×

เจาะลึก ‘ไทยออยล์’ กับการคว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2563 ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
14.01.2021
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

  • ด้วยวิสัยทัศน์ ‘สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงาน และเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน’ พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้แนวคิด ESG (Environmental / Social / Governance) ทำให้ ‘ไทยออยล์’ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2563 (The Prime Minister’s Industry Award 2020) ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม
  • แนวทางสำคัญที่ทำให้ไทยออยล์ได้รับรางวัลนี้คือ การให้ความสำคัญต่อสุขภาพของชุมชนรอบโรงกลั่น โดยไทยออยล์ได้เริ่มส่งเสริมสุขภาพของชุมชนมากว่า 10 ปีอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลยุทธ์ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ

ถึง ‘บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)’ จะเป็นธุรกิจการกลั่นและจำหน่ายนํ้ามันปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยกำลังการผลิต 275,000 บาร์เรลต่อวัน โดยผลิตน้ำมันสำเร็จรูปในสัดส่วนร้อยละ 25 ของความต้องการในประเทศไทย

 

ด้วยวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ ‘สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงาน และเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน’ ภายใต้กรอบ ESG (Environmental / Social / Governance) และพันธกิจ ‘ไทยออยล์มุ่งมั่นส่งเสริมสุขภาพชุมชนและสังคมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี’

 

กลายเป็นเหตุผลที่ทำให้ ‘ไทยออยล์’ ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2563 (The Prime Minister’s Industry Award 2020) ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม จากกระทรวงอุตสาหกรรม

 

ถือเป็นการตอกย้ำถึงประสิทธิผลในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสังคมซึ่ง ‘ไทยออยล์’ ได้ทำด้วยความตั้งใจตลอดเวลาที่ผ่านมา

 

ไทยออยล์

 

“โครงการที่โดดเด่นของเรา คือการให้ความสำคัญต่อสุขภาพของชุมชนรอบโรงกลั่น โดยไทยออยล์ ได้เริ่มส่งเสริมสุขภาพของชุมชนมากว่า 10 ปีอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลยุทธ์ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ” วิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าว

 

ดังนั้นเราจึงอยากมาชวนเจาะลึกว่า กลยุทธ์ทั้งเชิงรุกและเชิงรับที่ ‘ไทยออยล์’ ทำนั้นมีอะไรอยู่บ้าง

 

สำหรับตัวอย่างโครงการเชิงรุก ไทยออยล์ได้สร้างศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชนขึ้น เมื่อปี 2553 บนพื้นที่ 6 ไร่ ท่ามกลางชุมชนใกล้กับโรงกลั่น กลุ่มไทยออยล์ มุ่งเน้นให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ดีๆ ที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้ ดำเนินงานโดยยึดหลักการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ 

 

โดยมีคลินิกทันตกรรม 5 ห้อง เพื่อดูแลสุขภาพช่องปากแก่เยาวชนรอบโรงกลั่นด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย โดยเน้นในกลุ่มเด็กนักเรียนใน 8 โรงเรียนรอบกลุ่มไทยออยล์ โดยผู้ปกครองไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ผ่านมาได้นำเด็กๆ ชั้นประถมฯ รอบโรงกลั่น มาตรวจสุขภาพฟันไปแล้วกว่า 50,000 เคส ในรอบ 10 ปี 

 

ไทยออยล์

 

โดย อมรรัตน์ ชัยขรรค์เมือง ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง-เช็ง พรประภา) กล่าวว่า โครงการของไทยออยล์นอกเหนือจากช่วยเหลือผู้ปกครองแล้ว ยังได้เข้ามาบูรณาการด้านการรักษา การส่งเสริม และการป้องกัน เพื่อการดูแลสุขภาพของฟันและช่องปากอย่างถูกวิธีตั้งแต่วัยเด็ก ช่วยให้ค่าเฉลี่ยฟันผุ อุด ถอน และภาวะเหงือกอักเสบดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

นอกเหนือจากคลินิกทันตกรรมแล้ว ภายในศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชนยังมีการให้บริการห้องสมุด เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียน มีการจัดอบรมฝึกงานอาชีพให้แก่ชุมชน มีหอพระที่ประดิษฐานหลวงพ่อไทยออยล์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ และใช้ทำกิจกรรมเกี่ยวข้องกับศาสนา รวมทั้งยังมีลานอเนกประสงค์สำหรับการออกกำลังกาย มีเครื่องเล่นและเครื่องออกกำลังกายต่างๆ ไว้ให้บริการแก่พี่-น้องในชุมชน และพร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยพลังของคนในชุมชนเอง         

 

ขณะเดียวกัน ไทยออยล์ยังดำเนินการโครงการเวชศาสตร์ชุมชน ที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อสำรวจและศึกษาสถานะสุขภาพของแต่ละช่วงวัย ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา มีการสำรวจชุมชนรอบโรงกลั่นไปกว่า 23,000 คน และเทศบาลนครแหลมฉบังได้นำผลการสำรวจไปใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินโครงการด้านสาธารณสุขของชุมชนในพื้นที่ต่อไป

 

ไทยออยล์

 

ส่วนกลยุทธ์ในเชิงรับนั้น ไทยออยล์ได้สนับสนุนการก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ขนาด 5 ชั้น ให้กับโรงพยาบาลแหลมฉบัง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับเหตุฉุกเฉิน ลดความแออัดของผู้ป่วยในพื้นที่แหลมฉบัง 

 

โดยสิ่งที่พิเศษสำหรับอาคารนี้ คือไทยออยล์ได้นำความรู้ทางด้านวิศวกรรม ทั้งองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า และในอีกหลายๆสาขา รวมถึงมาตรฐานการทำงานที่ใช้อยู่ในโรงกลั่น นำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับแบบแปลนของกระทรวงสาธารณสุข 

 

โดยงานที่ทีมวิศวกรไทยออยล์ออกแบบ ปรับเปลี่ยน ให้ได้มาตรฐาน และสูงกว่ามาตรฐานที่ทั้งงานโครงสร้างและงานระบบ ไม่ว่าจะเป็นความสว่างของจุดทำงาน ห้องแยกโรคระบบทางเดินหายใจ จุดทิ้งสิ่งของใช้แล้ว การเดินทางของวัสดุอุปกรณ์สะอาดเข้า-สกปรกออกจากพื้นที่ทำงาน ระบบสื่อสารทั้งห้า (โทรศัพท์ กล้องวงจรปิด อินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ ระบบเรียกพยาบาล) การควบคุมการเข้า-ออกของผู้รับบริการ  ระดับอุณหภูมิในห้องรักษา (ระบบปรับอากาศ)

 

ทั้งหมดทำให้อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินแห่งนี้มีความทันสมัย และเอื้อประโยชน์สูงสุดทั้งผู้ใช้บริการและผู้รับบริการมากที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี และกลายเป็นอาคารต้นแบบที่ประหยัดพลังงาน และป้องกันการติดเชื้อของคนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นภาพร จิตรประเวศน์ ตำแหน่งพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลแหลมฉบัง ที่ได้เข้ามาปฏิบัติงานในอาคารไทยออยล์ ซึ่งเป็นอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินได้ 1 ปี โดยเข้าใช้งานทั้งห้องผ่าตัด ห้องคลอด หลังคลอด และห้องเด็ก กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มทำงานในอาคารนี้ รู้สึกว่าการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะพื้นที่ในการทำงานได้มาตรฐาน สะดวกสบายมากขึ้น เช่น ทางเดินสิ่งของสกปรก และของสะอาด เข้า-ออก คนละทางกัน มีการแยกห้องเป็นสัดส่วนระหว่างห้องรับคนไข้และห้องพักฟื้น รวมถึงมีห้องทำงานแยกเป็นสัดส่วน ห้องผ่าตัดก็มีพื้นที่กว้างพอที่จะใส่อุปกรณ์ต่างๆ ได้มากขึ้น รวมถึงระบบควบคุมอุณหภูมิในห้องผ่าตัดก็เป็นดิจิทัล เพราะเครื่องมือทางการแพทย์บางอย่างจำเป็นต้องอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของกิจกรรมดีๆ ที่ไทยออยล์ได้ส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชนรอบโรงกลั่นเท่านั้น ยังมีโครงการอีกมากมายที่ไทยออยล์ทุ่มเททำด้วยความตั้งใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนที่อยู่โดยรอบ

 

“ในนามของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ขอขอบคุณกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่พิจารณามอบรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2563 ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม ให้บริษัทฯ และเราจะให้คำมั่นว่าเราจะมุ่งมั่นสร้างสรรค์คุณค่าบนความยั่งยืนสู่ชุมชนและสังคมต่อไป” วิรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X