×

แนวโน้มดอกเบี้ยถึงจุดสูงสุด สร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทนที่สูงขึ้นรับสภาวะอัตราดอกเบี้ยขาลง

14.12.2023
  • LOADING...
แนวโน้มดอกเบี้ย

เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.50% ต่อปี โดยคณะกรรมการ กนง. ประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับปัจจุบันนั้นเหมาะสมกับบริบทที่เศรษฐกิจกำลังทยอยฟื้นตัวกลับสู่ระดับศักยภาพ เอื้อให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน เสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว และป้องกันการสะสมความไม่สมดุลทางการเงิน อีกทั้งช่วยรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า

 

ขณะที่ GDP ไทยในไตรมาส 3 ปี 2566 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยข้อมูลว่า GDP ขยายตัวเพียง 1.5%YoY เนื่องมาจากการส่งออกรวมชะลอลง และการใช้จ่ายรัฐบาลยังคงลดลง แม้ว่าการบริการขยายตัวจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น การอุปโภคบริโภคของครัวเรือนที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการลงทุนของภาคเอกชนที่เร่งตัวขึ้น

 

ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2566 และ 2567 กนง. ประเมินว่าจะขยายตัว 2.4% และ 3.2% ตามลำดับ และหากรวมผลของโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล อัตราการขยายตัวในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.8% ลดลงจาก 4.4% ที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว โดยได้รับแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีตามการใช้จ่ายในหมวดบริการ รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับตัวดีขึ้น

 

จากตัวเลข GDP ไทยที่ประกาศออกมานั้น ทำให้ตลาดมองว่า การคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2566 และ 2567 ของหน่วยงานรัฐอาจจะสูงกว่าความเป็นจริง โดยก่อนหน้านี้หลายหน่วยงานคิดว่าเศรษฐกิจจะไม่ชะลอมากและเงินเฟ้อจะยังมีแรงส่งต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินการขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจกลับมีมากขึ้น ดังนั้น จึงคาดการณ์ได้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ ธปท. พร้อมจะลดดอกเบี้ยได้มากขึ้น หากเศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ 

 

การประกาศ ‘คงอัตราดอกเบี้ย’ ของ กนง. นับได้ว่าเป็นครั้งแรกหลังจากขึ้นดอกเบี้ยติดต่อกัน 8 ครั้ง ซึ่งเป็นสัญญาณที่มีแนวโน้มสิ้นสุดวัฏจักรขาขึ้นของดอกเบี้ย ทำให้คนที่ซื้อผลิตภัณฑ์การลงทุนที่เกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสได้รับผลตอบแทนมากขึ้น

 

เพื่อเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนได้บริหารจัดการการลงทุน และเข้าใกล้เป้าหมายหลายผลตอบแทนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ttb นำเสนอผลิตภัณฑ์ ‘หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงอ้างอิงอัตราดอกเบี้ย’ หรือ ‘ttb Inverse Floater Note’ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยลอยตัวแบบย้อนทิศ โดยผลตอบแทนจะแปรผกผันกับการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง กล่าวคืออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงปรับตัวลดลง ผลตอบแทนของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงจะเพิ่มขึ้น

 

ทั้งนี้ ‘ttb Inverse Floater Note’ จะอ้างอิงการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR Rating AA+ โดยจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ลงทุนทุก 3 เดือนแบบลอยตัวย้อนทิศ คุ้มครองเงินต้น 100% โดย ttb เมื่อถือจนครบกำหนด 

 

‘ttb Inverse Floater Note’ เสนอขายเฉพาะผู้ลงทุนรายใหญ่และผู้ลงทุนสถาบัน ลงทุนเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท เปิดจำหน่ายวันที่ 14-20 ธันวาคม 2566 เท่านั้น

 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม: www.ttbbank.com/ratelinkednote/standardwealth

 

แนวโน้มดอกเบี้ย

 


พิเศษยิ่งขึ้น กับโปรโมชันติดสปีดความมั่งคั่ง

ติดสปีดคะแนนสะสม เมื่อมียอดเงินลงทุนในหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงครบทุกๆ 1 ล้านบาท รับคะแนนสะสมพิเศษ 5,000 คะแนน เข้าบัตรเครดิต ttb reserve

 

สนใจลงทุน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ ttb ทุกสาขา

หรือที่ปรึกษาทางด้านการเงินและการลงทุนของท่าน หรือโทร. 1428 กด #4

(วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-17.30 น. ยกเว้นวันหยุดธนาคาร)

 

หมายเหตุ: หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงมีระดับความเสี่ยง 5 เป็นการลงทุนที่มีความซับซ้อนและความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไป แต่เป็นทางเลือกที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงขึ้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจลักษณะความเสี่ยงและปัจจัยอ้างอิงของหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงอย่างละเอียดถี่ถ้วน ก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | คุ้มครองเงินต้น 100% โดย ttb เมื่อถือจนครบกำหนด (Rating AA+) | ผลตอบแทนตามอัตราดอกเบี้ย THOR แบบลอยตัวย้อนทิศ | การลงทุนหรือใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนมีความแตกต่างจากการลงทุนหรือใช้บริการผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนทั่วไป | ผู้ลงทุนไม่สามารถขายคืนหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงนี้ก่อนครบกำหนดอายุได้ | ผู้ลงทุนมีความจำเป็นในการขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนการลงทุน

 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X