×

Medical Tech สัญชาติไทย ไม่แพ้ใครในโลก?

โดย THE STANDARD TEAM
14.11.2024
  • LOADING...
Medical Tech

“เรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์ตอนนี้เราไม่แพ้ใครในโลก แต่ประเทศไทยยังไม่มีภาพจำด้านนี้ คำถามคือเราจะสร้าง Branding อย่างไรเพื่อสื่อสารว่า Medical ไทยมีดี”

 

บทสรุปจากเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024: Young Leaders Dialogue หัวข้อ ‘The Next Gen Medical Tech การแพทย์ยุคใหม่ จากวิทยาศาสตร์สู่นวัตกรรมสุขภาพ’

 

ร่วมแลกเปลี่ยนโดย ดร.ปัณณ์ อักษรวรวัฒน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)​ และ รศ. ภญ. ดร.สุพรรณิการ์ ถวิลหวัง ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ บริษัท เซลล์มีดี จำกัด และอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการพูดคุยโดย นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา และ ภัทรสุดา บุญญศรี

 

ความท้าทายของ Medical Tech ในไทย

 

  • ประเทศไทยยังมี Infrastructure และ Ecosystem ที่ไม่สามารถสนับสนุนและพัฒนานักวิจัยหรือนักลงทุนได้มากพอ ทั้งที่เรามี Biodiversity ที่ดีมาก
  • Tech, Commercialized และ Spokesperson เป็นปัจจัยที่สำคัญของการขับเคลื่อน Medical Tech ประเทศไทย โจทย์สำคัญคือจะประสานความร่วมมือ (Integrate) ทั้ง 3 ส่วนนี้อย่างไรให้เกิดขึ้นจริง
  • ในแง่ Branding หรือภาพลักษณ์ของประเทศไทย เรายังขาดการสื่อสารที่ชัดเจนในระดับสากล เพื่อให้โลกรู้ว่าเรามีดีด้าน Medical Tech
  • คนไทยส่วนหนึ่งยังมี Mindset ว่าเรื่องยากๆ แบบนี้ ‘คนไทยทำไม่ได้หรอก’ ทั้งที่บุคลากรของเรามีทั้งศักยภาพและองค์ความรู้สูง
  • คนเรียนสายวิทย์รุ่นใหม่มอง ไม่ให้ Career Path ในสายวิทยาศาสตร์ เรียนจบปริญญาเอกมาแต่นึกภาพได้แค่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

 

ทางออกและข้อเสนอแนะ

 

  • Biodiversity ในประเทศไทยโดดเด่นมาก เหมาะกับการพัฒนาในธุรกิจการแพทย์
  • เน้นการยกระดับ ‘ขุมทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดินไทย’ รวมกับเทคโนโลยีและความรู้ด้านการแพทย์ เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • ส่งเสริมงานวิจัยในห้อง สู่การทำงานเชิงพาณิชย์ (Commercialized)
  • ส่งเสริมการสื่อสารผลิตภัณฑ์ไทยให้ Modernized มากขึ้น เพื่อให้ลูกค้าทั่วโลกเข้าใจในผลิตภัณฑ์ไทย เช่น สมุนไพรไทย ที่เป็นต้นกำเนิดของสารออกฤทธิ์เพื่อสุขภาพ (Active Pharmaceutical Ingredients: API)
  • ต้องมีการผลักดันการศึกษาทางคลินิกสำหรับนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยไทยรุ่นใหม่
  • ส่งเสริมการสื่อสารกับชาวต่างชาติว่า ในประเทศไทยมี Start-up ที่ศึกษาเรื่อง Medical Deep Tech อย่างจริงจังและมีคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตลาดโลก
  • คนในสังคมต้องเปลี่ยนความคิดที่ว่า ‘คนไทยทำไม่ได้หรอก’ แล้วสร้างพื้นที่หรือช่องทางที่ Support คนรุ่นใหม่ให้มีพื้นที่ฉายแสง
  • Share Success อย่างเดียวไม่พอ ต้อง Share Risk ด้วย
  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising