหน เขาจะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือโซลูชันที่ตอบโจทย์ธุรกิจ ตอบโจทย์ลูกค้า และทำให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้นได้ อันนี้คือ Growth ของพวกเขา”
เมื่อถามว่าอะไรคือตัวชี้วัดว่าเมล็ดพันธุ์ที่บ่มเพาะมัน Growth อย่างที่ตั้งใจ นริศบอกว่าถ้าวัดที่ผลงานก็มีหลากหลาย ทั้งการมีส่วนร่วมพัฒนาแอปพลิเคชัน ttb touch ทำ Personalized AI Engine และ Digital Fraud Prevention ไปจนถึงการพัฒนาโปรเจ็กต์ที่เกี่ยวข้องกับ Generative AI ให้กับธนาคาร
แต่นริศมองว่าดอกผลที่งอกงามกว่าคือความภูมิใจที่พวกเขาได้สร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายด้วยตัวเขาเอง
“ผมว่าคนรุ่นใหม่รู้ว่าโลกจะไม่เปลี่ยนถ้าเขาไม่ลุกขึ้นมาเปลี่ยน แต่การจะตั้งเป้าหมายบนโลกที่โดนขึงไปด้วยความคาดหวังมันยิ่งยากขึ้น ประกอบกับเด็กยุคใหม่เก่งขึ้นเรื่อยๆ การที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ttb spark academy และถ้าเขาจะสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย เขาจะทำมันอย่างไร นั่นส่วนหนึ่งของการเติบโตสำหรับพวกเขา”
ttb spark academy เดินหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
“สำหรับผมเราเพิ่งเริ่มต้น จำนวนผู้สมัครเป็นแค่สัญญาณที่ดีว่าเราเดินถูกทาง แต่ระหว่างทางยังมีอะไรให้ทำอีกมาก เป้าหมายระยะกลางเรามองเรื่องการขยายขอบเขตการทำงานให้กว้างขึ้น อาจจะมีการ Co-create Program กับคณะอื่นๆ เพิ่มเติมควบคู่ไปกับการ Upskill และ Reskill บุคลากรทั้งองค์กรให้มีความเชี่ยวชาญในทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน”
“เป้าหมายเรายังอีกไกล เพราะความท้าทายของเราวันนี้ไม่ใช่เรื่องของ ttb แต่เป็นความท้าทายระดับประเทศ ทุกคนรู้ว่าประเทศขาดแคลนบุคลากรด้าน Tech & Data ถ้าเราจะผลักดันให้ Digital Transformation ของประเทศเกิดขึ้นได้ ทุกคนต้องร่วมมือกัน ภาครัฐต้องชัดเจนว่านโยบายที่จะไปถ้าขับเคลื่อนด้วย Tech & Data คืออะไร ภาคเอกชนต้องเคลียร์ว่า Digital Transformation ในความหมายของเขาคืออะไร แล้วถ้าทุกภาคส่วนมุ่งหน้าไปด้วยกลยุทธ์แบบนี้ สถาบันการศึกษาจะสร้างความร่วมมืออย่างไรเพื่อผลิตบุคลากรที่ตอบโจทย์การขับเคลื่อน Digital Transformation ได้จริง”
“ttb spark academy เป็นแค่ตัวจุดประกายให้เกิดการขับเคลื่อน เราเพิ่งเริ่มต้นและยังคงทำต่อเนื่อง เพราะท้ายที่สุดแล้วการปั้น Young Tech & Data Talents จะไปสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ต้องการ ‘LEAD the CHANGE’ ผู้นำในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่อลูกค้า เมื่อเราสร้างคนที่สามารถจุดประกายไอเดียสร้างสรรค์และขับเคลื่อนนวัตกรรมทางการเงินที่พร้อมทำงานจริง การจะทำให้ ttb มีศักยภาพในการ ‘Make REAL Change’ อย่างต่อเนื่อง ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป”
ดูรายละเอียด ttb spark academy เพิ่มเติมได้ที่: https://www.ttbspark.com/sparkacademy