×

ค่าไฟร้อนระอุ! สุพัฒนพงษ์บีบ กกพ. ตรึงค่าไฟ พ้อภาวะการส่งออกของประเทศไม่ดี อุ้มหนี้ กฟผ. อีกแสนล้าน

09.03.2023
  • LOADING...

ค่าไฟฤดูร้อนเริ่มระอุ สุพัฒนพงษ์ย้ำในฐานะผู้ดูแลนโยบายงวดหน้าเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม กกพ. ต้องไม่ปรับขึ้นค่าไฟและราคาต้องเท่ากันทั้งครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ 4.72 บาทต่อหน่วย ตัดพ้อภาวะการส่งออกของประเทศไม่ดี และต้องใช้หนี้ กฟผ. กว่าแสนล้านบาท ยันปัจจัยที่ต้องลดราคาเพราะก๊าซธรรมชาติที่เป็นต้นทุนเชื้อเพลิงหลักผลิตไฟฟ้าปรับลดลงแล้ว

 

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงาน THE NEXT THAILAND’S FUTURE: จุดเปลี่ยนประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้าเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2566 จะเหลืออัตราเดียวทั้งภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม จากเดิมที่ใช้ค่าไฟฟ้า 2 อัตราคือค่าไฟสำหรับครัวเรือนอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย และค่าไฟของภาคอุตสาหกรรม 5.33 บาทต่อหน่วย 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


โดยการปรับลดลงของภาคอุตสาหกรรมมาเท่ากับภาคครัวเรือนนั้นเป็นไปตามแนวนโยบายที่ต้องช่วยดูแลผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกถดถอย ที่ทำให้ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบ 

 

สำหรับค่าไฟฟ้าของภาคครัวเรือนซึ่งอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วยในงวดนี้ ในฐานะผู้กำกับนโยบายได้มอบหมายนโยบายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) แล้วว่าไม่ควรที่จะปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าคือก๊าซธรรมชาติมีแนวโน้มลดลงในช่วงที่ผ่านมา 

 

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (FT) ปรับเพิ่มเป็น 98 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งเมื่อรวมค่าไฟฐานแล้ว ทำให้ค่าไฟจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.75 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 0.3 บาทต่อหน่วยนั้นมองว่า ประเด็นนี้ฝ่ายนโยบายสามารถดูแลได้ 

 

นอกจากนี้ยังมีภาระสำคัญที่ต้องดูไม่ให้เกิดผลกระทบกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ที่ต้องได้รับการชดเชยจากการแบกรับค่า FT เมื่อปีที่ผ่านมากว่าแสนล้านบาท ซึ่งก็ต้องดูว่าจะชดเชยกลับคืนให้ กฟผ. ได้อย่างไรอีกด้วย 

 

“ในฐานะผู้กำกับนโยบายมองว่า ราคาค่าไฟในงวดหน้าไม่ควรปรับขึ้นและกลับมาใช้อัตราเดียวเท่ากันระหว่างภาคครัวเรือนและอุตสาหกรรม ซึ่งต้องดูแลทั้งสองภาคส่วน โดยภาคครัวเรือนต้องดูแลในค่าครองชีพและภาคอุตสาหกรรมก็ต้องดูแลในช่วงที่ภาวะการส่งออกของประเทศไม่ดี” สุพัฒนพงษ์กล่าว 

 

นายกฯ สั่งเปิดรับฟังความคิดเห็นครอบคลุมทุกด้าน

 

ด้าน กุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในวันนี้ว่า การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) งวดใหม่เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน โดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำให้ กกพ. คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อประชาชน และขอให้รับฟังความคิดเห็นครอบคลุมทุกด้าน โดยเฉพาะขณะนี้ราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นต้นทุนเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าปรับลดลงแล้ว

 

คมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า เบื้องต้นได้รับทราบข้อห่วงใยจาก กพช. แล้ว โดยอัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่เรียกเก็บกับประชาชนงวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2566 จะต่ำกว่า 5 บาทต่อหน่วยแน่นอน 

 

ส่วนรายละเอียดจะกำหนดเป็นอัตราเดียวกันทั้งประเทศหรือไม่ กกพ. มีกำหนดการชี้แจงอีกครั้งในวันที่ 10 มีนาคมนี้ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงการเปิดรับฟังความคิดเห็นวันที่ 10-20 มีนาคม 2566 เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุม กกพ. พิจารณาในวันที่ 22 มีนาคม หลังจากนั้นจึงจะประกาศอย่างเป็นทางการช่วงต้นเดือนเมษายน 2566 ให้ทันการบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคม 2566

 

ขณะที่ อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอให้รัฐบาลปรับโครงสร้างต้นทุนค่าไฟให้ต่ำกว่า 5 บาทต่อหน่วย เพราะมีความเป็นไปได้ เนื่องจากสถานการณ์ต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าถูกลง ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ดังนั้นจุดยืนของ ส.อ.ท. ในการแก้ไขปัญหาค่าไฟฟ้าในงวดที่ 2 ของปีนี้ยังคงขอให้ดูแลค่าไฟของครัวเรือน ต้องไม่แพงขึ้นกว่าเดิม ขณะที่ค่าไฟของภาคธุรกิจก็เช่นกัน ต้องไม่ควรเกิน 5 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันอยู่ที่ 5.33 บาทต่อหน่วย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising