×

ส่งออกไทยเดือน มี.ค. 64 บวก 8.47% สูงสุดในรอบ 28 เดือน

23.04.2021
  • LOADING...
ส่งออกไทยเดือน มี.ค. 64 บวก 8.47% สูงสุดในรอบ 28 เดือน

กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า เดือนมีนาคมที่ผ่านมา การส่งออกไทยมูลค่า 24,222 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 8.47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจโลก และประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น 

 

การส่งออกไทยเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว 11.97% 

 

ด้านการนำเข้า มีมูลค่า 23,511.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 14.12% โดยดุลการค้าเกินดุล 710.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภาพรวมไตรมาสแรกของปี 2564 การส่งออกมีมูลค่า 64,148.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 2.27% การนำเข้ามีมูลค่า 63,632.37 ขยายตัวที่ 9.37% เกินดุล 515.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าที่ยังส่งออกเพิ่มขึ้น

 

  • สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ รถยนต์, อุปกรณ์และส่วนประกอบ, ผลิตภัณฑ์ยาง, เม็ดพลาสติก, เหล็ก, เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์, เคมีภัณฑ์ 
  • สินค้าเกษตรและอาหาร ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และอาหารสัตว์เลี้ยง
  • สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น คอมพิวเตอร์, อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เตาอบ, ไมโครเวฟ, ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง, เครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ, เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ, โทรศัพท์และอุปกรณ์
  • สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง 


ทั้งนี้ การส่งออกไทยปี 2564 ยังมีทิศทางขยายตัว โดยทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจโลกปี 2564 ว่าจะขยายตัวที่ 6.0% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 5.5% โดยปัจจัยหลักมากจากการเร่งฉีดวัคซีนทั่วโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ 

 

ขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลก (Global Manufacturing PMI) ปรับตัวสูงสุดในรอบ 10 ปี อยู่ที่ระดับ 55.0 สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภค และความต้องการนำเข้าสินค้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยในระยะข้างหน้ามี 4 ปัจจัยบวก ได้แก่ 

 

  1. การฟื้นตัวภาคการผลิตของโลก ส่งผลให้การส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการผลิตขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 
  2. ประสิทธิภาพของการกระจายวัคซีน ทำให้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น 
  3. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของหลายประเทศ เริ่มส่งผลในทางบวกต่อความเชื่อมั่นด้านการบริโภคของประชาชน 
  4. ราคาน้ำมันดิบเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตามปริมาณกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัว คาดว่าจะเป็นแรงหนุนให้การส่งออกกลุ่มสินค้าที่เกี่ยวข้องกับน้ามันปรับตัวสูงขึ้น 

 

โดยมีปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ 

 

  1. อุปสรรคการค้าชายแดนในเมียนมา โดยเฉพาะการประท้วงที่เกิดขึ้นยาวนาน อาจส่งผลต่อกาลังซื้อของเมียนมาในภาพรวม 
  2. ต้นทุนค่าระวางขนส่งทางเรือของผู้ประกอบการอาจสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ 
  3. เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising