×

ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ส.ส. พรรคก้าวไกล พ้นเก้าอี้ ส.ส. หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถือหุ้นบริษัทที่มีการประกอบกิจการสื่อ

โดย THE STANDARD TEAM
28.10.2020
  • LOADING...
ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ส.ส. พรรคก้าวไกล พ้นเก้าอี้ ส.ส. หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถือหุ้นบริษัทที่มีการประกอบกิจการสื่อ

เมื่อเวลา 16.33 น. ศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากมีมติว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ส.ส. พรรคก้าวไกล ประกอบกิจการรับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์ โดยมีเอกสารรายได้ระบุว่า มีรายได้จากการผลิตสื่อโทรทัศน์ สารคดี ละคร ฟังได้ว่าบริษัทฯ ตั้งขึ้นเพื่อรับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อในการส่งเนื้อหาสาระไปสู่มวลชนที่สามารถสื่อความได้เป็นการทั่วไปได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าประกอบกิจการสื่อมวลชน

 

พบว่าธัญญ์วารินมีการถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนดังกล่าวจริง และเกิดขึ้นในช่วงที่พรรคอนาคตใหม่มีการยื่นรายชื่อผู้สมัคร ขณะที่เอกสารประชุมสามัญมีพิรุธ แม้ปรากฏหนังสือโอนหุ้นไปแล้วก็ตาม แต่เป็นการจัดทำขึ้น เพื่อให้คนนอกเข้าใจว่าตนเองไม่ได้ถือหุ้น การดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังมีการยื่นคำร้องด้วย ขณะที่ผู้ร้องไม่ได้แสดงเอกสารหลักฐานว่ามีการประชุมสามัญจริง ไม่มาให้ศาลไต่สวน

 

ธัญญ์วารินจึงพ้นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ตามลักษณะต้องห้ามในตามรัฐธรรมนูญ ณ เวลาที่มีการยื่นสมัครรับเลือกตั้ง จึงให้พ้นสมาชิกภาพตั้งแต่ 6 กุมภาพันธ์ 2562

 

วันนี้ (28 ตุลาคม) ศาลรัฐธรรมนูญ นัดอ่านวินิจฉัยกรณี 64 ส.ส. ฝ่ายค้าน-รัฐบาลกรณีถือหุ้นสื่อ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุให้ต้องพ้นตำแหน่ง ส.ส. หรือไม่ โดยศาลอ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟังในวันนี้ 2 ช่วงเวลา คือ 15.00 และ 16.00 น.

 

ทั้งนี้ในเวลา 15.00 น. ศาลรัฐธรรมนูญเริ่มอ่านคำวินิจฉัย 32 ส.ส. รัฐบาลก่อน ทั้งนี้ผู้ถูกร้อง 3 คน ได้แก่ พ.ต.ท. ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ พรรคพลังประชารัฐ, ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล พรรครวมพลังประชาชาติไทย และ สมเกียรติ ศรลัมพ์ พรรคประชาภิวัฒน์ พ้นสมาชิกภาพไปแล้วจึงจำหน่ายคดีออก คงเหลือ ส.ส. 29 คนที่ต้องวินิจฉัย โดยศาลได้อ่านผลการพิจารณาจนครบ ปรากฏว่า ส.ส. รัฐบาลทั้งหมดตามคำร้อง มิได้ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ และสมาชิกภาพ ส.ส. ทั้ง 29 คนไม่สิ้นสุดลง

 

ต่อมาเวลา 16.08 น. ศาลรัฐธรรมนูญเริ่มอ่านคำวินิจฉัย 32 ส.ส. ฝ่ายค้าน ทั้งนี้ กรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่ 3 คนพ้นสมาชิกภาพ ประกอบด้วย พล.ท. พงศกร รอดชมภู, สุรชัย ศรีสารคาม และชำนาญ จันทร์เรือง คงเหลือผู้ถูกร้องให้วินิจฉัย 29 คน

 

ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า วันสมัครลงรับเลือกตั้ง ผู้ถูกร้องทั้ง 29 คนเป็นเจ้าของ-ผู้ถือหุ้นประกอบกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อใดๆ หรือไม่ โดยศาลพิจารณาตามหลักฐานการประกอบธุรกิจแล้ว เช่น แบบ บอจ.5, สสช.1, แบบ ส.บช.3, หมายเหตุประกอบงบการเงิน

 

ศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากมีมติว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ส.ส. พรรคก้าวไกล ประกอบกิจการรับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์ โดยมีเอกสารรายได้ระบุว่ามีรายได้จากการผลิตสื่อโทรทัศน์ สารคดี ละคร ฟังได้ว่า บริษัทตั้งขึ้นเพื่อรับจ้างผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อในการส่งเนื้อหาสาระไปสู่มวลชนที่สามารถสื่อความได้เป็นการทั่วไปได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าประกอบกิจการสื่อมวลชน

 

พบว่า ธัญญ์วาริน ถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชนดังกล่าวจริง และเกิดขึ้นในช่วงที่พรรคอนาคตใหม่ยื่นรายชื่อผู้สมัคร ขณะที่เอกสารประชุมสามัญมีพิรุธ แม้ปรากฏหนังสือโอนหุ้นไปแล้วก็ตาม แต่เป็นการจัดทำขึ้นเพื่อให้คนนอกเข้าใจว่าตนเองไม่ได้ถือหุ้น การดำเนินการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังมีการยื่นคำร้องด้วย ขณะที่ผู้ร้องไม่ได้แสดงเอกสารหลักฐานว่ามีการประชุมสามัญจริง ไม่มาให้ศาลไต่สวน

 

ธัญญ์วารินจึงพ้นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ตามลักษณะต้องห้ามในรัฐธรรมนูญ ณ เวลาที่มีการยื่นสมัครรับเลือกตั้ง จึงให้พ้นสมาชิกภาพตั้งแต่ 6 กุมภาพันธ์ 2562

 

ขณะที่ผู้ถูกร้อง ส.ส. ฝ่ายค้านที่เหลือทั้ง 28 คน วินิจฉัยว่าสมาชิกภาพ ส.ส. ไม่สิ้นสุดลง

 

ทั้งนี้ จากคำวินิจฉัยทำให้มีตำแหน่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อว่างลงรับตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย แต่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบไปจึงไม่มีบัญชีรายชื่อ ส.ส. ให้เลื่อนขึ้นมา จึงให้มี ส.ส. บัญชีรายชื่อเท่าที่มีอยู่

 

สำหรับ 32 ส.ส. ฝ่ายค้าน ประกอบด้วย

 

อดีตพรรคอนาคตใหม่

 

  1. พล.ท. พงศกร รอดชมภู 
  2. ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ 
  3. พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ 
  4. สุรชัย ศรีสารคาม 
  5. ชำนาญ จันทร์เรือง 
  6. วินท์ สุธีรชัย 
  7. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ 
  8. คารม พลพรกลาง 
  9. วาโย อัศวรุ่งเรือง 
  10. อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล 
  11. ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล 
  12. วิภพ วิริยะโรจน์ 
  13. เบญจา แสงจันทร์ 
  14. สมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล 
  15. ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์
  16. กวินนาถ ตาคีย์
  17. สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา
  18. จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์
  19. ปดิพัทธ์ สันติภาดา
  20. วรรณวรี ตะล่อมสิน
  21. พรรคเพื่อไทย
  22. วิสาร เตชะธีราวัฒน์
  23. นิยม ช่างพินิจ
  24. จักรพล ตั้งสุทธิธรรม
  25. ศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ
  26. พรรคเพื่อชาติ 
  27. สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ 
  28. ลินดา เชิดชัย 
  29. ปิยะรัฐชย์ ติยะไพรัช 
  30. เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล
  31. พรรคเสรีรวมไทย
  32. พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส 
  33. ธนภร โสมทองแดง
  34. พัชนี เพ็ชรจินดา
  35. พรรคประชาชาติ
  36. กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ

 

ขณะที่ 32 ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล ประกอบด้วย

 

พรรคพลังประชารัฐ

 

  1. ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ 
  2. พิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ 
  3. อรรถกร ศิริลัทธยากร 
  4. กษิดิ์เดช ชุติมันต์ 
  5. กุลวลี นพอมรบดี 
  6. ชาญวิทย์ วิภูศิริ 
  7. ฐานิสร์ เทียนทอง 
  8. ฐาปกรณ์ กุลเจริญ 
  9. ตรีนุช เทียนทอง 
  10. ทวิรัฐ รัตนเศรษฐ 
  11. บุญยิ่ง นิติกาญจนา 
  12. ปฐมพงศ์ สูญจันทร์ 
  13. ภิญโญ นิโรจน์ 
  14. วีระกร คำประกอบ 
  15. พ.ต.ท. ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ 
  16. สมเกียรติ วอนเพียร 
  17. สัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ 
  18. สิระ เจนจาคะ 
  19. สุชาติ ชมกลิ่น 
  20. อนุชา น้อยวงศ์ 
  21. ภาดาท์ วรกานนท์

 

พรรคประชาธิปัตย์

 

  1. จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร
  2. อัศวิน วิภูศิริ 
  3. กันตวรรณ ตันเถียร กุลจรรยาวิวัฒน์ 
  4. ภานุ ศรีบุศยกาญจน์ 
  5. วชิราภรณ์ กาญจนะ 
  6. สมชาติ ประดิษฐพร 
  7. สาคร เกี่ยวข้อง 
  8. สาธิต ปิตุเตชะ

 

พรรคชาติพัฒนา

 

  1. เทวัญ ลิปตพัลลภ

 

พรรครวมพลังประชาชาติไทย 

 

  1. ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล

 

พรรคประชาภิวัฒน์ 

 

  1. สมเกียรติ ศรลัมพ์

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising