×

จาก The Glory ถึง โอม ภวัต เพราะการบูลลี่ไม่ใช่แค่เรื่องล้อเล่น

10.01.2023
  • LOADING...
theglory

HIGHLIGHTS

  • หลังจากสตรีมครั้งแรกเพียง 4 วัน The Glory ซีรีส์จากเกาหลีใต้ติดอันดับ 5 ในการจัดอันดับทั่วโลกบน Netflix และขึ้นอันดับ 1 ใน 10 ภูมิภาค ทั้งในเกาหลีใต้, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และอื่นๆ อีกมากมาย
  • The Glory พูดถึงเรื่องราวของ มุนดงอึน (ซงฮเยคโย) อดีตนักเรียนชั้น ม.5 ผู้เป็นเหยื่อความรุนแรงในโรงเรียนโดยที่ไม่มีใครยื่นมือเข้าไปช่วย ทำให้เธอเปลี่ยนความเจ็บปวดเป็นแผนชำระแค้นที่เตรียมการยาวนานถึง 18 ปี ที่น่าตกใจก็คือฉากความรุนแรงในเรื่องมาจากเหตุการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2006 ในเกาหลีใต้ จนถึงในปัจจุบันปัญหาเรื่องการบูลลี่ในโรงเรียนก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ จึงทำให้ประเด็นใน The Glory เป็นสิ่งที่ทำให้คนดูรู้สึกอินได้ง่ายๆ 
  • สถิติจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าในปี 2020 ประเทศไทยติดอันดับ 2 ของโลกเป็นรองแค่ญี่ปุ่น เรื่องการบูลลี่ด้วยการใช้ตัวอักษรผ่านโซเชียลมีเดีย โดยมักนำเรื่องรูปลักษณ์ เพศ และความคิดหรือทัศนคติขึ้นมากลั่นแกล้งกัน ส่วนใหญ่การบูลลี่มักเกิดขึ้นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ขณะที่ในงานเสวนา STOP Bullying หยุดการกลั่นแกล้ง หยุดความรุนแรง หยุดสร้างความเกลียดชังในสังคม โดยคลินิกกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เผยว่า เยาวชนไทย 28% บอกว่า การกลั่นแกล้งเป็นเรื่องปกติ ขณะที่อีก 39% บอกว่า การกลั่นแกล้งเป็นเรื่องสนุก ส่วนเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชนเคยสำรวจความคิดเห็นของเด็ก 1,500 คน จาก 15 โรงเรียน พบว่า 91.79% เคยถูกบูลลี่ และ 1 ใน 4 หรือ 24.86% ถูกกลั่นแกล้งมากถึงสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง 
  • ดังนั้นเมื่อ The Glory สตรีมในเมืองไทย ในทวิตเตอร์จึงมีการแชร์ประสบการณ์หลากหลายเกี่ยวกับการถูกบูลลี่ และลามไปถึงนักแสดงซีรีส์วาย โอม-ภวัต จิตต์สว่างดี เมื่อเหยื่อคนหนึ่งออกมาเผยถึงพฤติกรรมบูลลี่เพื่อนที่เป็นออทิสติก และคนไม่มีทางสู้ของนักแสดงหนุ่มสมัยมัธยมต้น จนในที่สุดเจ้าตัวออกมายอมรับและขอโทษ แต่เรื่องไม่จบอยู่แค่นั้นเมื่อเสียงแตกออกเป็นสองฝ่าย ทั้งฝ่ายที่คิดว่าเรื่องนี้ไม่น่าให้อภัยและคำขอโทษก็ดูไม่สมเหตุสมผล กับอีกฝ่ายที่ยังยืนยันสนับสนุน และมีหลายๆ ข้อความที่ออกไปในทางโทษเหยื่อ

หลังจากสตรีมครั้งแรกเพียง 4 วัน The Glory ซีรีส์จากเกาหลีใต้ติดอันดับ 5 ในการจัดอันดับทั่วโลกบน Netflix และขึ้นอันดับ 1 ใน 10 ภูมิภาค ทั้งในเกาหลีใต้, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และอื่นๆ อีกมากมาย กับเรื่องราวของ มุนดงอึน (ซงฮเยคโย) อดีตนักเรียนชั้น ม.5 ผู้เป็นเหยื่อความรุนแรงในโรงเรียนโดยที่ไม่มีใครยื่นมือเข้าไปช่วย ทำให้เธอเปลี่ยนความเจ็บปวดเป็นแผนชำระแค้นที่เตรียมการยาวนานถึง 18 ปี ที่น่าตกใจก็คือฉากความรุนแรงในเรื่องมาจากเหตุการณ์จริงที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2006 ในเกาหลีใต้ จนถึงในปัจจุบันปัญหาเรื่องการบูลลี่ในโรงเรียนก็ยังเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ จึงทำให้ประเด็นใน The Glory เป็นสิ่งที่ทำให้คนดูรู้สึกอินได้ง่ายๆ 

 

CONTENT_01

bully (1)

 

ก่อนหน้านี้มีหนังและซีรีส์หลายเรื่องที่พยายามตีแผ่ประเด็นนี้ออกมามากมาย แต่ที่ดูจะสะท้อนภาพความจริงได้อย่างดีต้องย้อนกลับไปในปี 2011 ในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Bully ว่าด้วยเรื่องราวการบูลลี่ในโรงเรียนด้วยการตามติดชีวิตเด็กนักเรียนทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกาผู้เป็นเหยื่อของความรุนแรง รวมถึงครอบครัวของเหยื่ออีก 2 รายที่ลูกต้องฆ่าตัวตายเพื่อหนีความรุนแรงในโรงเรียน โดยภาพสะท้อนความไม่เข้าใจปัญหาฉายชัดผ่านชีวิตของ Alex Libby เด็กชายเก้งก้าง สวมแว่น ที่มักถูกเพื่อนกลั่นแกล้ง และปลอบใจตัวเองว่านี่คือเรื่องปกติ และจำเป็นต้องยอมรับเพื่อให้มีเพื่อนในโรงเรียน ส่วนผู้เป็นพ่อก็ยุให้ลูกลุกขึ้นสู้และคิดว่านี่คือส่วนหนึ่งในชีวิตลูกผู้ชาย ที่ตลกร้ายกว่านั้นคือชื่อไทยของหนังเรื่องนี้คือ ‘ตามติดชีวิตเด็กจ๋อง’ ซึ่งคำว่า ‘เด็กจ๋อง’ ก็ไม่ต่างจากการบูลลี่ตัวละครในหนังที่ตีแผ่ปัญหาการบูลลี่อีกทีหนึ่ง สะท้อนความไม่เข้าใจปัญหาของสังคมไทย 

 

สถิติจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าในปี 2020 ประเทศไทยติดอันดับ 2 ของโลกเป็นรองแค่ญี่ปุ่น เรื่องการบูลลี่ด้วยการใช้ตัวอักษรผ่านโซเชียลมีเดีย โดยมักนำเรื่องรูปลักษณ์ เพศ และความคิดหรือทัศนคติขึ้นมากลั่นแกล้งกัน ส่วนใหญ่การบูลลี่มักเกิดขึ้นในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ขณะที่ในงานเสวนา STOP Bullying หยุดการกลั่นแกล้ง หยุดความรุนแรง หยุดสร้างความเกลียดชังในสังคม โดยคลินิกกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เผยว่า เยาวชนไทย 28% บอกว่า การกลั่นแกล้งเป็นเรื่องปกติ ขณะที่อีก 39% บอกว่า การกลั่นแกล้งเป็นเรื่องสนุก ส่วนเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อเด็กและเยาวชนเคยสำรวจความคิดเห็นของเด็ก 1,500 คน จาก 15 โรงเรียน พบว่า 91.79% เคยถูกบูลลี่ และ 1 ใน 4 หรือ 24.86% ถูกกลั่นแกล้งมากถึงสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง 

 

bully (6)

 

ดังนั้นเมื่อ The Glory สตรีมในเมืองไทย ในทวิตเตอร์จึงมีการแชร์ประสบการณ์หลากหลายเกี่ยวกับการถูกบูลลี่ และลามไปถึงนักแสดงซีรีส์วาย โอม-ภวัต จิตต์สว่างดี เมื่อเหยื่อคนหนึ่งออกมาเผยถึงพฤติกรรมบูลลี่เพื่อนที่เป็นออทิสติก และคนไม่มีทางสู้ของนักแสดงหนุ่มสมัยมัธยมต้น จนในที่สุดเจ้าตัวออกมายอมรับและขอโทษ แต่เรื่องไม่จบอยู่แค่นั้นเมื่อเสียงแตกออกเป็นสองฝ่าย ทั้งฝ่ายที่คิดว่าเรื่องนี้ไม่น่าให้อภัยและคำขอโทษก็ดูไม่สมเหตุสมผล กับอีกฝ่ายที่ยังยืนยันสนับสนุน และมีหลายๆ ข้อความที่ออกไปในทางโทษเหยื่อ
 

สำหรับผู้เขียน เด็กทะเลาะกันอาจเกิดขึ้นได้ แต่การเข้าไปกลั่นแกล้งอีกฝ่ายโดยไม่มีสาเหตุเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กพิเศษที่ต้องการความช่วยเหลือให้อยู่ร่วมในสังคม ยิ่งได้เห็นบางคอมเมนต์โทษว่าเหยื่อควรจะอยู่ในโรงเรียนพิเศษ มาอยู่ร่วมในโรงเรียนปกติทำไม ยิ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจ และวัฒนธรรมแฟนคลับบางอย่างที่เข้าขั้นเป็นพิษ 

 

bully (4)

 

จริงอยู่ว่าเมื่อคนรักไปแล้วคงเลิกรักได้ยาก การให้กำลังใจก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่การหาข้อคัดง้างโดยขาดตรรกะและศีลธรรมเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อได้อ่านข้อความคำขอโทษของโอมว่า ตอนเด็กๆ ผมซน แสบ ชอบเล่นคึกคะนองแบบเด็กผู้ชาย ยิ่งทำให้เข้าใจได้ว่าโอมไม่ต่างจากวัยรุ่น 28% ที่มองว่าการกลั่นแกล้งเป็นเรื่องปกติ และเกิดจากการคึกคะนองไปตามวัย 

 

จากเหตุการณ์ครั้งนี้จะเป็นบทเรียนสำคัญว่าการบูลลี่นอกจากจะสร้างฝันร้ายให้กับผู้ถูกกระทำ แต่กลับมาหลอกหลอนผู้ที่กระทำได้เหมือนกัน ไม่เฉพาะกับตัวโอม แต่หมายถึงเราทุกคนว่าเคยเป็นหรือกำลังเป็นฝันร้ายของใครอยู่หรือเปล่า และต้องจดจำว่ามันเกิดขึ้นบนความเจ็บปวดของคนอื่นที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังต้องกลับไปชดใช้ 

 

ส่วนในกรณีของโอม การให้อภัยเป็นหน้าที่ของเหยื่อ ส่วนการให้โอกาสคือหน้าที่ของคนดู ขึ้นอยู่กับว่าต่อจากนี้ไปโอมจะเข้าใจและสำนึกผิดกับการกระทำของตัวเองหรือไม่ ก็ยังต้องรอการพิสูจน์ 

 

อ้างอิง: 

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

X
Close Advertising