×

Networking Q&A – ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ อยากยกระดับองค์กรในยุค Generative AI ต้องทำอะไรบ้าง?

โดย THE STANDARD TEAM
05.09.2024
  • LOADING...
Generative AI

“ตราบใดที่คนทำงานยังเชื่อในตัวเองมากกว่าหลักฐาน (Data) อย่างไรก็ไปไม่รอด”

 

ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ ViaLink และ Siametrics Consulting ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและวิธีคิดในการประยุกต์ใช้ Generative AI กับองค์กรธุรกิจประเภทต่างๆ ใน ‘Networking Q&A Session’ เซสชันพิเศษในงาน The Secret Sauce Summit 2024: Winning the New Wave เกมธุรกิจชนะโลกใหม่

 

ต่อไปนี้คือไฮไลต์คำถามและคำตอบที่ผู้บริหารและผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้กับองค์กรของตัวเองได้ทันที

 

Q: เลือกใช้ AI แบบไหนให้เหมาะกับธุรกิจ?

  • จากประสบการณ์ที่ทำด้านนี้มาหลายปี พบว่ามีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ ‘ไม่กลัว และพร้อมปรับตัว’ เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดของ Generatie AI
  • ความกลัวไม่ใช่เรื่องผิด ประเด็นสำคัญคือ เรากลัวอะไร และ Take Action อย่างไร
  • สิ่งที่เราควรกลัว คือ ความเสี่ยงและ Error ที่มาจากการใช้ AI (ซึ่งจุดนี้ต้องใช้ ‘คน’ เพื่ออุดรอยรั่ว) มากกว่ากลัวโดยที่ไม่ Take Action ใดๆ เลย
  • จัดลำดับความสำคัญใหม่ เอางานทั้งหมดมากาง แล้วดูว่างานไหนควรใช้คน งานไหนควรใช้ AI และงานไหนที่ควรใช้ทั้งคนและ AI ร่วมกัน
  • งานที่เหมาะกับการใช้ AI เช่น งานครีเอทีฟ งานด้านรีเสิร์ช แต่ต้องใช้ภายใต้ข้อจำกัดว่า สิ่งเหล่านี้ย่อมมี Error และเราควรใช้มันในฐานะที่เป็น ‘สารตั้งต้น’ เท่านั้น
  • ยกตัวอย่างงานครีเอทีฟ AI สามารถช่วยเราคิดไอเดียได้เป็นร้อยไอเดีย แต่สุดท้ายไอเดียที่ใช้ได้จริงอาจมีแค่ไม่กี่ไอเดีย
  • ส่วนงานที่ต้องอาศัยความเป๊ะอาจยังไม่จำเป็นต้องใช้ AI แต่ใช้แค่ระบบธรรมดาก็เพียงพอ

 

Q: บริหารข้อมูล (Data) ในยุค AI อย่างไร ให้ถูกจุดและมีประสิทธิภาพ?

  • แยกเป็น 2 มิติ คือ 1. เรื่องคน ต้องเลือกคนให้ถูกต้อง หมายความว่า คนที่ทำหน้าที่ดูแล Data ขององค์กรต้องมีทั้งความสนใจและเข้าใจการใช้และประมวลผลข้อมูล โดยมี AI ช่วยจัดการข้อมูลอยู่เบื้องหลัง นอกจากนี้คนในระดับ Manager มีความรู้ความเข้าใจเรื่องข้อมูลอย่างเดียวไม่พอ ต้องบริหารคนให้เป็นด้วย
  • 2. วัฒนธรรมการใช้ข้อมูล ต้องปรับมายด์เซ็ตให้ถูกต้อง หมายความว่า องค์กรอยากใช้ AI เพื่อจัดการ Data ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์ลูกค้าหรือผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ใช่การใช้เพื่อให้ตอบโจทย์ KPI แบบลอยๆ เพราะมาใช้เพื่อยกระดับ
  • Operation แบบเก่าที่ใช้ระบบ Manual ถ้าเปลี่ยนเป็นระบบ Digital ได้ ควรเปลี่ยน รวมถึงการจัดการ Data
  • ในโรงงาน ภาคการผลิต อาจใช้ AI ช่วยเขียนโค้ดได้ แล้วใช้คนที่เชี่ยวชาญช่วยตรวจอีกที
  • สิ่งที่ AI เข้ามาช่วยได้ คือ การทำให้ Data เชื่อมโยงกัน นั่นคือที่มาของการตั้งชื่อบริษัท ViaLink
  • การทำงานยุคปัจจุบันต้องใช้ Data Driven มาก่อน Believe Driven “ตราบใดที่คนทำงานรวมถึงผู้บริหารยังเชื่อในตัวเองมากกว่าหลักฐาน (Data) อย่างไรก็ไปไม่รอด”

 

Q: อยากฝากอะไรถึง Tech Talent รุ่นใหม่

  • การมีทักษะด้าน Tech เป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งที่ควรถามตัวเองให้ชัด คือ สกิลนั้นนำไปสู่อะไรได้บ้าง สัมพันธ์กับเส้นทางอาชีพในอนาคตอย่างไร
  • นอกจากทักษะด้าน Tech และ Data สิ่งที่คนทำงานสายนี้ควรพัฒนาร่วมกันไปด้วย คือ ทักษะด้านการสื่อสารและการบริหารคน พูดง่ายๆ ว่าใช้ IQ อย่างเดียวไม่พอ ต้องมี EQ ด้วย
  • สำหรับคนที่ทำงานรูทีน Pain Point สำคัญ คือ เรามักไม่มีเวลาอัปสกิลใหม่ๆ ทางลัดหนึ่งที่ช่วยได้ คือ การใช้ AI เป็นเสมือนผู้ช่วย หรือ Copilot

 

Q: ปัจจุบัน ดร.ณภัทร ใช้ AI ตัวไหนบ่อยที่สุด

  • Perplexity (Perplexity.ai) เพราะตัวนี้ครอบคลุมสุด และเชื่อมกับ AI ตัวอื่นๆ เช่น ChatGPT, Gemini, Claude ได้ เหมือนตัวนี้เป็นหัวหน้าที่มีลูกน้องที่เชี่ยวชาญหลายด้าน ใช้ตัวเดียวจบ

 

#APThai #APThaiบริษัทอสังหาอันดับ1 #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #TheSecretSauceSummit2024

 
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X