‘นวัตกรรมที่ยั่งยืนและดีที่สุดคือ ‘คน’ ที่ไม่เคยหยุดพัฒนา’ หากประโยคนี้ถูกโปรยลงบนป้ายบิลบอร์ด ไม่ผิดถ้าคุณจะรู้สึกว่ามันซ้ำซากและน่าเบื่อไปสักหน่อยในฐานะเครื่องมือปลุกพลังใจให้คนลุกขึ้นมาพัฒนาตัวเอง
สำหรับ ‘เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล’ ประโยคข้างต้นหาใช่คำโฆษณาสวยหรู แต่คือ ‘หลักสปิริต’ ขององค์กร หรือความเชื่อว่าคนสามารถพัฒนาได้ไม่มีที่สิ้นสุด และประโยคเดียวกันในวันนี้ยังเป็น ‘บทพิสูจน์’ ให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่จับต้องได้ผ่านนวัตกรรมมากมายจาก ‘นวัตกร’ ที่ถูกสร้างภายใต้แบรนด์พญาไท-เปาโล
นพ.ยงยุทธ มัยลาภ ผู้อำนวยการสายบริหารการสื่อสาร และพัฒนาสุขภาพสัมพันธ์องค์กร เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล บอกกับ THE STANDARD ถึงแนวคิดและวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนองค์กรของเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ว่ามีสารตั้งต้นมาจากความต้องการที่จะสร้าง ‘People’s Culture’ หรือวัฒนธรรมของคนให้เป็นวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง
“เราเชื่ออย่างยิ่งว่าสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กรคือ ‘บุคลากร’ ที่มีศักยภาพ มีความทุ่มเท ความสามารถ มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ และความรับผิดชอบ สำคัญมากๆ คือเรื่องของความเข้าอกเข้าใจเพื่อนพนักงานด้วยกันและผู้เข้ารับบริการ”
แนวทางการสร้างวัฒนธรรมที่แข็งแกร่ง นพ.ยงยุทธบอกว่าต้องเริ่มจากการสร้างสถานที่ทำงานที่ดีที่สุด แวดล้อมไปด้วยคนเก่งและคนดี โดยมีทีมบริหารที่พร้อมสนับสนุนพนักงานให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ เหนือสิ่งอื่นใดคือทุกคนในองค์กรต้องเปิดกว้างทางความคิด รับฟังฟีดแบ็ก ยอมรับในความหลากหลาย
“พลวัตแห่งการคิดนอกกรอบจะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างมาก เราสนับสนุนให้ทุกคนกล้าคิด กล้าลอง กล้าทำ ถ้าผิดพลาดไม่ถือเป็นความผิด แต่ถือเป็นประสบการณ์เพื่อไปพัฒนาต่อ การสร้างสภาพแวดล้อมให้ทุกคนมี Passion ในการทำงาน มีความสุขกับงานที่ทำ เมื่อเขามีความสุขเขาจะอยากพัฒนาตัวเองและคิดค้นวิธีการทำงานที่ดีขึ้นเรื่อยๆ
“การพัฒนาเกิดขึ้นตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับความรู้ที่เติมเข้าไป เกิดเป็นแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นมาในหลายมิติ นี่คือสมองแห่งนวัตกรรม สิ่งนี้คอมพิวเตอร์หรือ AI อาจเลียนแบบมนุษย์ได้ แต่สิ่งที่เลียนแบบไม่ได้ไปอีกหลายศตวรรษคือ Innovative and Emphatic Cerebral Integration กระบวนอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมนุษย์ มากไปกว่าการสร้างนวัตกรรมยังมีความห่วงใย เอื้ออาทร เมตตารวมอยู่ด้วย เพราะคนเท่านั้นที่มีหัวใจเพื่อเข้าใจคน และมีสมองเพื่อคิดค้นนวัตกรรมที่ดีที่สุดเพื่อดูแลคน”
ลองนึกภาพบุคลากรกว่า 20,000 คนในเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล กลายเป็นนวัตกรที่มีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ให้ จะเกิดเป็นนวัตกรรมที่ช่วยดูแลและฟื้นฟูสังคมที่ทรงพลังขนาดไหน
Fight For Better: คำว่าดีที่สุดคงไม่มี มีแต่ดีขึ้น พัฒนาให้ดีขึ้น
การเกิดขึ้นของแคมเปญ ‘Fight For Better: คำว่าดีที่สุดคงไม่มี มีแต่ดีขึ้น พัฒนาให้ดีขึ้น’ แคมเปญที่ยกระดับกลยุทธ์การพัฒนา ‘คน’ อย่างไม่สิ้นสุด ดูจะเป็นสัญญาณดีที่จะได้เห็นนวัตกรรมดีๆ จากบุคลากรของโรงพยาบาล
“แคมเปญ Fight For Better เกิดจากที่เราต้องการให้ทุกคนในองค์กรเห็นว่าไม่มีใครดีที่สุด เพราะถ้าเราเชื่อว่าดีที่สุดเกิดขึ้นแล้วมันจะไม่มีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น สมองแห่งนวัตกรและพลังของ Innovative and Emphatic Cerebral Integration จะหยุดชะงัก”
โดยสิ่งที่จะปลุกไฟในการทำงานให้คนรู้สึกอยากจะพัฒนาตัวเองได้ดีที่สุดก็คือตัวเราเอง จึงเป็นที่มาของ ‘Dear Me’ วิดีโอไดอารีบันทึกเรื่องราวจากบุคลากรที่ไม่เคยหยุดพัฒนาตัวเอง เพื่อให้คนไข้ได้รับบริการที่ดีที่สุด
“ถึงวันหนึ่งเมื่อเราหันกลับไปมองอดีตจะพบว่าเราพัฒนามาไกลขนาดไหน เป็นการสร้างกำลังใจที่จะพัฒนาตัวเองในอนาคตให้ดีขึ้นกว่าเดิม”
มองอีกมุมหนึ่ง คำว่า ‘ดีขึ้น’ ไม่ใช่ดีแค่กับตัวเอง แต่ดีขึ้นเพื่อส่วนรวม นพ.ยงยุทธบอกเช่นนั้น “Fight ของพวกเขาคือการสร้างงาน สร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การบริการที่เหนือกว่าข้อกำหนดของหน้าที่ และต้อง Fight เพื่อสังคมที่ดีกว่าเดิม สังคมที่ผู้ป่วยลดลง สังคมที่ตัวเขาทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล ปกป้อง คอยมองหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างไม่สิ้นสุด ที่เราทำได้ส่วนหนึ่งมาจากวัฒนธรรม We Before Me เห็นแก่ส่วนรวมก่อนส่วนตน”
ตัวอย่างนวัตกรรมที่ดีและต้นแบบนวัตกรที่เชื่อว่าต้องสร้างสิ่งที่ดียิ่งขึ้น
“ช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราเห็นบุคลากรคิดค้นนวัตกรรมมากมาย เป็นผลจากการสนับสนุนอย่างเต็มที่ของคุณอัฐ ทองแตง CEO ท่านเห็นความสำคัญของการพัฒนาคนให้มีแนวคิดของการสร้างนวัตกรรม และต้องการปลูกฝังให้เป็น DNA”
นพ.ยงยุทธยกตัวอย่าง คุณนุชจรี กิจวรรณ พยาบาลที่ผันตัวมาเป็นพยาบาลนักวิจัย คิดค้นโครงการนวัตกรรมกว่า 400 โครงการ ทำงานร่วมกับพยาบาล วิศวกร และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำๆ อาทิที่นอนลดแผลกดทับ ที่ต่อยอดจากที่นอนวัดแรงกดของวิศวกรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าธนบุรี ช่วยลดการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยได้มหาศาล นับเป็นความสำเร็จที่เกิดจากการยึดมั่นบนหลักสปิริต Fight For Better กับ Growth Mindset ของคุณนุชจรีนั่นเอง
“อีกตัวอย่างคือ ดร.เดชา ทวีชาติ ผู้จัดการส่วนวิศวกรระบบสาธารณูปโภคและซ่อมบำรุง ที่คิดค้นตู้ยาพิเศษป้องกันการจ่ายยาผิด โดยต้องสแกนบาร์โค้ดให้ตรงกับยาที่ต้องการ ถ้าสแกนผิดตู้จะไม่เปิด หรือในช่วงวิกฤตโควิด-19 ก็ได้คิดค้นตู้ตรวจโควิดความดันลบ-ความดันบวก และใช้ประโยชน์จนถึงปัจจุบัน”
แอปพลิเคชัน CILA ก็เป็นตัวอย่างนวัตกรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้ของบุคลากรให้สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา รวมถึง Health Up แอปพลิเคชันที่ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงข้อมูลทางการแพทย์ได้ง่ายๆ หรือจะนัดคิวแพทย์ด้วยตัวเอง
พี่ ‘PHYMON’ ทูตสุขภาพของเด็กๆ นวัตกรรมที่เกิดจากการ ‘หาทำ’ ของเหล่านวัตกรที่ไม่เคยสร้างการ์ตูน
เบื้องหลังการปลุกพลังคนในทีมการตลาดสื่อดิจิตอลและพัฒนาธุรกิจองค์กรให้ปั้น ‘ฟีมอน’ คุณหมอมอนสเตอร์ และผองเพื่อนหลากคาแรกเตอร์
คุณวัชราภรณ์ เจริญธรรมวัชณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการตลาดสื่อดิจิตอลและพัฒนาธุรกิจองค์กร เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล บอกว่า “ท้าทายและสนุกกว่าที่คิด”
ทีมการตลาดสื่อดิจิตอลมีหน้าที่ผลิตคอนเทนต์สุขภาพ ถ่ายทอดองค์ความรู้จากคุณหมอให้กลายเป็นคอนเทนต์ที่อ่านง่ายบนแพลตฟอร์มต่างๆ รวมไปถึงการทำโปรดักชัน คลิปวิดีโอในแนวทางของการให้ความรู้กับผู้ที่สนใจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลของโรงพยาบาลง่ายขึ้น นอกจากนั้นคอนเทนต์ที่ทำยังถูกนำไปพัฒนาและต่อยอดเป็นแพ็กเกจต่างๆ
คุณวัชราภรณ์บอกว่า เป้าหมายหลักของทีมไม่ได้โฟกัสแค่กลุ่มลูกค้าโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ต้องการให้ทุกคนที่เข้ามาเสพคอนเทนต์รู้สึกว่าเราเป็นเพื่อนไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยไหนก็ตาม
อย่าง ‘PHYMON’ (ฟีมอน) คุณหมอมอนสเตอร์และเหล่าผองเพื่อน ก็มีจุดเริ่มต้นจากความต้องการสร้าง Hero Character ที่สามารถเป็นเพื่อนกับเด็กๆ ได้
“Pain Point ของเด็กที่คล้ายกันคือไม่ค่อยชอบมาโรงพยาบาล มาแล้วต้องโดนฉีดยา มีแต่เรื่องน่ากลัว ก็มาคิดว่าทำไมถึงไม่มีการ์ตูนของไทยที่สอนเรื่องสุขภาพเลย และแทนที่จะทำเป็นมาสคอต เราอยากสร้าง Hero Character ตัวการ์ตูนจริงๆ ที่เป็นเพื่อนกับน้องๆ ได้ ทำให้พวกเขารู้สึกว่าการมาโรงพยาบาลไม่น่ากลัวอย่างที่คิด”
กว่าจะเป็นมอนสเตอร์สีเขียวตาโตฉลาดรอบรู้อย่างที่เห็น ทีมงานต้องลงไปคลุกคลีอยู่ในแผนกเด็กของโรงพยาบาลเพื่อเก็บข้อมูล โดยมีพี่ๆ พยาบาลคอยให้คำแนะนำ และมีคุณหมอคอยตรวจความถูกต้องของข้อมูล “เริ่มจากการหาสาเหตุที่ทำให้เด็กๆ ต้องมาโรงพยาบาล ก็เจอว่าเด็กมีปัญหาฟันผุ ไม่กินผัก หรือเจอสัตว์แปลกๆ ก็เข้าไปจับ แล้วนำ Pain Point เหล่านี้มาสร้างเป็นแอนิเมชันสนุกๆ ที่จะทำให้เรื่องสุขภาพกลายเป็นเรื่องสนุก เข้าใจง่าย เราพัฒนาเส้นเรื่องจากไลฟ์สไตล์ของเด็กๆ มีทั้งหมด 12 เอพิโสด ฉายบนช่องยูทูบ PHYMON Doctor of Monster แต่ละตอนก็จะสอดแทรกความรู้ต่างๆ เช่น กินผักดีอย่างไร ทำไมไม่ควรเล่นกับสุนัขและแมวจรจัด ทำไมต้องแปรงฟัน”
ถ้าถามถึงฟีดแบ็กของน้องๆ หลังได้รู้จักพี่ฟีมอนและผองเพื่อน คุณวัชราภรณ์บอกว่า “เด็กๆ ชอบมาก เด็กแต่ละคนก็จะมีฮีโร่คาแรกเตอร์ไม่เหมือนกัน บางคนอยากเป็นคุณหมอก็จะชอบไอวี่ บางคนก็ชอบมอนสเตอร์พูบู และที่สำคัญน้องๆ กลัวการมาโรงพยาบาลน้อยลง”
ส่วนฟีดแบ็กในมิติอื่นๆ เธอบอกว่าฟีมอนช่วยให้คุณหมอและพยาบาลทำงานง่ายขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ฟีมอนยังดังไกลจนคว้ารางวัล Best Newcomer Character ในการประกาศผล BIDC Award 2023 จากงาน Bangkok International Digital Content Festival
“เราโชคดีที่ผู้ใหญ่มองเห็นความตั้งใจและให้พื้นที่ฟีมอนได้ไปทำความรู้จักกับเด็กๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสื่อในโรงพยาบาลและสื่อโฆษณาบนรถไฟฟ้า BTS ซึ่งตอนนี้ฟีมอนมีทั้งหมด 5 ภาษา คือ ไทย จีน อังกฤษ กัมพูชา และญี่ปุ่น ปีหน้าตั้งใจจะต่อยอดทำให้
ฟีมอนเป็นการ์ตูนสุขภาพที่เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับทุกคน ในฐานะทีมครีเอทีฟ ฟีมอนคือ Soft Power ของเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ทำหน้าที่เป็นนักการทูตด้านสุขภาพให้กับเด็กๆ
“แทบจะเป็นจุดแข็งของเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโลเลยก็ว่าได้ เรามี CEO ที่ส่งต่อแนวคิด Growth Mindset ให้ลองทำสิ่งใหม่ๆ ผลักดันให้ทุกคนท้าทายตัวเอง ท้าทายทีม ยิ่งในฐานะที่ทีมเราเป็นครีเอเตอร์ของโรงพยาบาล ยิ่งต้องทำอะไรไม่เหมือนเดิม ที่สำคัญคือ CEO เปิดโอกาสให้ทุกคนใส่ไอเดียเต็มที่ เขามีหน้าที่ซัพพอร์ตทั้งงบประมาณและกำลังใจ เหนือสิ่งอื่นใดคือจุดยืนที่ชัดเจน มันทำให้เราย้อนถามตัวเองเสมอว่าเราอยากเป็นอะไรในใจคนไข้ เมื่อลงมือทำแล้วจะสำเร็จหรือไม่เป็นอีกเรื่อง แต่ต้องทำให้เสร็จ พอทำเสร็จเราจะรู้ว่าต้องปรับตรงไหน แก้ตรงไหน จะพัฒนาอะไรต่อไป”
นวัตกรรมที่เกิดจากส่วนผสมของ Business Model Centric และ Customer Centric
บทบาทหน้าที่ของทีมการตลาดในหลายองค์กรคือวางกลยุทธ์และสร้างแคมเปญการตลาดที่มุ่งเป้าไปที่การสร้างยอดขาย
คุณศุภกร พะวันนา ผู้อำนวยการสายการตลาดเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล เล่าว่า เดิมทีมการตลาดของที่นี่ก็มองเป้าไปที่การสร้างแบรนด์และทำกำไรไม่ต่างกัน “เมื่อก่อนจะมีความเป็น Product Centric คุณหมอคิด การตลาดเอาไปขาย มายุคหลังเริ่มปรับเป็น Customer Centric เอาลูกค้าเป็นที่ตั้ง แต่ตอนนี้เราเห็นว่าถ้านำ Customer Centric มาผสมผสานกับ Business Model Centric จะต่อยอดไอเดียออกไปได้มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะมองลูกค้าเป็นตัวตั้ง ก็มีเทคโนโลยี พาร์ตเนอร์ และแหล่งข้อมูลจากภายนอกเข้ามาเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายได้”
คุณศุภกรบอกว่า กลยุทธ์การตลาดของโรงพยาบาลจะมีความแตกต่างจากธุรกิจอื่น เนื่องจากเป็นสหสาขาวิชาชีพ มีทั้งทีมแพทย์ พยาบาล ฝ่ายบริหาร ดังนั้นวิธีวางแผนกลยุทธ์จะเป็นการ Brain Storm เพื่อหาว่าอะไรคือ Pain Point ของลูกค้า โดยทำงานภายใต้เฟรมเวิร์กเดียวกันคือ Design Thinking และ Business Model Canvas
“ประเด็นสำคัญคือต้องออกแบบ Customer Journey ครบลูปแบบไร้รอยต่อ เพราะธุรกิจโรงพยาบาลเป็นบริการที่ต้องคิดตั้งแต่ต้น ก่อนที่ลูกค้าจะเข้ามาเขาหาข้อมูลอะไร หาอย่างไร นัดหมายผ่านช่องทางไหน หลังรับบริการจะติดตามผลอย่างไร แล้วค่อยลงรายละเอียดว่าจะโฟกัสที่ลูกค้ากลุ่มไหนเป็นพิเศษ และมีพาร์ตเนอร์หรือเทคโนโลยีอะไรที่เข้ามาช่วยได้บ้าง เพราะหลายครั้งเวลาคิดกลยุทธ์เราไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในโรงพยาบาล เราเปิดกว้างให้กับพาร์ตเนอร์รวมถึงสตาร์ทอัพที่เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า”
โควิด-19 คือจุดเปลี่ยนและตัวเร่งให้ทีมการตลาดต้องปรับวิธีออกแบบ คุณศุภกรบอกว่าถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะทำให้เห็นว่าจริงๆ แล้วทีมมีศักยภาพกว่าที่คิดและลูกค้าเองก็เปิดใจรับเทคโนโลยีมากขึ้น “มันช่วยให้การทำงานสั้นลง ความเป็นไซโลหายไป ทำงานได้เร็วขึ้น หลายนวัตกรรมก็เกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น แอปพลิเคชัน Health Up เรามีลูกค้ากว่า 4 แสนคนที่ใช้แอปเพื่อนัดหมาย ดูผลตรวจสุขภาพ อ่านคอนเทนต์ ขณะเดียวกันหมอและพยาบาลก็ดูข้อมูลคนไข้ผ่านแอปได้เช่นกัน”
อินไซต์ที่น่าสนใจอีกอย่างคือการใช้ Zero Party Data หรือข้อมูลที่ลูกค้าแสดงเจตนาในการแจ้งข้อมูลกับโรงพยาบาลโดยตรงผ่านการทำออนไลน์เซอร์เวย์ นอกจากจะได้ข้อมูลแบบเรียลไทม์แล้วยังช่วยให้แก้ปัญหาหน้างานได้เร็วขึ้น “ยกตัวอย่างลูกค้าฟีดแบ็กว่าห้องไม่สะอาด ระบบจะส่งไปที่แม่บ้านให้เข้ามาทำความสะอาดทันที”
คุณศุภกรยังยกเคสนวัตกรรมที่เกิดจากการวิเคราะห์ Zero Party Data ประกอบกับ Big Data ของโรงพยาบาลผสานเข้ากับ Design Thinking และ Business Model Canvas อย่างที่เล่าไปข้างต้น
“ลูกค้าหลักของเราเป็นกลุ่มวัยทำงานและกลุ่ม Corporate ซึ่ง Pain Point ของคนกลุ่มนี้คือออฟฟิศซินโดรม เรานำข้อมูลนี้ไปคุยกับนักกายภาพบำบัดและช่วยกันพัฒนา All You Can Fits โปรแกรมตรวจเช็กความสมดุลและสมรรถภาพร่างกายรายบุคคล การปรับพฤติกรรม เพื่อแก้ไขสาเหตุอาการบาดเจ็บของร่างกาย โดยมีนักกายภาพเป็นโค้ชที่คอยดูแลให้คำแนะนำ ช่วยให้คุณภาพชีวิตดียิ่งขึ้น”
All You Can Check เป็นอีกโปรแกรมตรวจสุขภาพที่จะทำให้แนวคิดการตรวจสุขภาพของคุณเปลี่ยนไป ภายใต้คอนเซปต์ ‘เช็กสุขภาพที่ใช่ เพื่อใช้ชีวิตที่ชอบ’
“เมื่อก่อนเราเชื่อว่าตรวจสุขภาพปีละครั้งก็เพียงพอ แต่บางทีกว่าจะพบความเสี่ยงของโรคก็สายเสียแล้ว โปรแกรมนี้เราได้พูดคุยกับทีมแพทย์หลายฝ่ายให้ช่วยกันดีไซน์โปรแกรมที่ตอบโจทย์และครอบคลุม และต้องเป็นโปรแกรมที่จะทำให้แนวคิดการมาโรงพยาบาลของเขาเปลี่ยนไป อยากมาโรงพยาบาลบ่อยขึ้น เพราะเป็นการมาเพื่อร่วมกันวางแผนสุขภาพที่ต้องการกับคุณหมอ โดยคุณหมอจะทำหน้าที่เป็นเหมือนพาร์ตเนอร์สุขภาพที่ช่วยให้เราปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ การกิน การนอน การออกกำลังกาย ทำให้สุขภาพตลอดทั้งปีดีขึ้น”
ที่เล่าไปคือนวัตกรรมที่เกิดช่วงโควิด-19 แต่คุณศุภกรบอกว่าโปรดักต์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้จะถูกเรียกว่า ‘Adapted Product’ เป็นการนำดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นเครื่องมือทรานส์ฟอร์มองค์กรมากขึ้น “เราเชื่อว่าสิ่งนี้จะเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคลากรไม่หยุดพัฒนาสิ่งที่ดีกว่า มันไปสอดคล้องกับ People Branding ที่ว่านวัตกรรมที่ดีที่สุดก็คือคนที่ไม่หยุดพัฒนาเพื่อสิ่งที่ดีกว่าให้กับคนไข้ ทำให้ทุกครั้งเวลาคิดโปรดักต์หรือกลยุทธ์ใหม่ๆ สิ่งสำคัญคือทุกคนในทีมต้องเกิดการเรียนรู้และพัฒนา ไม่จำเป็นต้องเป็น Big Change ก็ได้ ขอแค่ดีขึ้นกว่าเมื่อวาน ดีขึ้นในทุกวัน”
ผลลัพธ์ทั้งหมดที่เห็นเป็นรูปธรรม ทั้งนวัตกรรมที่สร้างประโยชน์ให้กับผู้คนก็ดี หรือนวัตกรที่มีหัวใจแห่งการให้ก็ตาม จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีผู้นำองค์กรที่เห็นความสำคัญของ ‘คน’
“การสร้างนวัตกรรมของมนุษย์นั้นไม่มีขอบเขต หากองค์กรสามารถลดขอบเขตในใจของพนักงานได้ จะทำให้เขากล้าที่จะคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้า ซึ่งผมเชื่อว่าผู้บริหารของเรามองว่า ‘นวัตกรรม’ เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาองค์กร มันจึงออกมาเป็นกลยุทธ์และนโยบายต่างๆ ที่ถ่ายทอดไปสู่บุคลากรทุกคน ให้พวกเขามั่นใจว่าจะเดินไปข้างหน้าพร้อมกันโดยมีเป้าหมายเดียวกัน โดยใช้ความสามารถ ความเห็นอกเห็นใจ ความเอื้ออาทร มาพัฒนาเป็นนวัตกรรม นี่ถือเป็นการสร้างองค์กรแห่งความยั่งยืนอย่างแท้จริง” นพ.ยงยุทธ กล่าวทิ้งท้าย