×

นพ.ทวีศิลป์ ได้รางวัลการใช้ภาษาไทยสื่อสารในภาวะวิกฤตอย่างสร้างสรรค์

โดย THE STANDARD TEAM
18.07.2020
  • LOADING...

อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยคณะอนุกรรมการวันภาษาไทยแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติเหมือนทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนี้ วธ. โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้มอบรางวัลเกียรติยศพิเศษให้แก่ผู้ใช้ภาษาไทยสร้างสรรค์ดีเด่น เพื่อยกย่องให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และสามารถใช้ภาษาไทยสื่อสารในภาวะวิกฤตอย่างสร้างสรรค์ โดยมีผู้ที่ได้รับคัดเลือกจำนวน 3 รางวัล ได้แก่

 

  1. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 

 

  1. รายการ เวทีเพลงเพราะ (The Golden Song) สถานีโทรทัศน์ช่องวัน (one31)

 

  1. รายการ Club Friday สถานีวิทยุเอฟเอ็ม 106.5 เมกะเฮิรตซ์

 

นอกจากนี้ วธ. โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) และกรมศิลปากร (ศก.) ได้มอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย และรางวัลยกย่องบุคคลในวงการเพลงที่มีความสามารถผสมผสานความรู้ทางภาษา วรรณศิลป์ คีตศิลป์ และนักร้องที่ออกเสียงขับร้องเพลงได้อย่างชัดเจนและถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาไทย โดยในปีนี้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเพื่อรับเข็ม โล่เชิดชูเกียรติ และมอบรางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย พ.ศ. 2563 ดังนี้

 

  1. ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 3 รางวัล ได้แก่ รศ.ชำนาญ รอดเหตุภัย, รศ.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ และ รศ.สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา
  2. ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 10 รางวัล แบ่งเป็นคนไทย 9 รางวัล ได้แก่ กรุณา บัวคำศรี, โกมุท คงเทศ, ชุมศักดิ์ นรารัตน์วงศ์, ภูสิต ธวัชวิเชียร, เรืองศักดิ์ ปิ่นประทีป, ลักษิกา เจริญศรี, ผศ.สมชาย สำเนียงงาม, สันติภพ เจนกระบวนหัด (เจนภพ จบกระบวนวรรณ), ผศ.สุทัศน์ วงศ์กระบากถาวร และชาวต่างประเทศ 1 รางวัล ได้แก่ องจิอิน
  3. ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น 4 รางวัล ได้แก่ ขวัญชัย สุรินทร์ศรี, ทองพูล ทองน้อย, ประไพ สุริยะมล และ มงคล รัตนพันธ์
  4. ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประเภทบุคคล ได้แก่ ถนอมวงศ์ สุกโชติรัตน์ ล้ำยอดมรรคผล, รศ.นวลทิพย์ เพิ่มเกษร และ ยุทธพร นาคสุข และประเภทองค์กร ได้แก่ มูลนิธิดำรงพุฒตาล (อนุรักษ์และพัฒนาภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย) และสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย

      

ส่วนรางวัลเยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน พ.ศ. 2563 จำนวน 12 รางวัล แบ่งเป็น ระดับประถมศึกษา (อายุไม่เกิน 12 ปี) ได้แก่ ณฐพรต มารศรี โรงเรียนเคหะทุ่งสองห้องวิทยา 1 กรุงเทพฯ, วรินรำไพ ศรีสุนนท์ โรงเรียนวัดเลา (คณะศิษย์เทพสิทธิอุทิศ) กรุงเทพฯ และ อัฟฟันดี้ หนูโสย โรงเรียนบ้านเขาพระ จังหวัดสงขลา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (อายุไม่เกิน 15 ปี) ได้แก่ เจตนิพิฐ สืบมา โรงเรียนสตรีวิทยา กรุงเทพฯ, ชลธิชา เทียมขุนทด โรงเรียนวัดยกกระบัตร (ชุบราษฎร์นุสรณ์) จังหวัดสมุทรสาคร และ ปิยธิดา อุ้ยฟูใจ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (อายุไม่เกิน 18 ปี) ได้แก่ โชติรส เลือกถือ โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล จังหวัดกระบี่, สหภูมิ ปลายชัยภูมิ โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จังหวัดขอนแก่น, อัศวุธ อุปติ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง จังหวัดปราจีนบุรี ระดับอุดมศึกษาหรือบุคคลทั่วไป (อายุไม่เกิน 25 ปี) ได้แก่ ธวัชชัย สายอ๋อง มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา, บัณฑิต รวยสันเทียะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา, อติรุจ ดือเระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี

 

อิทธิพลกล่าวอีกว่า นอกจากนี้มอบรางวัลการประกวดเพลง (เพชรในเพลง) จำนวน 19 รางวัล ดังนี้

 

  1. รางวัลเชิดชูเกียรติ ประกอบด้วย รางวัลเชิดชูเกียรตินักจัดรายการวิทยุผู้อนุรักษ์เพลงไทยในอดีต (รายการ สุขกันเถอะเรา) ได้แก่ ดารณี มณีดิษฐ์, รางวัลเชิดชูเกียรติองค์กรสนับสนุนวัฒนธรรมดนตรีไทย ได้แก่ สมาคมสงเคราะห์สหายศิลปิน
  2. รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล ได้แก่ เพลง วัฒนธรรมนำไทย ผู้ประพันธ์ ชัยรัตน์ วงศ์เกียรติ์ขจร รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง ได้แก่ เพลง ยังมีวันพรุ่งนี้ ผู้ประพันธ์ รชต โชติมิตรจตุรผล รางวัลชนะเลิศผู้ประพันธ์คำร้องเพลงเพื่อชีวิต ได้แก่ เพลง สวัสดี ผู้ประพันธ์ สุทธิยงค์ เมฆวัฒนา (เทียรี่ เมฆวัฒนา)
  3. รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ดังนี้ รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย ได้แก่ เพลง ดาราดรุณี ผู้ขับร้อง พรพัฒน์ สัมมาวรรณ (พรหมเทพ เทพรัตน์) รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง ได้แก่ เพลง เพ็ญแข ผู้ขับร้อง กุสุมา เอื้อเฟื้อ (ผุสดี เอื้อเฟื้อ) รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ได้แก่ เพลง คอยน้องคืนนา ผู้ขับร้อง อาคม พูลลาภ (เติ้น อาคม คำพันธุ์) รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง ได้แก่ เพลง ลูกทุ่งท้องถิ่น ผู้ขับร้อง ชญาภา พงศ์สุภาชาคริต (บูม ชญาภา) รางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงเพื่อชีวิตชาย ได้แก่ เพลง นานแสนนาน ผู้ขับร้อง สุทธิยงค์ เมฆวัฒนา (เทียรี่ เมฆวัฒนา) และรางวัลชนะเลิศผู้ขับร้องเพลงเพื่อชีวิตหญิง ได้แก่ เพลง เด็กหลังเขา ผู้ขับร้อง ณริสสา ดำเนินผล (ฟ้า ขวัญนคร)

 

ทั้งนี้กระทรวงวัฒนธรรมจะจัดพิธีรับเข็ม โล่เชิดชูเกียรติ และรับมอบรางวัลในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 ณ อาคารวัฒนธรรมวิศิษฎ์ กระทรวงวัฒนธรรม

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising