×

มาร่วมใช้พลังของสื่อในการขับเคลื่อนสังคมไทยให้มีคุณภาพ ผ่านการขอรับทุนสนับสนุนประจำปี 2566 จากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
20.10.2022
  • LOADING...
ไทยรัฐ

HIGHLIGHTS

5 Mins. Read
  • กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและการเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
  • ที่ผ่านมากองทุนฯ ได้ดำเนินการภารกิจผ่าน 2 ลักษณะคือ การดำเนินการผ่านกองทุนฯ เอง ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่กำลังเข้าสู่ยุทธศาสตร์ 5 ปี ระยะที่ 2 และการดำเนินการผ่านการให้ทุน ซึ่งจะมีงบประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี 
  • ตอนนี้กองทุนฯ ได้เปิดรับข้อเสนอโครงการประจำปี 2566 โดยแบ่งการให้ทุนออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ทุนประเภทเปิดรับทั่วไป (Open Grant), ทุนประเภทเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Grant) และทุนประเภทความร่วมมือ (Collaborative Grant) โดยจะเปิดรับจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2565 ภายในเวลา 16.30 น.

“เราอยากให้มีสื่อดีๆ โดยเฉพาะสื่อสำหรับเด็ก ซึ่งการจะมีได้นั้นต้องมีการลงทุนลงแรง ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาตินั้นเป็นเรื่องที่ยาก เพราะว่าใครที่ทำสื่อเกี่ยวกับเด็กมักอยู่ไม่ได้ มีผลประกอบการที่ขาดทุนหรือทำไปสักพักต้องปิดตัวเอง อันมาจากต้นทุนที่สูง จึงไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน” ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้กล่าวถึงที่มาของกองทุนฯ ที่ได้ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2558

 

ไทยรัฐ

สร้างระบบนิเวศสื่อที่ดีของไทย

ปัจจุบันสื่อต่างๆ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนมากขึ้น ทว่าสื่อที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนมีจำนวนน้อย การผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์มีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งไม่เป็นที่นิยมของผู้ผลิตและสนับสนุนการผลิตสื่อ ทำให้ขาดเงินทุนในการผลิตและการเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการผลิต การพัฒนา และการเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

นอกจากมีภารกิจที่ส่งเสริมสื่อสำหรับเด็กแล้ว ดร.ธนกรกล่าวต่อว่า กองทุนฯ ยังมีภารกิจอื่นๆ ที่ต้องทำด้วย ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ส่งเสริมสนับสนุนให้มีสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์, ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรที่จะมาผลิตสื่อ, ส่งเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน คนในครอบครัว ทำอย่างไรให้มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อได้ถูกต้องเหมาะสม และมีองค์ความรู้ในการรับมือกับข้อมูลเท็จต่างๆ, ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา วิจัย ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ รวมไปถึงเปิดโอกาสและสร้างความร่วมมือกับประชาชน สนับสนุนภาคีเครือข่ายในการร่วมกันสร้างและขับเคลื่อนให้มีสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

ไทยรัฐ

 

“เราคาดหวังว่ากองทุนฯ จะสามารถสร้างระบบนิเวศสื่อที่ดีของไทย โดยทำให้ประชาชนมีทักษะ องค์ความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะในการรับสื่อได้ มากไปกว่านั้นต้องการให้มีสื่อดีๆ จำนวนมากขึ้น จากทั้งผู้ผลิตหน้าใหม่หรือมืออาชีพ ให้หันมาผลิตสื่อที่สร้างสรรค์” ดร.ธนกรกล่าวพร้อมกับย้ำว่า “เราไม่คาดหวังให้มีสื่อดีๆ เกิดขึ้นได้เลยถ้าเราไม่ลงมือทำ ดังนั้นกองทุนฯ จึงต้องเข้ามาส่งเสริมตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ”

 

ที่ผ่านมากองทุนฯ ได้ดำเนินการภารกิจผ่าน 2 ลักษณะคือ การดำเนินการผ่านกองทุนฯ เอง ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่กำลังเข้าสู่ยุทธศาสตร์ 5 ปี ระยะที่ 2 และการดำเนินการผ่านการให้ทุน ซึ่งจะมีงบประมาณ 300 ล้านบาทต่อปี 

 

“การให้ทุนนั้นเราหวังว่าจะดึงดูดคนที่มีความคิด ความเชื่อ อุดมการณ์ จินตนาการ พลัง แรงบันดาลใจ ที่อยากจะสร้างสรรค์สื่อดีๆ แต่ไม่มีทุน ได้มีโอกาสได้เข้ามาทำงานร่วมกับกองทุนฯ นอกจากนี้กองทุนฯ ยังหวังที่จะเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย”

 

การให้ทุนนั้นดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 หากรวมถึงปี 2566 เป็นเวลา 7 ปีติดต่อกันแล้ว โดยแต่ละปีมีผู้ยื่นขอรับทุนประมาณ 1,000 ราย ซึ่งจะมีผู้ที่ผ่านการคัดเลือกราว 10% หรือ 100 รายที่จะได้รับทุนไป

 

ไทยรัฐ

เปิดรับการเสนอประจำปี 2566 

ตอนนี้กองทุนฯ ได้เปิดรับข้อเสนอโครงการประจำปี 2566 โดยแบ่งการให้ทุนออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

 

1. การให้ทุนประเภทเปิดรับทั่วไป (Open Grant) ที่ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้รับสื่อเฉพาะ 4 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มเด็กและเยาวชน
  • กลุ่มผู้สูงอายุ
  • กลุ่มคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
  • กลุ่มประชาชนทั่วไป

 

2. การให้ทุนประเภทเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Grant) ที่มีขอบเขตการสนับสนุนในหัวข้อ ดังนี้

  • ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) กับมิติทางสังคม
  • พหุวัฒนธรรมและความหลากหลายทางสังคม
  • ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ และการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์
  • การสร้างมูลค่าจากประเด็นเชิงวัฒนธรรม (Soft Power) เช่น วิถีชีวิต ชุมชน ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกร็ดประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยว และอาหาร
  • การเสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว และการลดช่องว่างระหว่างวัย
  • การรับมือกับข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ประทุษวาจา (Hate Speech) และการระรานในโลกออนไลน์ (Cyberbullying)
  • การพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

3. การให้ทุนประเภทความร่วมมือ (Collaborative Grant) ซึ่งมีหัวข้อที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ หรือการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

“ผมเชื่อในพลังของสื่อ ซึ่งสื่อนั้นขับเคลื่อนสังคมโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นการทำให้มีสื่อที่มีคุณภาพออกมามากๆ จะเป็นสิ่งหนึ่งที่เข้ามาช่วยส่งเสริมคุณภาพของสังคมไทย”

 

ไทยรัฐ

กระตุ้น Soft Power หยิบเรื่องราวของไทยมาเล่าให้ก้องโลก 

หากมองเข้าไปในประเด็นที่กองทุนฯ กำลังเปิดรับ หนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจคือ การส่งเสริม Soft Power ซึ่งเป็นเรื่องที่คนไทยกำลังให้ความสำคัญมากๆ 

 

ผลสำรวจของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) พบว่า คนไทยอยากใช้กลยุทธ์ Soft Power เพื่อเข้ามาส่งเสริมในการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ภาพลักษณ์ เพื่อสร้างพลังของประเทศ 

 

โดย 73.2% บอกว่าควรนำเสนออาหารและเครื่องดื่ม รองลงมา 59.1% คือการบริการที่ยิ้มแย้มแจ่มใส และ 56.8% คือการเผยแพร่ศิลปะและวรรณกรรม 

 

ขณะที่รัฐบาลนั้นก็กำลังส่งเสริมเรื่องนี้อย่างจริงจัง เนื่องจาก Soft Power ได้เข้ามาส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จนสามารถเกิดผลเป็นรูปธรรม อันได้แก่ การสร้างรายได้จากสินค้าและบริการทางวัฒนธรรม อาทิ สินค้าวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์กว่า 1.45 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.9 ของ GDP 

 

การส่งออกอาหารไทยกว่า 1.1 ล้านล้านบาท คิดเป็นอันดับ 13 ของโลก, ผ้าไทยกว่า 8.5 พันล้านบาท, ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) และผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (CCPOT) ประมาณ 700 ล้านบาท, อุตสาหกรรมคอนเทนต์ของไทย สร้างรายได้ราว 2 แสนล้านบาทต่อปี เป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย ในปี 2564 จำนวน 5 พันล้านบาท 

 

นอกจากนี้ U.S. News จัดให้ไทยเป็นประเทศที่ร่ำรวยด้านมรดกวัฒนธรรมเป็นลำดับที่ 7 ของโลก รวมไปถึงการที่ไทยเป็นประเทศที่มีอิทธิพลทางวัฒนธรรมเป็นลำดับที่ 5 ของโลก

 

ไทยรัฐ

 

ดร.ธนกรกล่าวต่อว่า ไทยมีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่เยอะมาก ทั้งความคิด ความเชื่อ เรื่องเล่า ซึ่งสิ่งที่กองทุนฯ อยากเห็นคือ การหยิบมาปรุงแต่งให้กลมกล่อม ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะเข้ามาผลักดันให้ Soft Power เป็นที่ก้องโลก

 

“กองทุนฯ ถือเป็นโอกาสสำหรับทุกคนที่จะได้แสดงความสามารถ นำเสนอสิ่งดีๆ ที่คาดหวัง และโอกาสที่จะได้สร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีคุณภาพ ตลอดจนสร้างสิ่งที่เป็นทั้งคุณค่าและมูลค่าให้กับสังคมไทย” ดร.ธนกรกล่าวย้ำ

 

ไทยรัฐ

 

สำหรับการเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2666 สามารยื่นได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ตุลาคม 2665 ภายในเวลา 16.30 น.

 

ติดตามรายละเอียดได้ที่ https://www.thaimediafund.or.th/download/tmf2023mgrants/ และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางโทรศัพท์หมายเลข 0 2273 0226-9 ในวันและเวลาราชการ

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X