×

ttb มุ่งสร้างอนาคตยั่งยืนผ่านโมเดล B+ESG

25.02.2025
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • กรอบแนวคิด B+ESG ของ ttb มีพื้นฐานอยู่บนแนวคิดที่ว่าการดำเนินธุรกิจและความยั่งยืนไม่สามารถแยกจากกันได้
  • ttb จึงมุ่งสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับ Stakeholder ทั้งหมด โดยผสานทั้งธุรกิจ (Business) และความยั่งยืน (Sustainability) เป็นเนื้อเดียวกัน
  • เป้าหมายใหญ่ที่สุดของ ttb ก็คือสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจไทยท่ามกลางความท้าทาย

เรื่องความยั่งยืน (Sustainability) เรื่อง ESG เป็นสิ่งที่สังคมไทยพูดกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานแล้ว โดย ‘ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานกรรมการ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ttb’ เปิดเผยมุมมองกับ THE STANDARD WEALTH ว่า สิ่งสำคัญต่อจากนี้คือการแปลความยั่งยืนจากนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ซึ่งเปรียบไปก็เหมือนกับการกำหนดกรอบการดำเนินธุรกิจ

 

ในปัจจุบัน เรื่องการสร้างความยั่งยืนเปรียบได้ว่าเป็น A Must-Do Task ระดับโลก แต่ทุกวันนี้เราได้เห็นการให้ความสำคัญเรื่องของสิ่งแวดล้อม หรือ E (Environment) อย่างชัดเจนที่สุด เพราะว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัว อย่างไรก็ตาม ในมิติของการสร้างสังคมแข็งแกร่ง (Social) และการสร้างบรรษัทภิบาลที่ดี (Governance) ก็สำคัญ และต้องได้รับการพัฒนาที่เร่งด่วนเช่นกัน

 

และจากโจทย์เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน “ความท้าทายที่สุดของทุกภาคส่วนในการใช้หลัก ESG ก็คือการทำแผนปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์ได้จริง”

 

B+ESG คืออะไร?

 

B+ESG คือแผนปฏิบัติที่ผสานธุรกิจและความยั่งยืนให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยแนวคิด B+ESG ของ ttb มีพื้นฐานบน 4 ด้านสำคัญคือ

 

  • ความยั่งยืนทางธุรกิจ (Business Sustainability)
  • ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)
  • ความยั่งยืนด้านสังคม (Social Sustainability)
  • บรรษัทภิบาลและจริยธรรมทางธุรกิจ (Corporate Governance & Business Ethics)

 

เดินหน้า Make REAL Change

 

ดร.เอกนิติ กล่าวว่า ttb มีเป้าหมายหลักที่ชัดเจน คือการมุ่งสู่การเป็น The Bank of Financial Well-being เพื่อลูกค้า คู่ค้า พันธมิตร และคนไทยทั้งประเทศ พร้อมเดินหน้าสร้าง Inclusive Growth เติบโตร่วมกัน ทั้งลูกค้า คู่ค้า และสังคม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

การจะไปสู่เป้าหมายนี้ได้ “ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ในระยะเวลาอันสั้น” เพราะธนาคารต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง หรือ Make REAL Change ให้เกิดขึ้นกับทุก Stakeholder อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันนี้ ttb สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้แล้ว

 

โดยโครงการที่ ttb ดำเนินการภายใต้แนวคิด B+ESG เพื่อมุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืน คือ

 

  • การสนับสนุน SME: ttb ให้ความช่วยเหลือและส่งเสริม SME ผ่านการให้เข้าถึงโอกาสทางการเงินและความรู้ทางการเงิน เพื่อช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตอย่างยั่งยืน

 

  • บริการรวบหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระลูกค้าด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ เพิ่มสภาพคล่อง โดยในปี 2567 ธนาคารช่วยลูกค้ารวบหนี้ไปแล้วกว่า 37,000 ราย เป็นวงเงินกว่า 12,900 ล้านบาท และช่วยแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยให้ลูกค้าแล้วทั้งสิ้น 2,100 ล้านบาท (ข้อมูล ณ สิ้นปี 2567)

 

  • สินเชื่อเพื่อความยั่งยืน เพื่อสนับสนุนลูกค้าธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านสู่โมเดลที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย ttb ได้ปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนไปแล้ว 54,000 ล้านบาท รวมทั้งให้คำปรึกษาและช่วยเหลือลูกค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

 

โครงการเหล่านี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ ttb ในการสร้างการเติบโตที่ทั่วถึง โดยให้การสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะอย่างเหมาะสม

 

ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานกรรมการ ทีเอ็มบีธนชาต

 

ความท้าทายและโอกาส

 

ดร.เอกนิติ กล่าวว่า ความท้าทายของ ttb ในการดำเนินกรอบ B+ESG ก็คือการปรับให้เข้ากับบริบทไทย ซึ่งต้องปรับให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพแวดล้อมของลูกค้าและธุรกิจไทย รวมถึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพราะในการจะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนได้นั้น ต้องได้รับความร่วมมือจากลูกค้าและภาคธุรกิจ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

“แม้ว่าแนวทาง B+ESG จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน แต่ก็มีความท้าทายในการปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรับใช้กับกลุ่มลูกค้าและธุรกิจไทย อย่างไรก็ตาม ttb เชื่อมั่นว่าด้วยความมุ่งมั่นและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เราจะสามารถเอาชนะความท้าทายเหล่านี้และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมได้ในที่สุด”

 

ประธานกรรมการ กล่าวส่งท้ายว่า หากโมเดล B+ESG สำเร็จตามแผน ttb มองเห็นภาพเศรษฐกิจไทยที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืนมากขึ้น โดยมีการเติบโตที่ครอบคลุมและเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และเป็นเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ ttb เติบโตไปด้วยกันกับลูกค้า และจะเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนสำหรับทุก Stakeholder หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising