×

True กับศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ นวัตกรรมนำโลกสู่ความยั่งยืน [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
19.10.2022
  • LOADING...

การแพร่ระบาดของโรคโควิด ส่งผลให้อุตสาหกรรมหลายภาคส่วนต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง รูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตของผู้คนก็เปลี่ยนไป ออฟฟิศและโรงงานหลายแห่งขาดแคลนแรงงาน จึงเริ่มหันไปลงทุนกับสิ่งใหม่ที่จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนให้ธุรกิจมากขึ้น 

 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หุ่นยนต์’ คือหนึ่งในตัวช่วยที่มาแรงที่สุดในยุคนี้ เราจึงได้เห็นการพัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์ที่หลายบริษัทแข่งกันวิจัยและพัฒนาอย่างแข็งขัน หนึ่งในนั้นคือ True Corporation บริษัทที่หลายคนรู้จักจากบริการโทรคมนาคม ที่มี True Robotics ศูนย์วิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ในองค์กรของตัวเอง

 

นอกจากจะตั้งใจ R&D หุ่นยนต์สัญชาติไทยให้สามารถบริการผู้ใช้ได้ในหลายฟังก์ชัน ที่นี่ยังมีการพัฒนานวัตกรรมโดยยึดเป้าหมายการสร้างความยั่งยืนตามหลัก SDG ข้อ 3 (Good Health & Well Being) สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี สำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย และ SDG ข้อ 4 (Quality Education) สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต พูดอย่างง่ายก็คือใช้หุ่นยนต์ช่วยยกระดับงานด้านการแพทย์และการศึกษาไทยนั่นเอง

 

 

วิสัยทัศน์ True สู่ความยั่งยืน 

 

การดำเนินงานบนพื้นฐานความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ True Corporation ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ปี 2564 True ครองตำแหน่งบริษัทในกลุ่มคมนาคมที่ได้คะแนน DJSI (ดัชนีหลักทรัพย์ของบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ผ่านการประเมินความยั่งยืนตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หรือ ESG) สูงสุดของโลกเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน True กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือ True Sustainability Goals 2030 ภายใต้กรอบการพัฒนาด้านความยั่งยืน 3 H’s ได้แก่ Heart, Health และ Home

 

  • ด้านเศรษฐกิจ (Heart) การทำธุรกิจอย่างโปร่งใส  มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมีธรรมาภิบาลในการจัดการด้านสิทธิมนุษยชนและการจ้างงานในองค์กร True มุ่งเน้นการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และการดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ได้ 100% 

 

  • ด้านสังคม (Health) การขับเคลื่อนสังคมผ่านผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมดีๆ ที่ส่งมอบให้ลูกค้า รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนด้านสุขภาพ และการศึกษาของผู้คนในสังคม 

 

  • ด้านสิ่งแวดล้อม (Home) คำว่า Home ในที่นี้หมายถึง สำนักงาน อาคาร และทุกๆ หน่วยงานในห่วงโซ่อุปทานที่ต้องรับผิดชอบ โดยสร้างความตระหนักรู้ และใช้นวัตกรรมเพื่อลดการเกิดของเสีย ซึ่งสร้างผลกระทบให้โลก 

 

True Robotics หน่วยวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตยั่งยืน

 

หนึ่งในส่วนงานที่ True Corporation ให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริการลูกค้าให้ดีที่สุดคือ True Robotics ศูนย์วิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานในหลากหลายรูปแบบ ทั้งหุ่นยนต์ที่เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมใหญ่ และหุ่นยนต์บริการที่เต็มไปด้วยฟังก์ชันต่างๆ ในการช่วยเหลือและออมแรงผู้ใช้

 

ปัจจุบัน True Robotics มุ่งเน้นการพัฒนาหุ่นยนต์ Home Use (ใช้ในบ้าน) และ Service Robot (สำหรับงานบริการ) ด้วยฝีมือคนไทย ซึ่งจะมีต้นทุนต่ำลง มีราคาที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันก็เร่งพัฒนาแพลตฟอร์มที่ช่วยให้หุ่นยนต์ตัวหนึ่งสามารถรับคำสั่งได้อย่างหลากหลาย เช่น ช่วยเชื่อมต่อระบบ Smart Home ภายในบ้าน ช่วยตรวจสอบค่าสัญญาณอินเทอร์เน็ต ช่วยบันทึกประวัติสุขภาพและทำให้คนไข้สูงอายุ หรือคนไข้ทางไกลได้ติดต่อคุณหมอผ่านแพลตฟอร์ม Telemedicine (การวินิจฉัยและจ่ายยาทางไกล) 

 

True Robotics

ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน True Corporation และทีม True Robotics

 

 

Temi หุ่นยนต์บริการ ยกระดับการศึกษาและงานสาธารณสุข

 

True ใช้หุ่นยนต์ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผ่านโครงการ CONNEXT ED อย่างต่อเนื่อง โดยนำคอร์สเกี่ยวกับการสร้างหุ่นยนต์ไปบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในโรงเรียนต่างๆ และมีการทำหุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อใช้ใน Smart Classroom โดยให้หุ่นยนต์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างครูชาวต่างชาติกับน้องๆ ในชนบทห่างไกล จนสามารถสื่อสารกันได้ ส่งเสริมให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน กล้ามีปฏิสัมพันธ์มากขึ้น นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมโรดโชว์ที่พาหุ่นยนต์ไปแนะนำตัวอย่างต่อเนื่องตามโรงเรียนต่างๆ กว่า 1,000 โรงเรียน เพื่อเปิดมุมมองและสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ ด้วย

 

 

ในส่วนของระดับมหาวิทยาลัย True ยังได้จัด True5G Temi Robot Bootcamp ที่เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ใช้หุ่นยนต์อัจฉริยะ True5G Temi Connect & Carebot ผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True5G เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมผลงานแอปพลิเคชันหุ่นยนต์ และพัฒนานวัตกรรมที่ใช้งานได้จริงในอุตสาหกรรมค้าปลีก

 

 

True Robotics ยังพัฒนาหุ่นยนต์ดาวเด่นชื่อ ‘Temi’ (เทมิ) ที่ช่วยลดการระบาดของโรค โดยลดการสัมผัสระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย โดย Temi สามารถช่วยสแกนอุณหภูมิ ติดตามอาการคนไข้ และอำนวยความสะดวกในการส่งข้าวส่งน้ำให้กับคนไข้ในโรงพยาบาล ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับบุคลากรทางการแพทย์ไปในตัว

 

มากกว่านั้น True ได้ออกแบบแพลตฟอร์ม True Health ที่มีระบบเก็บข้อมูลอาการของคนไข้ แจ้งเตือนให้ผู้ป่วยกินยาและวัดออกซิเจน แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นไปให้หมอในรูปแบบรายงาน ช่วยให้สามารถติดตามอาการ รวมถึงวิเคราะห์สุขภาพของคนไข้แต่ละรายได้อย่างใกล้ชิดและแม่นยำขึ้นอีกด้วย

 

True Robotics

 

หลังจากการพัฒนาอย่างแข็งขัน Temi ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้บริการในหลายโรงพยาบาล และเป็นหุ่นยนต์สแกนอุณหภูมิที่ติดตั้งไว้ในหน้าร้านค้าต่างๆ ซึ่งตอนนี้ถูกใช้งานโดยโรงพยาบาล 7 แห่ง, ห้างสรรพสินค้า 2 แห่ง, หน่วยงานรัฐ 2 แห่ง, ศูนย์บริการของ True 14 แห่ง และมหาวิทยาลัย 20 แห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฯลฯ

 

True Robotics

 

อนาคตของหุ่นยนต์ที่สร้างโดยคนไทย เพื่อคนไทย

 

ปัจจุบันทีม True Robotics ได้ทำงานมากว่า 6 ปี เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์บริการให้คนไทย ซึ่งหุ่นยนต์หลายตัวที่ได้พัฒนาขึ้นก็ถูกใช้งานแล้วในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น Ijini หุ่นยนต์ที่เชื่อมกับ Autistic Application แอปพลิเคชันสอนเด็กออทิสติก ให้พวกเขาเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น Cloud Ginger Lite หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหารในร้าน Cloud Patrol หุ่นยนต์ที่ผลิตขึ้นเพื่อจัดจำหน่ายให้หน่วยงานราชการ บริษัท รปภ. และบริษัทจัดการให้เช่าพื้นที่ออฟฟิศ Temi หุ่นยนต์ช่วยดูแลผู้ป่วยในระยะไกล นอกจากนี้ยังใช้เป็นหุ่นยนต์สแกนอุณหภูมิที่ติดตั้งไว้หน้าร้านค้าต่างๆ

 

True Robotics

 

ในอนาคต True ยังวางแผนจะพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเหลือผู้สูงอายุ รวมถึงพัฒนาแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ทุกคนควบคุมหุ่นยนต์ได้ง่ายกว่าเดิม ผ่านการสร้างแอปพลิเคชันที่มี 4 ฟังก์ชันหลัก ได้แก่ การนำเที่ยวและให้ข้อมูลตามจุดท่องเที่ยวต่างๆ การจัดคิวหน้าร้านค้า การถ่ายรูปทำกิจกรรม และการลงทะเบียนเข้างานอีเวนต์ด้วยใบหน้า ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้สามารถใช้กับหุ่นยนต์ Temi, Orion Star Mini และ Pepper รวมไปถึงหุ่นยนต์ Home Robot และ Service Robot ที่กำลังพัฒนาอยู่ได้ด้วย

 

True Robotics

 

นอกจากนี้ ยังมุ่งหวังจะพัฒนาหุ่นยนต์ที่ตอบโจทย์เทรนด์โลกที่เปลี่ยนไป เช่น หุ่นยนต์สอนหนังสือที่มาให้ความรู้นักเรียนที่อาจจะอยู่ห่างไกลและขาดแคลน ครูอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในบาง สาขา วิชา หุ่นยนต์ส่งยาในโรงพยาบาลที่สามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง หรือหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นเพื่องานเฉพาะด้าน เช่น หุ่นยนต์ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ ฉีดพ่นในสถานที่จำกัดที่อาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ หรือหุ่นยนต์ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนของแพทย์

 

เสียงของผู้บริโภค ขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรม

 

อาจฟังดูเป็นหนทางที่ยาวไกล แต่ True เผยว่า หัวใจสำคัญของการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาตอบโจทย์ความยั่งยืนคือ การศึกษาวิเคราะห์ความท้าทายที่เกิดขึ้นบนโลกอยู่เสมอ เช่นเดียวกับการฟังเสียงผู้บริโภค ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อแก้ไข Pain Point ของพวกเขาก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะการเงี่ยหูฟังข้อมูลเหล่านี้แหละ ที่จะนำไปสู่แนวทางการพัฒนานวัตกรรมหุ่นยนต์ และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กรต่อไป

 

นี่คือตัวอย่างที่ทำให้เห็นถึงนวัตกรรมที่สามารถสร้างรายได้ ผลกำไร ไปพร้อมๆ กับการช่วยสังคมได้ในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างของ Temi และ True Robotics ยังทำให้เห็นว่า การตั้งเป้าหมายว่าอยากพัฒนาให้สังคมดีขึ้นเป็นเรื่องสำคัญที่ธุรกิจควรจะมี เพราะนอกจากการสร้างสินค้ามาบริการลูกค้า ทำให้พวกเขายอมจ่ายเงินให้แล้ว ยังจะทำให้ลูกค้าที่สนับสนุนสินค้ารู้สึกภูมิใจที่ได้พัฒนาสังคมจากเงินที่จ่ายไปอีกด้วย

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X