×

THE PITCHING SEASON 3 ต่อยอดเส้นทางผู้ประกอบการ กระเป๋าเงินไม่รั่ว จับโอกาสระดับโลก [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
15.02.2023
  • LOADING...

THE PITCHING โมเดลอุดรอยรั่วผู้ประกอบการไทยจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปลี่ยนธุรกิจ SMEs ไทยให้ส่งออกสินค้ากว่า 30 ประเทศทั่วโลก ต่อยอดความสำเร็จสู่ Season 3 พร้อมโค้ชใหม่และเวิร์กช็อปใหม่ โอกาสสุดท้ายก่อนปิดรับ 22 กุมภาพันธ์นี้

 

หลายปีที่ผ่านมาเราพูดกันว่าประเทศไทยจะต้องกลายเป็น ‘Thailand 4.0’ ซึ่งหมายถึงความพยายามในการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-Based Economy) ซึ่งหลักการก็คือการเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม ขณะเดียวกันโครงสร้างเศรษฐกิจของไทยก็ถูกขับเคลื่อนโดยภาคธุรกิจ ซึ่งประกอบไปด้วย SMEs กว่า 95% และมีการจ้างงานกว่า 50% ของธุรกิจทั้งหมด ดังนั้นหากนวัตกรรมเหล่านี้ถูกขับเคลื่อนมาจากกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพและ SMEs ก็จะเป็นแรงกระเพื่อมสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง

 

‘กระเป๋าเงินรั่ว’ สถานการณ์ของสตาร์ทอัพ SMEs ไทย

 

การเติบโตไปสู่สังคมนวัตกรรมไม่เพียงแต่จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนได้ในทิศทางใหม่ แต่จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนจากประเทศส่งออกผลิตภัณฑ์ไปสู่ประเทศที่ส่งออกนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของ SMEs ไทยดูเหมือนว่าเงินในกระเป๋ากำลังไหลออกแบบไม่รู้ตัว ราวกับว่ากระเป๋าสตางค์มีรอยรั่วอยู่ตลอดเวลา ซึ่งนั่นเกิดจากการขาดความรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property: IP)

 

คำว่า ‘ทรัพย์สิน’ และ ‘ปัญญา’ คือคำที่บ่งบอกชัดเจนถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เกิดจากปัญญาของผู้คิดค้น โดยเราอาจเห็นการระบุความหมายของ ‘ทรัพย์สินทางปัญญา’ ว่าหมายถึงผลอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางปัญญาของมนุษย์ จัดเป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) และด้วยความที่มันจับต้องไม่ได้ ก็มักจะถูกละเลยการสวมสิทธิความเป็นเจ้าของ ซึ่งนั่นล้วนเป็นรายได้มหาศาลที่ภาคธุรกิจพลาดโอกาสไปเพียงเพราะคำว่าไม่รู้

 

ปัจจุบันทรัพย์สินทางปัญญามีรูปแบบการให้ความคุ้มครองหลากหลายประเภท โดยหนึ่งในนั้นคือ สิทธิบัตร (Patent) ซึ่งมีเป้าหมายคือการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing) เพื่อสร้างเงินจากความคุ้มครอง โดยมีช่วงเวลาจำกัดราว 20 ปีเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการไทยหลายรายมักเข้าใจว่าสิทธิบัตรมีเพื่อการคุ้มครองสิทธิเพียงอย่างเดียว ทำให้พลาดโอกาสในการสร้างรายได้มหาศาลผ่านกระบวนการ Licensing ซึ่งปัจจุบันการยื่นจดสิทธิบัตรในไทยนั้นมาจากชาวต่างชาติถึง 90% โดยผู้ประกอบการไทยถือเป็นเพียง 10% จากทั้งหมดเท่านั้น

 

ตัวอย่างความสำเร็จจาก THE PITCHING โมเดลช่วยอุดรอยรั่วให้ผู้ประกอบการ

 

กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเกิดไอเดียในการบ่มเพาะผู้ประกอบการรูปแบบใหม่ พร้อมกับอุดรอยรั่วให้กระเป๋าสตางค์นักธุรกิจ ผ่านโมเดลรายการ THE PITCHING รายการแข่งขันเชิงธุรกิจที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ได้เข้าร่วมเพื่อชิงเงินรางวัล พร้อมกับการบ่มเพาะความรู้จากโค้ชตัวจริงทั้งจากดารานักธุรกิจ เช่น วู้ดดี้ วุฒิธร เจ้าของบริษัท Woody World, เชียร์ ฑิฆัมพร ผู้ก่อตั้งบริษัท ชาร์มมิ่งเวิลด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, กุ๊บกิ๊บ สุมณทิพย์ หน่ึงในผู้ดูแลแบรนด์ Hira Blue และ ก้อง อรรฆรัตน์ ผู้ก่อตั้งบริษัท มัชรูม กรุ๊ป จำกัด และโค้ชผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น บุ๋ม-บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ YourNextU by SEAC, ป้อม-ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ บริษัท TARAD.com และโค้ชท่านอื่นๆ

 

 

ปัจจุบันรายการ THE PITCHING กำลังเดินทางมาสู่ Season 3 โดยในปีที่ผ่านมารายการได้มีโอกาสบ่มเพาะผู้ประกอบการหน้าใหม่หลายราย ให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมแข่งขันจะได้รับโอกาสในการโค้ชจากนักธุรกิจตัวจริง การเข้าถึงช่องทางในการนำเสนอสินค้าและบริการ รวมถึงการติดต่อโดยตรงกับผู้มีอำนาจในการจำหน่ายสินค้า เพื่อช่วยให้แผนในการทำธุรกิจสามารถทำได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ชมของรายการก็ได้รับองค์ความรู้และแรงบันดาลใจในการเป็นนักธุรกิจหน้าใหม่ ซึ่งที่ผ่านมารายการมีผู้ชมเข้าถึงกว่า 3 ล้านคน

 

โดยที่ผ่านมามีหลายธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากการเข้าร่วมกับทางรายการที่มีการปรับกลยุทธ์โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นตัวนำธุรกิจ เช่น Laika ธุรกิจผลิตขนมสำหรับสุนัขที่ผลิตจากโปรตีนแมลงของ เพชร-พชรพล อัจฉริยะศิลป์ และ โด่ง-อิทธิกร เทพมณี วางแผนการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร พร้อมทั้งปรับเครื่องหมายการค้าจาก Laika เป็น Jaika เพื่อให้สามารถจดทะเบียนได้ในต่างประเทศ รองรับการส่งออกไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลก และ Mr.Zen ธุรกิจเฟรนช์ฟรายส์ถั่วเขียวของ ทรรศิน อินทานนท์ ที่ได้เปลี่ยนความคุ้มครองสิทธิบัตรมาเป็นการคุ้มครองด้วยความลับทางการค้า (Trade Secret) และปรับเปลี่ยนเครื่องหมายการค้าจาก Mr.Zen เป็น ZENFRY ทำให้การขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศง่ายขึ้น ธุรกิจสามารถขยายการเติบโตได้อย่างเข้มแข็ง ปรับโมเดลการทำธุรกิจสู่การขายแฟรนไชส์ การค้าส่ง และผลิตเพื่อส่งออกไปยังกลุ่มประเทศยุโรปและเอเชีย

 

ผู้ประกอบการจะได้อะไรจาก THE PITCHING SEASON 3

 

ล่าสุดรายการ THE PITCHING กำลังอยู่ในช่วงเปิดรับสมัคร Season 3 โดยยังคงรักษาจุดแข็งเดิม คือผู้ประกอบการที่มาร่วมแข่งขันจะได้รับการบ่มเพาะจากโค้ชดารานักธุรกิจ 4 ท่านดังเดิม โดยเพิ่มความพิเศษจากโคโค้ชใหม่คือ โตชิ ศิริจิวานนท์​ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Movefast ที่จะมาร่วมเป็นโคโค้ชกับโค้ชกุ๊บกิ๊บ

 

นอกจากการบ่มเพาะจากโค้ช ผู้ประกอบการใน Season นี้จะได้เข้าสู่เวิร์กช็อปของรายการ ซึ่งในปีนี้ได้มีการเพิ่มเวิร์กช็อป ‘พี่สอนน้อง’ ให้กับผู้เข้ารอบ 30 ราย โดยจะมีผู้ประกอบการรุ่นพี่ที่เคยเข้าร่วมรายการ THE PITCHING มาแชร์ประสบการณ์ตรงและเทคนิคการต่อยอดทางธุรกิจที่ควรทำจากการเข้าร่วมรายการ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเกี่ยวความรู้ 3 ด้านที่จะได้จากรายการอยู่แล้ว ได้แก่ องค์ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา เทคนิคการ Pitching ทางธุรกิจ และวิธีคิดเชิงธุรกิจ รวมถึงการต่อยอดประโยชน์ผ่านโค้ชและผู้ประกอบการรายอื่นๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

พอร์ช-ภเชศ จารุมนต์ หัวหน้าศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IPAC) กรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวกับ THE STANDARD ว่า “สินค้าในไทยหลายแบรนด์ไม่สามารถจดเครื่องหมายการค้าได้เพียงเพราะชื่อเครื่องหมายการค้าไปสื่อถึงสินค้าและบริการ หรือไปซ้ำกับชื่อเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการควรรู้ เพราะเมื่อไม่มีเครื่องหมายการค้าที่แข็งแรง เปรียบเสมือนคนอ่อนแอที่ยากจะไปแข่งขันกับคนอื่นได้ทั้งในและต่างประเทศ”

 

ถึงเวลาเริ่มก้าวแรกอย่างมั่นคงในเส้นทางผู้ประกอบการ

 

ที่ผ่านมารายการ THE PITCHING ทั้ง Season 1 และ 2 ได้สร้างความสำเร็จแก่ผู้ประกอบการหลายราย เช่น Eggyday, Meat Avatar, Chiwadi, Eden และแบรนด์อื่นๆ อีกมากมาย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังมีโอกาสและช่องทางอีกมากให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของรายการ THE PITCHING เพื่อเริ่มต้นเส้นทางการเป็นผู้ประกอบการได้อย่างมั่นคง

 

กรมทรัพย์สินทางปัญญามีเป้าหมายในการวางนโยบายเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศด้วยทรัพย์สินทางปัญญา โดยมุ่งพัฒนา 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ส่งเสริมการสร้างสรรค์ (IP Creation) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ (IP Commercialization) ส่งเสริมการคุ้มครอง (IP Protection) และส่งเสริมการบังคับใช้สิทธิ (IP Enforcement) ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในการอุดรอยรั่วของช่องทางรายได้ เปิดโอกาสใหม่ๆ ในการส่งออกนวัตกรรมไปบนเวทีโลก

 

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ ตอนนี้รายการ THE PITCHING SEASON 3 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม จนถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 โดยผู้ประกอบการสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://woodyworld.co/

 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X