×

วิจัยชี้ วิกฤตโลกเดือด คลื่นความร้อนสาหัส ‘ทำร้ายมนุษย์หนักขึ้น’

03.05.2024
  • LOADING...

งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Science Advances ชี้ผลกระทบภาวะโลกรวน หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังทำให้คลื่นความร้อนขนาดยักษ์เคลื่อนที่ไปทั่วโลกช้าลง ส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากเผชิญอากาศร้อนจัดเป็นเวลานานขึ้น

 

รายงานผลการวิจัยซึ่งร่วมเขียนโดยเว่ยจาง (Wei Zhang) นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศจากมหาวิทยาลัยยูทาห์ (Utah State University) และ กาเบรียล เหลา (Gabriel Lau) จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน (Princeton University) ชี้ว่า ตั้งแต่ปี 1979 คลื่นความร้อนทั่วโลกมีการเคลื่อนตัวช้าลง 20% ซึ่งหมายความว่าผู้คนจะเผชิญความร้อนที่นานขึ้น โดยภาวะเช่นนี้เกิดบ่อยขึ้นราว 67%

 

“เช่นเดียวกับในเตาอบ ยิ่งใช้ความร้อนนานเท่าไรก็ยิ่งปรุงอาหารได้มากขึ้นเท่านั้น ในกรณีนี้คือผู้คน” หนึ่งในทีมวิจัยระบุ

 

นอกจากนี้พบว่าตั้งแต่ปี 1979-1983 คลื่นความร้อนทั่วโลกจะเกิดขึ้นกินเวลาโดยเฉลี่ยราว 8 วัน แต่ในช่วงปี 2016-2020 พบว่าระยะเวลาการเกิดคลื่นความร้อนโดยเฉลี่ยนั้นเพิ่มเป็น 12 วัน

 

จากการศึกษายังพบว่าระดับอุณหภูมิสูงสุดในคลื่นความร้อน ณ ปัจจุบันจะเพิ่มสูงกว่าเมื่อ 40 ปีที่แล้ว และพื้นที่ใต้โดมคลื่นความร้อนจะมีขนาดใหญ่กว่าในอดีต

 

พื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษจากภาวะคลื่นความร้อนที่รุนแรงและยืดเยื้อคือทวีปยูเรเชีย

 

ขณะที่แอฟริกานั้นเผชิญคลื่นความร้อนที่เคลื่อนที่ช้ามากที่สุด ส่วนอเมริกาเหนือและออสเตรเลียมีขนาดคลื่นความร้อนเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุด

 

ทีมนักวิจัยเผยว่า ได้จำลองด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของภาวะคลื่นความร้อนนี้เกิดจากการปลดปล่อยความร้อนที่กักเก็บจากการเผาไหม้ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ

 

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาร่องรอยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้วิธีการจำลองโลกที่ไร้การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ผลสรุปที่น่าสนใจว่า เมื่อไม่มีการแพร่กระจายก๊าซเรือนกระจก ภาวะคลื่นความร้อนที่เลวร้ายลงจนสังเกตได้ในช่วง 45 ปีที่ผ่านมาก็จะไม่เกิดขึ้น

 

 

ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X