×

ค้นลึกถึงเหตุผลสุด Deep จาก 3 หัวหน้าคณะกรรมการ TechJam 2019 คนสายพันธุ์ดิจิทัลแบบไหนที่โลกต้องการ [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
16.12.2019
  • LOADING...
TechJam 2019

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • TechJam 2019 การแข่งขันทางเทคโนโลยีที่เฟ้นหาสุดยอดคนพันธุ์ Deep โดย KBTG (KASIKORN Business-Technology Group) บริษัทพัฒนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ของธนาคารกสิกรไทย 
  • โจทย์ปีนี้มาในคอนเซปต์ Deep Jam เฟ้นหาสุดยอดคนพันธุ์ Deep 3 ด้าน ได้แก่ Deep Code, Deep Data และ Deep Design
  • ผลการแข่งขัน ผู้ชนะ ได้แก่ ทีม FM and POL ด้าน Deep Code ทีม AlannKuma ด้าน Deep Data และทีม GTBK ด้าน Deep Design คว้าเงินรางวัลทีมละ 1 แสนบาท และยังได้เดินทางไปดูงานที่ซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา 
  • ทำไมต้องเป็น 3 ทีมนี้? เกณฑ์การตัดสินและสิ่งที่คณะกรรมการมองลึกลงไปจนพบ ‘ตัวจริง’ คืออะไร คณะกรรมการทั้ง 3 ด้าน พร้อมให้คำตอบแล้ว 

หลังสิ้นเสียงชัตเตอร์การถ่ายภาพรวมผู้ชนะรางวัลที่ 1 จากการแข่งขัน TechJam 2019 ทั้ง 3 ทีม ได้แก่ Deep Code, Deep Data และ Deep Design ที่ขับเคี่ยวกันอย่างเข้มข้นด้วยคอนเซปต์ Deep Jam ค้นให้ลึกจนพบ ‘ตัวจริง’ การเดินทางสู่ก้าวต่อไปของ KBTG (KASIKORN Business-Technology Group) หรือบริษัทกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป ที่ต้องการจะเป็น The Best Tech Organization in Southeast Asia 2022 ก็ยิ่งชัดเจนขึ้น

 

TechJam 2019

บรรยากาศการพรีเซนต์ผลงานฝั่ง Deep Design

 

KBTG เชื่อว่า การผลักดันให้เมืองไทยกลายเป็น Technology Hub ที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ จำเป็นต้องอาศัยสุดยอดฝีมือด้านเทคโนโลยีและการออกแบบมาช่วยขับเคลื่อนทั้งด้าน Coding, Data Science และ Design แต่การจะลงแข่งในสนามระดับโลกจำเป็นต้องเรียนรู้ว่า โลกภายนอกกำลังต่อสู้กันด้วยโจทย์แบบไหน จึงเป็นที่มาว่า ทำไมการแข่งขัน TechJam 2019 by KBTG จึงต้องค้นให้ลึก รู้ให้จริง มองหาคนที่เก่งรอบด้าน เพื่อเดินเข้าสู่ซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา อาณาจักรที่รวมบริษัทไอทีสำคัญๆ ระดับโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ 

 

TechJam 2019

ผู้ชนะทั้ง 3 ทีม ทีม FM and POL ด้าน Deep Code

ทีม AlannKuma ด้าน Deep Data และทีม GTBK ด้าน Deep Design

 

จากผู้เข้าแข่งขัน 1,750 ทีม หลากวัย หลายอาชีพ แบ่งเป็น Deep Code 800 ทีม คัดเข้ารอบ 38 ทีม Deep Data จากผู้สมัคร 650 ทีม คัดเลือก 20 ทีม และ Deep Design ยอดสมัคร 300 ทีม ผ่านเข้ารอบ 20 ทีม ผู้เข้าแข่งขันทุกคนรู้ดีว่า ชัยชนะครั้งนี้นอกจากเงินรางวัลทีมละ 1 แสนบาท ยังได้ไปดูงานที่ซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา อีกด้วย และตัวจริงที่ถูกค้นพบในปีนี้ ได้แก่ ทีม FM and POL ด้าน Deep Code ทีม AlannKuma ด้าน Deep Data และทีม GTBK ด้าน Deep Design ผู้ชนะรู้สึกอย่างไรคงไม่ต้องถาม เพราะสิ่งที่น่าสนใจกว่า ซ่อนอยู่ภายใต้โจทย์ที่ยากขึ้น อะไรคือสิ่งที่คณะกรรมการปีนี้มองหา และทั้ง 3 ทีม ไปทำอะไรให้พวกเขาสะดุดตา จนต้องยกถ้วยรางวัลให้ นี่คือคำอธิบายจากคณะกรรมการ 

 

TechJam 2019

คุณอาภาพงศ์ จันทร์ทอง Machine Learning Engineer, KASIKORN Labs หัวหน้าคณะกรรมการ Deep Code

 

Deep Code ค้นหาโปรแกรมเมอร์ยอดฝีมือ

คุณอาภาพงศ์ จันทร์ทอง Machine Learning Engineer, KASIKORN Labs หัวหน้าคณะกรรมการด้าน Deep Code บอกว่า ปีนี้โจทย์จะท้าทายกว่าปีที่ผ่านมา เพราะต้องการค้นหาโปรแกรมเมอร์ที่สามารถแก้ปัญหาและนำมาประยุกต์ใช้ได้จริง การพัฒนาโจทย์จึงครอบคลุมความสามารถของ Software Engineer มากขึ้น โฟกัสไปที่ทักษะการเป็น Software Developer ที่ดี “ปีที่ผ่านมา การแข่งขันฝั่ง Code จะเน้นเรื่อง Competitive Programming หรือโจทย์ปัญหาเชิงอัลกอริทึม ปีนี้จึงตัดสินใจว่า ต้องการวัดคนให้ได้หลายมุมมากขึ้น อย่างน้อยก็ดึงดูดโปรแกรมเมอร์มืออาชีพให้เข้ามาแข่งบ้าง เพราะเดิมทีผู้เข้าแข่งขันจะเป็นเด็กมัธยมหรือมหาวิทยาลัยมากกว่า เราจึงตั้งเป้าว่า ทำอย่างไรให้โจทย์ปีนี้มันสะท้อนกับโลกความเป็นจริง”  

 

โจทย์ทีม Deep Code จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก คือ โจทย์ปัญหาเชิงอัลกอริทึม เพื่อวัดความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาเชิงคำนวณ (Problem Analysis) ออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา (Algorithm Design) และสามารถลงมือเขียนโค้ดเพื่อแก้ไขปัญหาได้จริง (Programming) และโจทย์ปัญหาให้เขียน Web Service Application ตาม Requirement ที่กำหนดและให้แก้ปัญหาทันที 

 

“พอเราเพิ่มความเข้มข้นให้กับโจทย์ ค่อยๆ เพิ่มฟีเจอร์เข้าไปให้ผู้เข้าแข่งขันที่ละนิด โดยมีเวลาเป็นข้อจำกัด ทำให้เห็นความโดดเด่นของแต่ละทีม เพราะถ้าเขาเพิ่มฟีเจอร์มากไป โดยที่ไม่รักษาโครงสร้างให้ดี มันอาจไปกระทบฟีเจอร์เก่าได้ และทำให้ทุกอย่างพัง การแข่งครั้งนี้ก็เจอหลายทีมประสบปัญหานี้ และทำให้เขาเสียคะแนนอย่างน่าเสียดาย นี่เป็นสถานการณ์จริงที่ต้องเจอเวลาทำงาน

 

“ตอนคิดโจทย์กังวลว่ามันจะไม่น่าสนใจ เพราะลดความเป็นเกมโชว์ แต่เน้นสถานการณ์จริง กลัวผู้แข่งขันจะไม่สนุก แต่กลายเป็นว่า ฟีดแบ็กที่ได้รับ เขารู้สึกว่าโจทย์น่าสนใจ และเป็นโจทย์ที่เขาได้พัฒนาฝีมือจริงๆ หรือที่เคยกังวลว่า ถ้าเราตั้งโจทย์แบบนี้จะเข้าทางโปรแกรมเมอร์มืออาชีพมากกว่า แล้วเด็กที่ยังเรียนรู้จะทำได้ไหม ก็เซอร์ไพรส์นะที่เด็กมัธยมและเด็กมหาวิทยาลัยก็ทำคะแนนได้ดีประมาณหนึ่ง ยิ่งทำให้เรามั่นใจว่าคนสายนี้จริงๆ แล้วเขาเก่งรอบด้าน เพียงแต่ยังไม่มีใครไปสะกิดให้เขารู้ว่าเขามีศักยภาพตรงนี้”

 

คุณอาภาพงศ์บอกว่า การแข่งขันปีนี้ ฝีมือผู้เข้าแข่งขันไม่น้อยหน้ากันเลย อาจจะมีจุดพลาดเล็กๆ ที่อาจทำให้เขาคว้าแชมป์ในปีหน้า “ดูจากคะแนนสกอร์บอร์ด หลายๆ ทีมฝีมือดี แต่พลาดในจุดที่เขาป้องกันได้ ถ้าเขามีสติพอ บางทีมเฉือนกันแค่ตรงนี้จริงๆ และสามารถเป็นที่หนึ่งได้ คือมันเป็นเหตุการณ์ที่เจอจริงๆ ในการทำงานอยู่แล้ว สิ่งเหล่านี้มันฝึกได้จากการทำงานเยอะๆ ยิ่งเจอเยอะยิ่งมีบทเรียนเยอะ ก็ทำให้เขาเก่งขึ้นได้”

 

สิ่งที่ทำให้ทีม FM and POL ชนะการแข่งขันครั้งนี้มาจากความสามารถล้วนๆ เพราะทุกการแข่งขันถูกวัดและคำนวณโดยระบบโปรแกรม แต่ในทัศนะของอาภาพงศ์มองว่า “ทีมที่ชนะเขาทำได้ดีในทุกพาร์ตตั้งแต่รอบแรก โจทย์ทุกประเภทเขาทำได้ดี ถึงแม้จะไม่ได้เป็นที่ 1 ของทุกด้าน แต่ก็อยู่ใน Top 5 ทุกด้าน มันพิสูจน์ได้ว่า เขาเป็นทีมที่มีความพร้อมรอบด้านจริงๆ นี่คือคนที่เรามองหา” 

 

TechJam 2019

ดร.ภควัต ผลิตนนท์เกียรติ Data Scientist, KASIKORN Labs 

หัวหน้าคณะกรรมการ Deep Data

 

Deep Data ค้นหาผู้คลั่งไคล้การศึกษาข้อมูลขนาดใหญ่ วิเคราะห์ จำลอง ทดสอบ และวิจัย
ทางฝั่ง Deep Data ที่มี ดร.ภควัต ผลิตนนท์เกียรติ Data Scientist, KASIKORN Labs เป็นหัวหน้าคณะกรรมการ ก็ต้องการสุดยอดฝีมือด้าน Data Science ตัวจริงที่ไม่ใช่แค่รัก แต่ต้องคลั่งไคล้ข้อมูลแบบสุดๆ เพราะ Data ถือเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนธุรกิจทุกรูปแบบในปัจจุบันและอนาคต 

 

“ผมว่าปีนี้คำว่า Deep น่าจะตรงกับ Data มากที่สุด ปีนี้เราตั้งโจทย์เพื่อวัดความสามารถ 2 ส่วนหลักๆ คือ Technical Skills ความช่างสังเกต ข้อมูลทุกอย่างที่เราให้กับผู้แข่งขันเป็น Encode หมด เราบอกแค่การ์ดเบอร์ 1 2 3 เราอยากรู้ว่า ผู้เข้าแข่งขันจะเจออะไรบ้าง จากโจทย์ที่ให้ไปและจาก Data ที่ให้ไป เราต้องการให้เขาศึกษาเอง และ Business Skill หรือการนำข้อมูลไปใช้จริงในเชิงธุรกิจ”

 

เกณฑ์การตัดสินใจครั้งนี้วัดกันจากโมเดลที่แต่ละทีมสร้างมาจากข้อมูลที่ได้ไป จากนั้นก็วัดกันที่ความสามารถในการทำนายความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ พร้อมด้วยความสามารถในการนำเสนอ Insight ที่จะนำมาช่วยในการพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด 

 

“ต้องบอกว่า ปีนี้ผู้เข้าแข่งขันทำเราเซอร์ไพรส์มาก มีหลายทีมที่หาอินไซต์ที่เราแอบซ่อนไว้ได้คือ เราตั้งใจหลอก แต่เขาก็หาเจอ จริงๆ ตอนแรกแอบกังวลว่าจะเป็นข้อได้เปรียบเสียเปรียบสำหรับกลุ่มที่เคยทำงานแบงก์หรือเปล่า ปรากฏว่า ผู้ชนะที่ 1-3 ไม่มีใครทำงานแบงก์เลย อย่างน้อยมันชี้ชัดว่า โจทย์เราไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบกับคนที่ทำงานสายใดสายหนึ่งมาก่อน” 

 

ดร.ภควัต คิดว่า การแข่งครั้งนี้ประสบความสำเร็จในแง่ศักยภาพของผู้เข้าแข่งขัน ส่วนหนึ่งอาจเพราะกระแส Data Science ที่กำลังบูมขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนฝึกฝนมาในระยะเวลาที่ค้นคว้ามาอย่างเต็มที่แล้ว อยู่ในจุดที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น ทำโมเดลจริงจังแล้วเลยได้เห็นฝีมือคนเก่งๆ เยอะมาก “ต้องบอกว่า ช่วงนี้เรื่อง Data มันไปเร็วมาก ผู้เข้าแข่งขันได้ลองใช้เทคนิคอัปเดตมากๆ รู้สึกแฮปปี้มากว่าประเทศไทยสามารถไล่ทันต่างประเทศได้แล้ว”  

 

TechJam 2019

คุณสรรพวิชญ์ ศิริผล Designer, Beacon Interface 

หัวหน้าคณะกรรมการ Deep Design 

 

Deep Design ค้นจนกว่าจะเจอตัวจริงที่แก้ปัญหาทุกอย่างได้ด้วยการออกแบบอย่างสร้างสรรค์
นี่ไม่ใช่เรื่องของการออกแบบให้สวยเท่านั้น เพราะทีมที่จะสะดุดตาคณะกรรมการจริงๆ และผ่านเกณฑ์ที่ คุณสรรพวิชญ์ ศิริผล Designer, Beacon Interface ตั้งไว้ คือต้องค้นหาอินไซต์จากตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้งาน Platform ที่จะพัฒนา (Persona) กลุ่ม Gen Z ที่ทางทีมงานเตรียมให้ ด้วยการสัมภาษณ์ User ที่เป็นคนจริงๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบ Platform 

 

“เซอร์ไพรส์นะปีนี้ เพราะรอบคัดเลือกหลายๆ ทีมไม่ได้ดูโดดเด่นมาก แต่พอลงมาแข่งจริง มีทีมที่ทำให้เราตัดสินใจยากอยู่ประมาณ 5 ทีม ซึ่งทุกทีมก็สร้างแพลตฟอร์มที่น่าสนใจและดึงอินไซต์คนได้ดี เข้าค้นเจอจากการสัมภาษณ์คนแค่ไม่กี่คน รอบไฟนอลจริงๆ มีทีมที่ทำให้ตัดสินใจยากอยู่หลายทีม ถ้านับเป็นคะแนนคือ ห่างกันแค่ 0.5 คะแนนก็มี 

 

“แต่ที่เลือกให้ทีม GTBK เป็นผู้ชนะ เพราะตอนพรีเซนต์เขาทำให้เห็นว่า เซอร์วิสที่เขาออกแบบมันไปผูกกับเซอร์วิสหนึ่งของ KPLUS ได้ และยังยกตัวอย่างให้เห็นชัดว่า สามารถนำไปผูกกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ในเมืองไทยได้ เขาเลือกสิ่งที่เป็นอินไซต์ของ User ออกมาได้ชัดเจนที่สุด เอามาทำให้คณะกรรมการเห็นภาพได้ชัดว่า สิ่งที่เขาทำอยู่คืออะไร และโปรดักต์ที่ออกมาตอบโจทย์กลุ่ม Gen Z ตามโจทย์เราจริงๆ”

  

สรรพวิชญ์ให้ข้อสังเกตว่า ปีนี้โปรไฟล์ผู้สมัครแยกให้เห็นชัดเจนว่า เป็น UX/UI Design “มันแสดงให้เห็นว่า คนเริ่มเข้าใจแล้วว่า อาชีพดีไซเนอร์สามารถต่อยอดเป็นมืออาชีพด้านไหนได้บ้าง ก็คาดหวังว่า ปีหน้าเราคงจะได้เห็นอาชีพด้านดีไซน์ต่างๆ เกิดขึ้นในเมืองไทย และมาลงแข่งกันเรา”  

 

ทั้งทิศทางของกระแสการตอบรับ จากจำนวนผู้เข้าแข่งขันที่มากขึ้น และศักยภาพของผู้เข้าแข่งขันที่เก่งรอบด้านมากขึ้น รวมถึงโฉมหน้าผู้ชนะของปีนี้ ถือว่าตอบโจทย์วัตถุประสงค์ที่ KBTG ต้องการสร้างการแข่งขัน TechJam เพื่อเป็นมาตรฐานใหม่ของการแข่งขันด้านไอที ค้นหา ‘ตัวจริง’ ที่จะมาร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับเมืองไทย นั่นหมายความว่า เป้าหมายที่สร้างเมืองไทยให้กลายเป็น Technology Hub ที่ทั่วโลกยอมรับใกล้เข้ามาทุกที 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X