×

ทักษะการออกแบบชีวิตที่ AI ก็คิดและทำแทนไม่ได้ เบสิกสกิลที่คนเจนใหม่จำเป็นต้องมี…ถ้าอยากอยู่รอด! [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
11.11.2019
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 Mins. Read
  • การออกแบบกำลังถูกพูดถึงในบริบทใหม่ที่ไม่จำกัดแค่การสร้างสิ่งใหม่หรือทักษะอาชีพเฉพาะกลุ่ม แต่จะเป็นทักษะ ‘การออกแบบความคิดและชีวิต’ ที่จำเป็นต้องมี
  • โครงการการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี หรือ DBTM (Design, Business & Technology Management) แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลักสูตรแรกของไทยที่สนใจว่า ‘คุณจะคิดอะไร’ เพราะความคิดที่ดีคือเมล็ดพันธุ์ที่จะนำไปสู่นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนสังคม และเปลี่ยนอนาคตอย่างแท้จริง 

เมื่อโลกถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และทุกคนต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้อยู่รอดในโลกยุคใหม่เกิดขึ้นมากมาย หนึ่งในทักษะที่เคยถูกมองเป็นเพียงส่วนประกอบในวิชาชีพ ‘นักออกแบบ’ เมื่อถูกนำมาใช้ในบริบทใหม่ นิยามของคำว่า ‘ดีไซน์’ ก็กลายเป็นทักษะที่ใครไม่มี…อาจไม่รอด

 

ถ้าอีกหน่อยใครๆ ก็ออกแบบชีวิตตัวเองได้ชัด จัดระบบความคิดตัวเองได้ดี ส่งผลให้เกิดระเบียบในการทำงาน ไปจนถึงออกแบบการเงินหลังเกษียณ นี่เป็นแก่นแท้ของโครงการหลักสูตรการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี หรือ DBTM (Design, Business & Technology Management) แห่งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ต้องการถ่ายทอดทักษะการคิดวิเคราะห์ผ่านการ ‘ออกแบบ’ ความคิด ต่อยอดไปสู่การออกแบบทุกอย่างในชีวิต ที่ใช้มากกว่าความคิดสร้างสรรค์ แต่ต้องนำมาจัดระเบียบ เข้าระบบ และสร้างออกมาให้ใช้งานได้จริง ถึงจะเรียกว่า ‘นวัตกรรมเปลี่ยนชีวิต’

  

THE STANDARD มีโอกาสพูดคุยกับ ผศ.อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง และอาจารย์ ดร.จิฐิพร วงศ์วัชรไพบูลย์ ผอ. โครงการการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี ถึงทักษะที่ AI ก็ไม่สามารถคิดและทำแทนได้ ซึ่งเป็นทักษะที่มีอยู่ในหลักสูตร DBTM และใครที่จะนำทักษะเหล่านี้ไปต่อยอดได้ เชิญคุณออกแบบพื้นที่ส่วนตัวให้นั่งสบาย แล้วผ่อนคลายไปกับบทสนทนานี้ด้วยกัน 

 

Design ในบริบทใหม่ที่ต้องเริ่มต้นกันที่ Mindset 

 

ผศ.อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง และ อาจารย์ ดร.จิฐิพร วงศ์วัชรไพบูลย์ ผอ. โครงการการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี

 

ผศ.อาสาฬห์ สุวรรณฤทธิ์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง อธิบายนิยามการออกแบบในบริบทใหม่ว่า เป็นเรื่องของ Mindset ไม่ใช่การออกแบบในนิยามของวิชาชีพสถาปนิก ดีไซเนอร์ หรือคนทำงานศิลปะเท่านั้น 

 

“ต่างประเทศคำว่า Design Thinking คือ การนำดีไซน์ไปบวกกับวิธีคิด จริงๆ มันคือวิธีการคิดของมนุษย์คล้ายๆ กับเรื่อง Creative Thinking หรือ Critical Thinking ดังนั้น บทบาทของการออกแบบจึงเปลี่ยนไป ตอนนี้กลายเป็นว่าทุกคนในโลกควรจะมีทักษะที่เหมือนนักออกแบบ ผมใช้คำว่า การคิดเชิงออกแบบ คิดคล้ายๆ นักออกแบบ แต่คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักออกแบบ คุณจะเป็นนักธุรกิจ ผู้บริหาร หรือเป็นใครก็ได้ เพียงแต่ใช้การออกแบบไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ในไทยก็มาเยอะ ตอนนี้องค์กรชั้นนำก็ใช้ หรือรัฐธรรมนูญยังใช้คำว่า ออกแบบรัฐธรรมนูญ ความรู้สึกคนต่อคำว่าออกแบบมันเริ่มมีความสำคัญในการสร้างสรรค์ทางออกใหม่ๆ และต่อชีวิตประจำวันมากขึ้น”  

 

 

เมื่อการแข่งขันสูง คิดต่างอย่างเดียวไม่พอ คิดอย่างสร้างสรรค์อย่างเดียวก็ไม่ได้ แต่ต้องนำมารวมกันโดยใช้ Design Thinking เป็นเครื่องมือ ผศ.อาสาฬห์ ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการมี Design Thinking ที่จะนำไปสู่การวางแผนสร้างนวัตกรรมว่า “นิยามของนวัตกรรมคือ ต้องใช้งานได้ ต้องขายได้ ต้องดึงดูด หรือต้องมองเรื่องของเทคโนโลยีเข้าไปช่วย ดังนั้น นิยามของนวัตกรรมมันคือ การรวบรวมเรื่องของ Functional, Emotional, Business และ Technology เข้าด้วยกัน” 

 

DBTM

 

อาจารย์ ดร.จิฐิพร วงศ์วัชรไพบูลย์ ผอ. โครงการการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี อธิบายเพิ่มเติมว่า “กระบวนการออกแบบที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ คิดให้แตกต่าง แต่สิ่งที่มากไปกว่ากระบวนการคิดคือ ต้องปรับมาเป็น Design Leadership ซึ่งเป็นกระบวนการในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในอนาคต ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ เป็นการแก้ปัญหาโดยแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ทุกอย่างสามารถแก้ได้ด้วย Design Leadership”

 

Design Leadership กับการออกแบบสร้างสรรค์ เส้นบางๆ แต่สร้างความแตกต่างได้อย่างชัดเจน 

 

DBTM

อาจารย์ ดร.จิฐิพร วงศ์วัชรไพบูลย์ ผอ. โครงการการจัดการออกแบบ ธุรกิจ และเทคโนโลยี

 

ดร.จิฐิพร บอกว่า “Design Leadership มีหลายระดับ ในระดับบุคคลทั่วไป Design Leadership คือการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบเป็นตัวนำทุกสิ่งในชีวิต เราสามารถออกแบบชีวิตตัวเองได้ เราสามารถออกแบบกระบวนการทุกอย่างในชีวิตเราได้ ทำให้เกิดระบบระเบียบในการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้งานได้จริง และแก้ปัญหาสังคมได้ตรงจุด 

 

“แต่ในระดับองค์กร Design Leadership จะหมายถึง การสร้างอะไรใหม่ๆ จากการที่ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมมือกัน แสดงจุดเด่นของภาวะผู้นำทางด้านดีไซน์ออกมา มีความจูงใจคนได้ว่า การออกแบบนำไปแก้ปัญหาสังคมได้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพในยุคนี้” 

 

ผศ.อาสาฬห์ เสริมว่า “มองอีกมุมมันคือการสอนกระบวนการ ดีไซน์มันคือกระบวนการที่สร้างสิ่งใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ Functional หรือ Emotional แต่ Design Leadership คือภาวะของคนหรือองค์กรที่สามารถนำเรื่องการออกแบบไปขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สร้างความแตกต่าง ถ้าเรามองในระดับบุคคล คนที่มีทักษะเรื่องนี้สูงคือ สตีฟ จ็อบส์ เขามีทักษะเรื่องการออกแบบอยู่แล้ว ในพาร์ตของ Design Leadership เขาสามารถนำแนวคิดนี้ไปขับเคลื่อนองค์กรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ หมายความว่า ทักษะ Design Leadership จะขับเคลื่อนคนในองค์กรหรือทีม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ให้เกิดกระบวนการคิดแบบใหม่ๆ การออกแบบในยุคสมัยนี้จึงครอบคลุมไปสู่การออกแบบบริหารจัดการองค์กร ทักษะนี้จะทำให้เกิดความเป็นผู้นำ เพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหาในองค์กร

 

“แต่ถ้าพูดถึง Creative Design หรือการออกแบบสร้างสรรค์ เราจะพูดถึงการสร้างสรรค์สิ่งหนึ่งสิ่งใด ไปจนถึงรูปแบบปัญหาหรือการจัดการ ไปเน้นที่กระบวนการการสร้างสรรค์ แต่ถ้าพูดถึง Design Leadership มันคือการไปกระตุ้นหรือขับเคลื่อนให้ทั้งองค์กรมี Mindset นี้รวมกันอย่างไร จึงเป็นการมองในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงสังคมมากขึ้น นั่นคือสิ่งที่ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นว่าทำไมเราถึงสร้าง DBTM ขึ้นมา เพราะเราเชื่อว่า การแข่งขันมันจะขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และดีไซน์ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตอบโจทย์”

  

DBTM

 

DBTM มีหลักสูตรรายวิชาที่ลงลึกไปถึงกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์และมีระบบ 

ทำความเข้าใจอีกครั้งก่อนอ่านบรรทัดต่อไป แม้ว่า DBTM จะอยู่ภายใต้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่หลักสูตรนี้ไม่ได้สอนสร้างตึก ร่างแบบใดๆ ทั้งสิ้น แต่จะสอนกันตั้งแต่กระบวนออกแบบความคิดอย่างเป็นระบบ 

 

“หลักสูตร DBTM เมื่อ 6 ปีที่แล้ว เป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทย ณ ตอนนี้ยังถือเป็นที่แรกในเอเชียที่เป็นลักษณะปริญญาตรีควบปริญญาโท คือปริญญาตรี 3.5 ปี และปริญญาโท 1.5 ปี” ผศ.อาสาฬห์ กล่าว

 

“ช่วงแรกที่เราเริ่มนำหลักสูตรนี้มาใช้ ต้องปรับเปลี่ยน Mindset กันค่อนข้างเยอะ ผู้ปกครองจะตั้งคำถามว่า DBTM คืออะไร แต่ปัจจุบันคนจะเริ่มเข้าใจมากขึ้น อาจเป็นเพราะเมื่อก่อนเรามองบทบาททางการศึกษาคือการให้ข้อมูล แต่ในโลกของอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กในยุคนี้คือ การให้ทักษะและแนวคิด ให้เขาคิดเป็น ดังนั้น ทักษะที่สำคัญสำหรับคนในอนาคตคือ เรื่องของการคิด เป็นการคิดแบบมีดีไซน์ ซึ่งทดแทนด้วย AI ไม่ได้”

  

ยิ่ง ดร.จิฐิพร แจกแจงไปถึงรายวิชาที่อยู่ในหลักสูตร DBTM ยิ่งทำให้เรามองเห็นอาชีพมากมาย และทางรอดของคนรุ่นใหม่ที่จะอยู่ในโลกอนาคตชัดขึ้น 

 

“เพราะ DBTM มองว่า Design คือ Mindset คือวิธีคิด ดังนั้น ปี 1-2 เราจะให้เด็กเรียนรู้ผ่าน Project Base Learning ให้เขาได้ลงพื้นที่จริง ได้อยู่กับปัญหาจริง

 

“นักศึกษาจะได้เรียน Inclusive Design Innovation และ Eco Design Innovation ซึ่ง Inclusive Design Innovation เป็นวิชาที่ต้องหัดคิดนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ทุกคน แต่ละปีจะมีโจทย์ต่างกัน เช่น ปีนี้เราให้โจทย์ไปว่า ถ้าคุณต้องใช้ชีวิตแบบผู้พิการ คุณจะหาเครื่องมือหรือคิดนวัตกรรมอะไรที่จะทำให้ผู้พิการใช้ชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันได้ จะเป็นการฝึกให้คิดถึงคนวงกว้าง

 

“ปีถัดมาเราทำเป็น Eco-Design Innovation ให้ลงไปถึงคนในชุมชนหรือปัญหาที่เกิดในชุมชนนั้นจริงๆ ว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่คนในชุมชนคิดว่าเป็นปัญหาและสามารถแก้ไขได้ จุดเด่นของ Eco-Design Innovation คือการมองมิติของสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย เพราะ Inclusive Design Innovation จะมองแค่ความต้องการของแต่ละคน แต่ Eco-Design Innovation จะมองคนและมองบริบทไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาพแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมในเมือง

 

“ปีที่แล้ว เราให้พวกเขาลงพื้นที่ชุมชนอนุสาวรีย์ ปัญหาที่โดดเด่นในตอนนั้นคือ PM2.5 แต่พอลงชุมชน เขาค้นพบว่า คนในชุมชนไม่คิดว่า PM2.5 เป็นปัญหาสำหรับพวกเขา จึงต้องคิดวิธีแก้ที่ต่างจากคนทั่วไป แทนที่จะหาโซลูชันแก้ปัญหาเรื่องฝุ่น ก็กลายเป็นว่า เขาต้องไปสร้างนวัตกรรมอะไรบางอย่าง เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับคนในชุมชนก่อน เพื่อให้คนรู้ว่า PM2.5 อันตราย

  

“รายวิชาต่อมาคือ Service Design Innovation นวัตกรรมการออกแบบเพื่อการบริการ เป็นตัวที่ซับซ้อนที่สุด เพราะมันจับต้องยาก พูดถึงระบบในการทำอะไรบางอย่าง ตัวอย่างที่เข้าใจง่ายที่สุดคือ ทำไมเราเลือกไปร้านกาแฟร้านหนึ่ง ไม่ไปอีกร้านหนึ่ง เพราะว่าคนไม่ได้ใส่ใจในทุกดีเทล แต่คนจดจำประสบการณ์ บรรยากาศวันที่ไปเป็นอย่างไร เราได้รับบริการอย่างไร เพราะฉะนั้น Service Design Innovation จึงพูดเรื่องการดีไซน์ประสบการณ์ให้กับทุกรูปแบบการบริการ โจทย์จะมีตั้งแต่โรงพยาบาล ร้านอาหาร ร้านกาแฟ บริษัทขนาดใหญ่ ไปจนถึงออฟฟิศการทำงาน มีระบบการทำงานอย่างไร”

  

นอกจากรายวิชาที่พาผู้เรียนรู้ลึก รู้จริงแล้ว DBTM ยังพร้อมด้วยเครื่องมือและนวัตกรรมที่เสริมให้การเรียนสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งฟอร์มต่างๆ ในการใช้ เพื่อให้คนในพื้นที่ตอบแบบสอบถาม เครื่องมือวิเคราะห์ต่างๆ ห้อง DMS หรือ Digital Media Space เครื่องมือในการสร้าง Prototype หรือการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ โดยปรับตึกคณะให้กลายเป็น Smart Environment 

 

DBTM

 

DBTMer ตัวจริงต้องคิดเก่ง แก้ปัญหาเก่ง ลงมือทำเก่ง 

DBTMer (ดีบีทีเอ็มเมอร์) คือคำที่ใช้เรียกเด็กที่เรียนหลักสูตร DBTM ดร.จิฐิพร กล่าวว่า เหล่า DBTMer จะเป็นเด็กที่เก่งกล้าเรื่องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่สุด เพราะนอกจากการเรียนผ่าน Project Base พวกเขาจะถูกส่งเข้าไปยังธุรกิจและองค์กรที่ตัวเองต้องการ 

 

“เราเน้นให้มีการฝึกงาน เพื่อให้เขาได้รับประสบการณ์จากที่ทำงานจริง ได้สัมผัสกับปัญหาจริง เรียนรู้วิธีแก้ปัญหากับ Business Partner จริง”

  

ผศ.อาสาฬห์ บอกว่า DBTM จะไม่ชี้นำว่าเด็กควรเดินไปทางไหน แต่จะให้เขาไกด์ว่าตัวเองอยากเป็นอะไร แล้วค่อยไปดีลกับองค์กรที่พวกเขาต้องการ 

 

“เราก็จะดูเทรนด์ว่าเด็กสนใจอะไร ปีแรกๆ เด็กสนใจสตาร์ทอัพเยอะหน่อย ตอนนี้ก็จะเป็นเทรนด์ของบริษัทขนาดใหญ่ เราก็ไปขอความร่วมมือ ทุกปีเราจะจัดงานที่เรียกว่า DBTM Talk เราก็จะสำรวจว่าเขาสนใจอะไร และก็จะเชิญธุรกิจเหล่านั้นมาแลกเปลี่ยนมุมมองในการทำงาน มีทั้งอสังหาฯ ธนาคาร สายการบิน ฯลฯ เมื่อเด็กได้เห็น เขาจะมีไอเดียได้กว้างขึ้น”

  

เมื่อพวกเขาได้ไอเดียแล้วจะต่อยอดอย่างไร นี่โจทย์ที่ ผศ.อาสาฬห์ บอกว่าท้าทายใช่เล่น 

 

“เด็กยุคนี้เรียนรู้เร็ว รับรู้ว่ามีปัญหาและหาทางแก้ได้อย่างรวดเร็วและตรงจุด มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการเก็บข้อมูล แต่สิ่งที่ต้องมีเพิ่มเติมอาจเป็นเรื่องของทักษะในการวิเคราะห์

  

“เรามีแบบฝึกหัดที่ชื่อ Deconstructive Creativity” ดร.จิฐิพร บอก 

 

“เราจะให้เด็กทำโปรดักต์ขึ้นมา 1 ชิ้น แล้วทุบทิ้ง แล้วให้ทำใหม่ให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้ได้ความรู้สึกว่า สิ่งที่เราคิดครั้งแรกอาจจะไม่ดีที่สุดเสมอไป แต่ก็ต้องไกด์เขานิดหนึ่ง บางคนก็ไม่เข้าใจว่าได้อะไรจากแบบฝึกหัดนี้ เพราะมันเป็น Comfort Zone ของคน หรือมีไอเดียอะไรบางอย่าง แล้วก็กอดแน่นไว้ว่านี่คือของฉัน ทั้งที่จริงๆ อาจจะไม่ดีก็ได้ หรือมีอะไรที่สามารถคิดได้ดีขึ้น”

 

ผศ.อาสาฬห์ กล่าวเสริมถึงแง่มุมในฐานะนักออกแบบรุ่นก่อนหน้านี้ และทักษะที่นักออกแบบในอนาคตควรมี 

 

“ผมว่านักออกแบบรุ่นก่อน เราถูกสอนมาในลักษณะการออกแบบที่เน้นผลลัพธ์ เราต้องทำให้ได้ผลลัพธ์ แต่เราไม่ได้มองมิติที่กว้าง เราไม่ได้มองว่าสิ่งที่เราทำมันมีผลกระทบอย่างไร เช่น ขายได้หรือเปล่า หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมหรือเปล่า ถ้ามองโมเดลการศึกษาทางด้านการออกแบบแบบเดิมเหมือนตัว T แบบหงาย เรียนลึก แล้วค่อยไปศึกษาเรื่องอื่นที่กว้างขึ้น แต่ DBTM เราพลิกกลับ เราเรียนกว้างๆ ก่อน เรียนทุกเรื่องเลยแล้วค่อยๆ แคบลงไป ปริญญาโทจะเป็นเรื่องของ Management

 

“Design Management เราพูดถึงเรื่องการคิดที่ซับซ้อนขึ้น ต้องย้อนกลับไปดูว่าเรากำลังดีไซน์อะไร ถ้าเราดีไซน์ Object ก็ต้องไปทำความเข้าใจกับลูกค้า เข้าใจกับ User หรือถ้าต้องไปออกแบบเซอร์วิสก็เป็นอีกแบบหนึ่ง เขาจะต้องไปจัดการการออกแบบในแต่ละประเภท 

 

“อาจมองเป็น 3 ขั้นตอน คือ Design Process รู้ว่าจะดีไซน์ของใหม่ชิ้นหนึ่งมีกระบวนการอย่างไร สเตปสองคือ มอง Design Management ว่าถ้าเราเข้าใจกระบวนการออกแบบแล้วเราจะจัดการมันอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อย ใช้คนน้อย ใช้เวลาน้อย เลเวลสุดท้ายคือ Design Leadership เราจะสร้างการเปลี่ยนด้วยการออกแบบได้อย่างไร สิ่งที่ DBTM ทำตอนนี้ จึงอยากจะผลักดันผู้เรียนไปให้สู่การเป็น Design Leadership”

  

จนถึงบรรทัดนี้ยังไม่มีการพูดถึงวิชาการหนักๆ ที่ต้องจดเลกเชอร์ออกมาสักคำ ได้ยินก็แค่การพูดถึง ‘การออกแบบวิธีคิด’ ที่ทั้งสองท่านเชื่อว่า มันจะกลายเป็น Human Capability ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

 

จะว่าไป แทบทุกคนจำเป็นต้องมีทักษะการออกแบบความคิดที่สร้างสรรค์และเป็นระบบเช่นที่กล่าวมาทั้งหมด แต่เด็กแบบไหนกันที่เหมาะจะเรียนหลักสูตรนี้

 

“เรามองหาคาแรกเตอร์พิเศษของเด็กที่จะเข้ามาเรียนกับเรา ทุกปีเราจะมีการสัมภาษณ์ที่เรียกว่า 3C เด็กคนนั้นต้องมี Creativity, Collaboration และ Communication นี่เป็น 3 ทักษะสำคัญในการมาเรียนรู้อะไรใหม่ๆ กับพวกเรา ถ้าถามว่าเหมาะกับใครเหรอ? กลุ่มแรกก็น่าจะเป็นคนที่รู้ว่าอยากจะเป็นผู้ประกอบการ หรือมีธุรกิจสร้างสรรค์ของตัวเอง อยากทำงานเป็นผู้จัดการการออกแบบและนวัตกรรมในองค์กร และอีกกลุ่มคือ เด็กที่มีความสนใจหลากหลาย แต่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองอยากเป็นอะไร DBTM จะเปิดโอกาสให้เขาได้ค้นหาสิ่งต่างๆ มากมาย ไม่แน่อาจจะเกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมาก็ได้”  

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X