ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทย (Headline CPI) เดือนสิงหาคม 2567 ชะลอตัวเหลือ 0.35%YoY และนับว่าเป็นระดับต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์และตลาดประเมินไว้ที่ราว 0.4%
จากการรวบรวมข้อมูลอัตราเงินเฟ้อของภูมิภาคอาเซียน+3 (10 ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยอยู่ในระดับแทบต่ำที่สุด
ไทยอยู่ในกลุ่มอัตราเงินเฟ้อต่ำที่สุดในกลุ่ม EM เหตุอุปสงค์อ่อนแอ
ในรายงานเศรษฐกิจไทยรายเดือน (Thailand Monthly Economic Monitor) ของธนาคารโลก (World Bank) ที่เปิดเผยเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อไทยแม้จะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีเงินเฟ้อต่ำที่สุดในตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่อ่อนแอและมาตรการควบคุมราคาของรัฐบาล
เงินเฟ้อพื้นฐานไทยยังไม่กลับไปสู่ระดับก่อนโควิด
รายงานของธนาคารโลก (World Bank) ระบุอีกว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ของไทย ซึ่งไม่รวมพลังงานและอาหาร ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดโรคระบาดที่ 0.7% (ตั้งแต่ปี 2559-2562) นับเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างผลผลิต (Output Gap) ว่าไทยยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่
ทั้งนี้ เงินเฟ้อพื้นฐานไทยล่าสุด (เงินเฟ้อทั่วไปเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก) สูงขึ้น 0.62%YoY เร่งตัวขึ้นเล็กน้อยจากเดือนกรกฎาคม 2567 ที่สูงขึ้น 0.52 %YoY
อ้างอิง: