ต้องยอบรับว่าสภาพสังคมทุกวันนี้ส่งผลให้คนเกิดความเครียดมากขึ้น มีความสุขน้อยลง และสถานการณ์หลายอย่างบีบบังคับให้เรา ‘นึกถึงความสุขของตัวเอง’ มากกว่า ‘ความสุขของคนอื่น’ จะเสียเวลาทำความดี ทำเพื่อคนอื่นทำไม หน้าที่ก็ไม่ใช่ ทำไปชีวิตเราก็ไม่เห็นมีอะไรดี?
ยิ่งไปกว่านั้น ความทุกข์และความเครียด อาจส่งผลโดยตรง เพราะแค่ประคองความรู้สึกตัวเองยังยาก นับประสาอะไรจะไปใส่ใจเรื่องคนอื่น หรือเราต้องทำตัวเองให้มีความสุขก่อนถึงจะทำความดีได้ ทว่าผู้คนจำนวนไม่น้อยเชื่อว่า ชีวิตจะมีความสุขต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการ เช่น ต้องมีเงินก่อนถึงจะมีความสุข ต้องทำโปรเจกต์สำเร็จก่อนถึงจะมีความสุข แท้จริงแล้วความสุขเรียบง่ายกว่านั้น
1 ใน 100 ข้อคิดจากหนังสือ ‘The 100 Simple Secrets of Happy People’ ที่เขียนโดย Ph.D. David Niven บอกว่า “คนที่มีความสุขทุกคนไม่ได้มีทุกสิ่งที่ต้องการ แต่พวกเขาให้คุณค่าในสิ่งที่มีอยู่แล้ว”
คุณค่าที่พูดถึงไม่ได้หมายถึงสิ่งของ แต่เป็นคุณค่าที่อยู่ในการกระทำ ไม่เชื่อก็ลองฝึกยกเครดิตให้กับความสำเร็จหรือการทำความดีเพียงเล็กน้อยของตัวเองดูซิ ไม่ว่าจะเป็นเปิดประตูให้คนที่กำลังถือของพะรุงพะรัง ลุกให้คนท้องนั่งบนรถไฟฟ้า หรือช่วยแชร์ข้อความของเพื่อนที่กำลังต้องการความช่วยเหลือ กำลังใจเล็กๆ จากคะแนนความนิยมที่คุณมอบให้ตัวเองจะเสริมความเชื่อมั่นว่าสิ่งดีๆ เกิดขึ้นได้จากตัวเรา
บางครั้งการที่คนจะทำหรือไม่ทำความดีอาจขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราคิดเพื่อตัวเองเป็นหลัก อาทิ ทำดีต้องได้ดี หรือทำดีควรได้สิ่งตอบแทน เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์มักเลือกทำสิ่งที่ตัวเองได้ประโยชน์ แต่ถ้าคุณยังปักใจเชื่อสัญชาตญาณนี้ อาจพลาดความรู้สึกดีๆ ที่คนทำดีเท่านั้นจะสัมผัสได้ ก็เหมือนที่ Adam Grant เจ้าของหนังสือขายดีระดับโลก พยายามบอกกับผู้คนผ่านหนังสือ Give and Take คือ “การได้เห็นว่าสิ่งที่เราทำก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างไร จะช่วยเติมไฟให้เราอยากให้ยิ่งขึ้นไปอีก”
หรือจะลอง ‘เชื่อในความดี’ ดูมั้ย? ไม่ต้องเชื่อว่าทำดีได้ดีก็ได้ แต่จงเชื่อว่าหัวใจของคุณจะพองโตทุกครั้งที่ได้ทำอะไรเพื่อคนอื่น ลองเชื่อดูมั้ยว่าคนที่ได้รับผลประโยชน์จากการทำดีไม่ใช่ใครแต่คือตัวเรา
ลองเชื่อเหมือนที่ ‘ไทยประกันชีวิต’ แบรนด์ที่มุ่งสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกชีวิต เชื่อในแนวคิดคุณค่าของชีวิต คุณค่าของความรัก และเชื่อว่าการทำดีนั้นเปรียบเสมือนการส่งมอบความรักที่ช่วยสร้างสังคมให้น่าอยู่ ช่วยสร้างคุณค่าให้กับตัวเราจากการช่วยเหลือผู้อื่น จนเกิดเป็นแคมเปญ ‘เชื่อในความดี’ ต่อยอดการสื่อสารแบรนด์ ‘ให้รักดูแลชีวิต’ ส่งหนังโฆษณาที่ชวนคนดูค้นหาจุดมุ่งหมายของการ ‘ทำดี’ ผ่าน 3 เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสังคมของคนที่ยินดีที่เห็นคนอื่นมีความสุข
นพ.สมเกียรติ กิจธรรมเชษฐ์ เจ้าของคลินิกหมอสมเกียรติ ที่อุทิศตัวใช้วิชาที่ร่ำเรียนมาเปิดคลินิกรักษาผู้ป่วยที่ไม่มีเงินค่ารักษา หรือใครที่มีกำลังจ่ายก็เก็บครั้งละไม่เกิน 500 บาท จนได้รับสมญานามว่า ‘หมอศูนย์บาท’
คุ้มไหม? ทำทำไม? ถ้าสองคำถามนี้ผุดขึ้นมาตลอดการชมโฆษณา แปลว่าคุณก็คิดเหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่เชื่อว่า ทำดีต้องได้ดี แต่สำหรับหมอสมเกียรติ ผลตอบแทนของการทำดีคืนกลับมาในรูปแบบของความสุข แต่เป็นความสุขของคนไข้ที่หายขาดจากความเจ็บป่วย
ทำดีขนาดนี้…แล้วผู้ให้ได้อะไร?
“เพื่อจะไม่ต้องมาเสียใจตอนจะตาย ทำไมตอนนั้นเราไม่ทำให้ดีที่สุด”
“ไม่ใช่หน้าที่แต่ก็ยินดีทำ” เราขอนิยามการทำดีของ ติ๊ก คนขับบิ๊กไบค์ที่ช่วยเด็กชักส่งโรงพยาบาลได้ทันเวลา และ โบ๊ท ชายหนุ่มวัย 16 ปี ที่กระโดดน้ำช่วยคนไม่รู้จักที่กำลังจะจมน้ำกลางเจ้าพระยา
หนังโฆษณาตัดสลับระหว่างบทสัมภาษณ์และภาพเหตุการณ์จริง พร้อมโยนคำถามแทนใจคนไทยทั้งประเทศ “ถามจริง ตอนนั้นคิดอะไร?”
“ไม่ได้คิดอะไรเลยครับ” เรียกว่าไม่มีเวลาให้ทันได้คิดน่าจะเหมาะกว่า รู้แค่ว่าต้องทำ ส่วนที่ว่าทำแล้วได้อะไร วินาทีที่ทำพวกเขาเองก็ไม่รู้ แต่เมื่อรู้ว่าคนที่ช่วยรอดชีวิต เมื่อนั้นแหละพวกเขาถึงได้สัมผัสได้ว่าผลตอบแทนของการทำดี “มันโล่ง มันเบา มันอธิบายไม่ถูก”
สารสำคัญที่แคมเปญ ‘เชื่อในความดี’ พยายามส่งให้ถึงคนดู คือการสร้างแรงบันดาลใจให้คนอยากลงมือทำสิ่งดีๆ ช่วยเหลือผู้อื่น และสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง พร้อมทั้งเข้าใจถึงความหมายของคำว่า ‘ให้รักดูแลชีวิต’ ในแง่ที่ว่า การทำความดีไม่ต้องทำเรื่องยิ่งใหญ่ เพียงทำออกมาจากความรักและความรู้สึกที่อยากจะแบ่งปันความสุข เพียงเท่านั้นคุณก็จะค้นพบคำตอบแล้วว่า ‘ทำดี…แล้วผู้ให้ได้อะไร’
ถามใจตัวเองอีกที ตอนนี้คุณยัง ‘เชื่อในความดี’ อยู่ไหม เชื่อหรือไม่ว่าคนที่ได้ผลตอบแทนจากการทำดีคือตัวคุณเอง และเป็นคุณอีกเช่นกันที่ทำให้ชีวิตตัวเองมีคุณค่าจากการ ‘ทำดี’