โรคลมร้อนหรือโรคฮีตสโตรกเป็นโรคที่รุนแรงที่สุดของโรคที่เกิดจากความร้อน เกิดขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับอากาศที่ร้อนจัดแล้วไม่สามารถปรับตัวได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลทันทีอาจทำให้เสียชีวิตได้
THE STANDARD รวมวิธีสังเกตตัวเอง การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง และวิธีดูแลตัวเองและผู้อื่นหากเกิดอาการดังกล่าว
สัญญาณเตือน
- อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเร็วกว่าปกติ (สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส)
- ไม่มีเหงื่อออก หรือเหงื่อออกมากผิดปกติ
- ผิวหนังแดง ร้อน แห้ง
- ชีพจรเต้นเร็วและแรง หายใจเร็ว
- สับสน กระวนกระวาย พูดไม่รู้เรื่อง
- ชัก
- ซึมลง หมดสติ
กลุ่มเสี่ยง
- ผู้ที่ต้องทำงาน / กิจกรรมกลางแจ้ง
- เด็ก / ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่พักผ่อนน้อย
- ผู้ป่วยเรื้อรัง (เบาหวาน / ความดัน)
- ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
การปฐมพยาบาล
- นำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม
- นอนราบ ยกขาสูง คลายเสื้อผ้า
- ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ดตัว ศีรษะ ใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
- อาการไม่ดีขึ้น นำส่งโรงพยาบาล
ภาพประกอบ: พุทธิพงศ์ โรจน์ศตพงค์
อ้างอิง:
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม