×

สตาร์ทอัพไทยหลายรายเล็งเสนอขายหุ้น IPO จากแรงสนับสนุนของนักลงทุนที่เพิ่มขึ้น

30.06.2024
  • LOADING...
สตาร์ทอัพไทย

อัตราการตั้งเป้าที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ สตาร์ทอัพไทย เพิ่มสูงขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เงินลงทุนโดยบริษัทร่วมลงทุน (Venture Capital) รวมทั้งบริษัทใหญ่ทั้งไทยและต่างประเทศเริ่มนำเงินในจำนวนที่มากขึ้นเข้ามาพัฒนาระบบนิเวศธุรกิจสตาร์ทอัพไทย

 

Nikkei Asia เผยว่า หนึ่งในบริษัทที่ต่อคิวเข้าแถวรอจดทะเบียนเสนอขายหุ้น IPO คือ บริษัท สกิลเลน เอดูเคชั่น จำกัด (SkillLane) ผู้ทำแพลตฟอร์มสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยบริษัทผู้ลงทุนใน SkillLane คือ CyberAgent Capital ซึ่งเป็นขาธุรกิจลงทุนในเครือบริษัทโฆษณาดิจิทัล CyberAgent ประเทศญี่ปุ่น หรือที่เราเรียกนักลงทุนประเภทนี้ว่า Corporate Venture Capital (CVC)

 

บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด (BUZZEBEES) ผู้ให้บริการด้าน Digital Engagement และ Loyalty Platform ที่เริ่มต้นเส้นทางธุรกิจในปี 2555 ในฐานะสตาร์ทอัพที่ปัจจุบันเติบโตจนปีล่าสุดมีรายได้แล้ว 1,980 ล้านบาท บริษัทเองก็กำลังมีแผนที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช่นกัน แม้ว่าทางผู้ร่วมก่อตั้ง ไมเคิล เชน มีความระมัดระวังกับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ และขอรอดูสถานการณ์ไปก่อนที่จะตัดสินใจวันเข้าจดทะเบียน

 

อีกหนึ่งบริษัทที่ให้บริการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลแถวหน้าอย่าง บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จํากัด ก็มีแผนที่จะเสนอขายหุ้น IPO เช่นเดียวกัน

 

หลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยถูกมองว่าเป็นประเทศที่การแข่งขันในอุตสาหกรรมต่างๆ เต็มไปด้วยธุรกิจยักษ์ใหญ่ ซึ่งส่งผลให้รายเล็กโตและเกิดได้ยาก แต่ในปัจจุบันสตาร์ทอัพไทยได้ใช้เวลากับประสบการณ์สร้างฐานที่แข็งแรงขึ้น โดยปัจจัยผลักดันมาจากเงินทุนทั้งในฝั่ง Venture Capital และบริษัทยักษ์ใหญ่ของประเทศ เช่น บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ก็เริ่มพัฒนาศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพของตัวเองในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนทางเลือก เช่น โปรตีนพืชและโปรตีนแมลง

 

ณ ปัจจุบัน ธุรกิจสตาร์ทอัพหลายรายได้ทำงานร่วมกับบริษัทใหญ่ เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนจนบริษัทใหญ่ต้องปรับตัวให้เข้ากับเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านการร่วมมือกับสตาร์ทอัพ

 

นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐอย่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ก็เป็นภาคส่วนที่สำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการของธุรกิจรุ่นใหม่ในประเทศไทย โดยองค์กรมีส่วนช่วยขยายเม็ดเงินสนับสนุนและออกนโยบายยกเว้นการเก็บภาษีหากนักลงทุนได้กำไรจากการลงทุนสตาร์ทอัพ

 

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีหลายอย่างที่ต้องทำก่อนจะสามารถขึ้นมาอยู่แถวหน้าของศูนย์กลางสตาร์ทอัพระดับภูมิภาคได้ เนื่องจากรายงานล่าสุดของ StartupBlink เผยว่าไทยอยู่อันดับที่ 54 ของโลก ซึ่งหล่นลงมา 2 อันดับจากการจัดอันดับปีที่แล้ว 

 

สำหรับอันดับ 1 ของอาเซียนคือสิงคโปร์ ตามด้วยอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยในอันดับที่ 4

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising