วันนี้ (23 กุมภาพันธ์) รศ.ดร.มุนินทร์ พงศาปาน อาจารย์ประจำและคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แสดงความคิดเห็นต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษาที่แตกต่างกันในมูลคดีที่คล้ายกันว่า
ถึงแม้ว่าผู้พิพากษาจะมีความเป็นอิสระในการตัดสินชี้ขาดข้อพิพาททั้งหลาย แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องต้องกันของการใช้ดุลยพินิจ (Consistency in Judicial Opinions) นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้บริหารศาลต้องกำหนดแนวปฏิบัติและข้อแนะนำในการใช้ดุลพินิจของผู้พิพากษา และนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมนักกฎหมายพูดกันถึงเรื่อง ‘คำพิพากษาบรรทัดฐาน’
รศ.ดร.มุนินทร์ระบุอีกว่า การที่ผู้ต้องหารายเดียวกันถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดหลายกรรมหลายวาระ แม้อยู่ภายใต้เขตอำนาจศาลที่แตกต่างกันไป แต่สภาพและความร้ายแรงของการกระทำความผิดมีลักษณะคล้ายคลึงกันและเป็นข้อหาเดียวกัน การที่ผู้พิพากษาของแต่ละศาลใช้ดุลยพินิจที่ไม่สอดคล้องต้องกัน ทำให้ประชาชนสามารถเปรียบเทียบและตัดสินได้อย่างชัดเจนว่าการใช้ดุลยพินิจแบบไหนที่เป็นธรรมและมีเหตุผล
“สถานการณ์เช่นนี้มีแต่จะทำลายความน่าเชื่อถือของศาลยุติธรรมในภาพรวม และทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมไทยของที่ตกต่ำอยู่แล้วยิ่งตกต่ำมากยิ่งขึ้นไปอีก” รศ.ดร.มุนินทร์กล่าวในท้ายที่สุด
อ้างอิง: