ม็อบจบ หมุดหาย มองสัญลักษณ์การเมืองที่อยู่ในม็อบ 19 กันยายน
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองครั้งสำคัญเมื่อสุดสัปดาห์ คือการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มธรรมศาสตร์และการชุมนุม ในชื่อกิจกรรม ‘19 กันยา ทวงคืนอำนาจราษฎร’ ที่ประสบความสำเร็จในสายตาแกนนำ หลังบรรลุเป้าหมายด้วยการยื่นหนังสือร้อง 10 ข้อ ‘ปฏิรูปสถาบัน’ ให้กับประธานองคมนตรี ก่อนประกาศยุติการชุมนุม
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ถูกพูดถึงมากที่สุดหลังการชุมนุมจบลง คือการหายไปของหมุดคณะราษฎรหมุดที่สองที่ถูกรื้อ หลังถูกฝังลงในบริเวณพื้นที่สนามหลวงได้ไม่ถึงหนึ่งวันดี
‘หมุดไม่ได้ปักที่พื้นสนามหลวง แต่ปักไว้ในใจคน’
ด้านบนคือประโยคที่ เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ โพสต์ถึง ท่ามกลางปฏิกิริยาบนโลกโซเชียลของกลุ่มผู้สนับสนุนม็อบ ที่แข่งกันผลิตคอนเทนต์เกี่ยวกับหมุดออกมาอย่างไม่ขาดสาย
ดังนั้น คำถามว่าหมุดอยู่ที่ไหน อยู่กับใคร คงไม่สำคัญเท่าคำถามที่ว่า สัญลักษณ์ทางการเมืองของคนยุคปัจจุบันดำรงอยู่ในสถานะใด และพวกเขาสื่อสารมันอย่างไร
THE STANDARD Daily จึงชวนทุกคนมองสัญลักษณ์การเมืองยุคปัจจุบันของกลุ่มผู้ชุมนุมรุ่นใหม่ กับ ชาตรี ประกิตนนทการ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะผู้ที่คลุกคลี ศึกษาศิลปะ และสถาปัตยกรรมที่ผูกกับแนวคิดทางการเมืองมาอย่างยาวนาน
ติดตาม THE STANDARD Daily ได้ทุกวัน เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ทาง Facebook Live และ YouTube Live ของ Thestandardth