🔥4 เรื่องต้องกล้าทำ ถ้าจะกู้โลกร้อนด้วย Climate Tech
🔥เปิดเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024: Young Leaders Dialogue ด้วยประเด็นเทคโนโลยีกู้โลกเดือดของสตาร์ทอัพไทยที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจ โดยมีผู้ร่วมแสดงความเห็นในวงสนทนา ได้แก่ นัชชา เลิศหัตถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาร์บอนไวซ์ จำกัด ที่เป็นแพลตฟอร์มช่วยวางแผนจัดการคาร์บอนฟุตพรินต์ให้กับองค์กร, มาย การุณงามพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อัพไซด์ คาร์บอน นิวทรัล จำกัด ที่แปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและนำกลับมาใช้ใหม่ และ ดร.วโรดม คำแผ่นชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง อัลโต้เทค โกลบอล ที่ใช้ AI มาร่วมคำนวณการใช้พลังงาน
🔥โอกาสกู้โลกร้อนเพื่อปลดล็อกความยั่งยืน
- การกู้โลกร้อน การลดคาร์บอนฟุตพรินต์ และ Net Zero เป็นสิ่งที่พูดมานานกว่า 10 ปี แต่สถานการณ์ปัจจุบันบังคับให้เราต้องทำวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยและโลกต่างเป็นเครื่องยืนยัน
- Climate Tech ของสตาร์ทอัพไทยจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกในการกู้วิกฤตโลกร้อน ซึ่งตัวอย่างในการมองเห็นโอกาสอาจเกิดขึ้นได้ เช่น บริษัท คาร์บอนไวซ์ จำกัด ที่มองโอกาสในการเป็นตัวกลางที่ทำให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจได้ว่าการลงทุนลดคาร์บอนฟุตพรินต์ส่วนไหนจึงจะคุ้มทุนที่สุดและเห็นผลเร็วที่สุด
- บริษัท อัพไซด์ คาร์บอน นิวทรัล จำกัด ที่นำผลผลิตทางการเกษตร เช่น เส้นใยกล้วยหรือเปลือกผลไม้ มาผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์ สินค้าแฟชั่น สิ่งของประดับตกแต่ง ซึ่งประเทศไทยได้เปรียบกว่าหลายประเทศทั่วโลก เพราะมีแหล่งวัตถุดิบที่หลากหลาย
- อัลโต้เทค โกลบอล ที่มองเห็นโอกาสในการใช้ AI ช่วยเก็บข้อมูลและประมวลผล ทำให้คำนวณการใช้พลังงานให้ประหยัด คุ้มค่า และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
🔥4 เรื่องที่ต้องกล้าถ้าอยากกู้โลกร้อน
- ต้องกล้าโปร่งใส เพราะความโปร่งใสจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและตรวจสอบได้ ทั้งการเข้าไปดูว่าใครใช้พลังงานมากน้อยแค่ไหน ใครใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบางประเทศมีแพลตฟอร์มรองรับข้อมูลอย่างโปร่งใส โดยตรวจสอบได้ทั้งในเชิงพื้นที่และเจาะรายอาคาร
- ต้องสร้างมาตรฐานให้เท่าเทียมนานาชาติ เช่น เกณฑ์การสร้างอาคารในประเทศไทยที่สูงกว่าหลายประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติไม่กล้าลงทุน และสตาร์ทอัพไม่มีช่องทางที่จะเข้าไปช่วยเหลือ SMEs และไม่สามารถสเกลอัพธุรกิจของตัวเองได้
- ต้องกล้าร่วมมือกัน แม้ว่าภาวะโลกเดือดจะเป็นปัญหาร่วมกันของคนไทยและทั้งโลก แต่ปัจจุบันสตาร์ทอัพต่างคนต่างทำ ทำให้ไม่มีการรวมข้อมูลหรือรวมบริการที่รอบด้านให้กับลูกค้า ส่งผลให้ลูกค้าต้องจ้างสตาร์ทอัพหลายแหล่ง ซึ่งการรวมกันอาจสร้างความสะดวกกับลูกค้าในการแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ประเมินกลยุทธ์ และวางแผนการลงทุนได้
- ต้องกล้าลองผิดลองถูก กล้าทำอะไรใหม่ๆ ไปด้วยกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สังคม และสตาร์อัพ ต้องไปด้วยกัน ตัวอย่าง ประเทศฝรั่งเศสมีวิธีบริหารประเทศแบบ Start-up Nation เปิดโอกาสให้ลองผิดลองถูก กระจายอำนาจการตัดสินใจโดยไม่รวมไว้ที่ศูนย์กลางเพียงอย่างเดียว การปล่อยให้แต่ละภาคส่วนลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง จะทำให้เกิดการเรียนรู้จนนำไปสู่องค์ความรู้และนวัตกรรมที่มากขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีสตาร์ทอัพที่มีองค์ความรู้จำนวนมาก แต่ยังไม่มีแซนด์บ็อกซ์ที่ให้ลองผิดลองถูกมากพอ
🔥3 เรื่องต้องมีถ้าอยากกู้โลกร้อน
- ต้องมีพื้นที่ให้ทดลอง ตรวจสอบสมมติฐาน ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ เพื่อสเกลแบบก้าวกระโดด
- ต้องมีเคสมากพอ เพื่อให้รู้ว่าวิธีนี้เวิร์กหรือไม่เวิร์ก ตอบโจทย์องค์กรจริงหรือไม่
- ต้องมี Ecosystem ที่ครบวงจร ทำงานร่วมกันกับภาครัฐ เอกชน และแหล่งทุน
#APThai #APThaiบริษัทอสังหาอันดับ1 #ชีวิตดีๆที่เลือกเองได้ #ที่ที่ดีที่สุดจากเอพี
#TheStandardEconomicForum2024 #YoungLeadersDialouge