×

สื่อนอกเผย ทุนสำรองไทยลดลงมากสุดในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ สะท้อนการเข้าแทรกแซงค่าเงินอย่างหนัก

13.09.2022
  • LOADING...

ธนาคารกลางของแต่ละประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชียต่างเผชิญกับการลดลงอย่างรวดเร็วของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งอาจทำให้การพยายามพยุงค่าเงินของแต่ละประเทศทำได้น้อยลง 

 

Standard Chartered ระบุว่า มาตรวัดที่ใช้สำหรับการติดตามเงินทุนสำรองอย่างใกล้ คือ ระยะเวลาที่เงินทุนสำรองสามารถใช้รองรับการนำเข้าของแต่ละประเทศ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวลดลงมาเหลือประมาณ 7 เดือน สำหรับประเทศเกิดใหม่ที่ไม่รวมจีน ถือเป็นระดับต่ำสุดนับแต่วิกฤตการเงินปี 2008 และลดลงจากช่วงต้นปี ซึ่งปริมาณเงินทุนสำรองสามารถรองรับการนำเข้าได้ประมาณ 10 เดือน 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


“การลดลงทุนของระดับเงินทุนสำรองสะท้อนว่าการเข้าแทรกแซงค่าเงินของธนาคารกลางต่างๆ อาจจะทำได้จำกัดหลังจากนี้” Divya Devesh หัวหน้าฝ่ายอัตราแลกเปลี่ยนในอาเซียนและเอเชียประจำสิงคโปร์ของ Standard Chartered กล่าว “โดยภาพรวมเราคาดว่าธนาคารกลางต่างๆ จะลดการพยุงค่าเงิน” 

 

ข้อมูลจาก Bloomberg สะท้อนว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีอัตราส่วนเงินทุนสำรองต่อ GDP ลดลงมากที่สุดในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย โดยลดลงจาก 48.6% ณ สิ้นปี 2021 มาเหลือ 43.1% ในปัจจุบัน ตามมาด้วยมาเลเซียและอินเดีย ที่อัตราส่วนลดลงจาก 31.4% มาเป็น 27.1% และ 20.6% มาเป็น 16.9% ตามลำดับ 

 

ที่ผ่านมาธนาคารกลางของแต่ละประเทศได้พึ่งพิงเงินทุนสำรองเพื่อพยุงค่าเงินในระหว่างที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และการเข้าแทรกแซงค่าเงินอาจจะเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เน้นการขายเงินดอลลาร์ มาเป็นการซื้อดอลลาร์เข้ามาแทน เพื่อเปลี่ยนมุมมองจากการพยายามลดการนำเข้าเงินเฟ้อ มาเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข็งขันของการส่งออก 

 

หากเราใช้การลดลงของเงินทุนสำรองมาเป็นมาตรวัดของการแทรกแซงค่าเงิน จะเห็นว่าอินเดียและไทยเป็นกลุ่มที่แทรกแซงค่าเงินมากที่สุด ด้วยทุนสำรองที่ลดลง 8.1 หมื่นล้านดอลลาร์ และ 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามลำดับ ขณะที่ทุนสำรองของเกาหลีใต้ ลดลง 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์ อินโดนีเซีย ลดลง 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ และมาเลเซีย ลดลง 9 พันล้านดอลลาร์ 

 

Vishnu Varathan หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจและกลยุทธ์ของ Mizuho Bank ในสิงคโปร์ กล่าวว่า จากตัวเลขล่าสุด ประเทศไทยยังคงน่ากังวล เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์ อินเดีย อินโดนีเซีย หรือแม้กระทั่งมาเลเซีย

 

“แต่ละประเทศอยู่ท่ามกลางช่วงเวลาที่ยาก การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ ความเสี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอย และเงินเฟ้อที่พุ่งสูง ต่างถูกซ้ำเติมด้วยราคาสินค้าที่พุ่งขึ้นสูง นั่นหมายความว่าธนาคารกลางของประเทศเกิดใหม่ในเอเชียยังไม่สามารถที่จะพูดได้ว่าจุดที่แย่ที่สุดผ่านไปแล้ว” 

 

อ้างอิง: 

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X