×

6 สถิติ ‘เพชรสี’ ที่มีมูลค่าสูงที่สุดจากการประมูล

10.07.2021
  • LOADING...
การประมูล เพรชสี

ถ้าพูดถึงสินทรัพย์ที่แสดงถึงความมั่งคั่งและมั่นคง คงหนีไม่พ้นที่ดิน ทองคำ และเพชร ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สามารถสร้างรายได้แบบ Passive Income ส่วนทองคำก็เป็นสินทรัพย์ซื้อง่ายขายคล่องแต่ราคาก็ปรับตัวขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่เพชรอยู่คงทนเป็นร้อยปี ไม่ค่อยอ่อนไหวไปกับสถานการณ์เศรษฐกิจ แต่ก็ขยับราคาขึ้นลงไม่มาก ซึ่งอาจถูกใจนักลงทุนสายซิ่งสักเท่าไร แต่ข้อดีก็คือเรื่องความสวยงาม ผู้เป็นเจ้าของที่ได้สวมใส่แสดงฐานะและเป็นมรดกตกทอดไปยังลูกหลาน

 

อุตสาหกรรมอัญมณีมีผู้ครองตลาดอยู่เพียง 4 เหมือง ผลิตอัญมณีกว่า 60% ของโลกจึงมีอำนาจควบคุมอุปสงค์-อุปทานเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับเพชร ย้อนไปก่อนปี 1930 De Beers คือเจ้าตลาดเพชรมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 90% (ปัจจุบันลดลงเหลือ 35%) แต่ก็อยู่ในวงจำกัดเฉพาะผู้มีอันจะกินและชนชั้นสูง แต่เพราะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงนั้น ทำให้ De Beers ต้องการขยายตลาดใ้ห้กว้างขึ้น เป็นที่มาของการทำการตลาดเชื่อมโยงความแข็งแรงคงทนของเพชรกับรักนิรันดร์ กลายเป็นสโลแกน Dimond is Forever หรือ เพชร เลอค่า อมตะ จากนั้นแหวนเพชรจึงเป็นของจำเป็นสำหรับพิธีแต่งงานของเจ้าสาวยุคใหม่ และกลายเป็นของเลอค่าที่ใครๆ ก็เป็นเจ้าของได้ (ถ้ามีเงินมากพอ) 

 

แม้ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยจากโควิดแบบนี้ ยอดการซื้อขายเพชรก็ยังเติบโตขึ้น 5-10% ในสหรัฐอเมริกา และ 15-20% ในจีน ซึ่งเป็นตลาดใหญ่และให้ผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นสำหรับนักสะสมราวๆ 5% ต่อปี ก็ถือว่ามากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องอยู่ที่การเลือกเพชรที่ดีด้วยคุณลักษณะ 4C คือ 1. Carat Weight (กะรัต) 2. Cut (การเจียระไน) 3. Color (สี) และ 4. Clarity (ความสะอาด) และไม่จำเป็นว่าต้องเพชรสีขาวเท่านั้น เพราะเพชรนั้นมีหลายสีที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า เพชรสีแฟนซี (Fancy Color Diamond) ที่สำคัญควรมีใบรับรองจากสถาบันที่น่าเชื่อถืออย่าง GIA (Gemological Institute of America) ของสหรัฐอเมริกา หรือ HRD Diamond Certification จากแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม เพื่อเป็นการการันตี และจะให้ดีควรลงทุนในเพชรน้ำงามที่แม้จะราคาแพง แต่มั่นใจว่าขายต่อได้ มากกว่าจะซื้อเพชรราคากลางๆ แต่มูลค่าอาจจะลดลงในอนาคต อีกอย่างคือต้องมั่นใจว่าจะลงทุนในระยะกลางถึงยาว เพราะเมื่อขายเพชรที่หน้าร้านราคาอาจจะลดลง 20-30% เลยทีเดียว

 

6 สถิติเพชรสีมูลค่าสูงที่สุดจากการประมูล

The Princie Diamond ราคาประมาณ 1.27 พันล้านบาท

 

The Princie Diamond ราคาประมาณ 1.27 พันล้านบาท

 

เพชรสีชมพูน้ำหนัก 34.65 กะรัตใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก เคยถูกครอบครองโดยราชวงศ์แห่งไฮเดอราบัด ก่อนจะนำออกประมูลครั้งแรกในช่วงปี 1960 ด้วยราคาเพียง 2 ล้านบาทเศษๆ เท่านั้น โดยผู้ชนะการประมูลก็คือแบรนด์เครื่องประดับชื่อดังอย่าง Van Cleef & Arpels จากนั้นได้ออกประมูลอีกครั้งในปี 2013 ผ่านบริษัท Christie’s ด้วยราคา 39.9 ล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 1.27 พันล้านบาท ปัจจุบันเพชรเม็ดนี้เป็นของราชวงศ์กาตาร์ 

 

The Graff Pink ราคาประมาณ 1.48 พันล้านบาท 

 

The Graff Pink ราคาประมาณ 1.48 พันล้านบาท 

 

เพชรที่เคยได้รับการยกย่องจากประธานบริษัทการประมูล Sotheby’s ว่าเป็นเพชรที่น่าปรารถนาที่สุดเท่าที่เคยมีมา ด้วยน้ำหนัก 24.78 กะรัต และได้รับการการันตีจาก GIA (The Gemological Institute of America) ว่าเป็นเพชรสีชมพูล้ำค่าหายาก โดยชื่อ The Graff Pink ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้ที่ได้ครอบครองเพชรเม็ดนี้จากการประมูลเมื่อปี 2010 คือ ลอเรนซ์ กราฟฟ์ ผู้ก่อตั้ง Graff Diamonds แบรนด์เครื่องเพชรชื่อดังนั่นเอง 

 

The Blue Moon of Josephine ราคาประมาณ 1.55 พันล้านบาท 

 

The Blue Moon of Josephine ราคาประมาณ 1.55 พันล้านบาท 

 

เพชรสีน้ำเงินเม็ดนี้ถูกค้นพบในปี 2014 เคยเป็นเจ้าของสถิติเพชรสีน้ำเงินที่มีราคาสูงที่สุดมาแล้ว มีน้ำหนัก 12.03 กะรัต ได้รับการประมูลไปโดยนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น โจเซฟ เลา ซึ่งเขาตั้งชื่อเพชรเม็ดนี้ตามชื่อของลูกสาวคือโจเซฟิน ในการประมูลครั้งนี้เขายังประมูลเพชรสีชมพูในชื่อ Sweet Josephine และเพชรสีน้ำเงินอีกเม็ดในชื่อ Star of Josephine อีกด้วย คุณพ่อตัวอย่างจริงๆ! 

 

The Pink Legacy ราคาประมาณ 1.6 พันล้านบาท 

 

The Pink Legacy ราคาประมาณ 1.6 พันล้านบาท 

 

เพชรสีชมพูเม็ดนี้ถูกค้นพบตั้งแต่ปี 1918 โดยมีค่าความอิ่มตัวของสีที่พบได้หนึ่งในล้านเท่านั้น เคยเป็นของตระกูลออปเพนไฮเมอร์ เจ้าของธุรกิจเหมืองเพชร De Beers ก่อนจะได้รับการประมูลไปในปี 2018 ให้กับ Harry Winston แบรนด์เครื่องประดับและนาฬิกาสุดลักชัวรี ต่อมาได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้ก่อตั้งแบรนด์คือ แฮร์รี วินสตัน ในชื่อ The Winston Pink Legacy

 

The Oppenheimer Blue ราคาประมาณ 1.84 พันล้านบาท  

 

The Oppenheimer Blue ราคาประมาณ 1.84 พันล้านบาท  

 

เพชรสีน้ำเงินที่ทำลายสถิติ The Blue Moon of Josephine โดยได้รับการประมูลไปในปี 2016 ด้วยราคา 57.6 ล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 1.84 พันล้านบาท ด้วยน้ำหนัก 14.62 กะรัต นับเป็นเพชรสีน้ำเงินที่ใหญ่ที่สุดที่นำออกมาประมูล

 

The Pink Star ราคาประมาณ 2.27 พันล้านบาท

 

The Pink Star ราคาประมาณ 2.27 พันล้านบาท

 

เพชรสีชมพูที่ได้ชื่อว่าหายากที่สุดในโลก ถูกค้นพบในปี 1999 ในเหมืองเพชรของ De Beers และใช้เวลาเจียระไนกว่า 20 เดือน จากนั้นถูกนำไปจัดแสดงที่ Natural History Museum ในลอนดอนเมื่อปี 2005 เคยนำออกประมูลครั้งแรกในปี 2013 ในราคา 83 ล้านดอลลาร์ แต่ผู้ชนะการประมูลไม่สามารถหาเงินมาจ่ายได้ จึงนำออกประมูลอีกครั้งในปี 2017 ที่ฮ่องกง ผู้ที่ชนะประมูลคืออาณาจักธุรกิจ Chow Tai Fook และตั้งชื่อว่า CTF Pink Star เพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้ก่อตั้งบริษัท 

 

ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X