คุณเชื่อว่า…การสร้างบ้านมีแต่การสร้างมลภาวะใช่หรือไม่? ไม่แปลกถ้าจะเชื่อว่า ธุรกิจอสังหามีส่วนในการสร้างผลกระทบต่อโลกอย่างเลี่ยงไม่ได้
แต่เดี๋ยวก่อน…ข้อมูลข้างต้นกำลังจะกลายเป็นเรื่องในอดีต เพราะปัจจุบันบริษัทอสังหาตื่นตัวเรื่องการสร้างสิ่งดีๆ ตั้งแต่หน่วยเล็กๆ อย่างผู้คน สังคม เมือง ไปจนถึงโลก
ไม่เชื่อใช่ไหม? ว่าจะมีบริษัทอสังหาที่รักษ์โลก และลงมือทำสิ่งเหล่านี้เพื่อสังคมอย่างจริงจัง และทำมากกว่าแค่ปลูกต้นไม้ มอบทุนการศึกษา บริจาคสิ่งของ หรือต่อให้ทำได้ ก็คงไม่เชื่อว่าจะทำได้อย่างยั่งยืน
เพราะรู้ว่าถ้าบอกเป็นข่าว เล่าเป็นเรื่อง คงยากที่จะทำใจเชื่อ โดยเฉพาะคนยุคนี้ที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ถ้าไม่มีบทพิสูจน์หรือหลักฐานยืนยันว่าทำจริงไม่ได้ดีแต่พูด ‘ศุภาลัย’ แบรนด์อสังหาที่คิดและทำเพื่อความยั่งยืนของโลกจึงหาวิธี ‘พิสูจน์’ ให้เห็นว่าแบรนด์ทำจริงและทำมานานแล้ว จึงผุดแคมเปญ ‘SUPALAI Self-Proved ชวนพิสูจน์การก่อสร้างรักษ์โลก’ ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืนผ่านภาพยนตร์โฆษณา Greta vs The World ถ่ายทอดการคิดค้นนวัตกรรมก่อสร้าง การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ศุภาลัยมุ่งมั่นมาตลอด โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมที่ศุภาลัยคิดและทำอย่างจริงจังในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อลดปริมาณขยะ
โดยมี เกรตา ธันเบิร์ก นักรณรงค์สิ่งแวดล้อม ตัวแทนของคนรุ่นใหม่ที่จริงจังเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม และไม่เชื่อว่าบริษัทอสังหาจะสามารถทำเรื่องยั่งยืนเพื่อโลกได้จริง คอยตั้งข้อสังเกต ขณะเดียวกัน ‘ท่อสี่ทาง’ ตัวละครสมมติซึ่งเป็นตัวแทนนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของศุภาลัย ทำหน้าที่อธิบายถึงสิ่งต่างๆ ที่ศุภาลัยคิดและทำกันที่ไซต์ก่อสร้างของศุภาลัย ว่ามีวิธีสร้างความยั่งยืนผ่านกระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมอย่างไร
เริ่มจากลดขยะด้วยการ ‘ลดการใช้’ ด้วยนวัตกรรมใหม่ ‘ท่อสี่ทาง’ เปลี่ยนจากวิธีต่อท่อแบบเก่า ซึ่งจำเป็นต้องใช้ท่อจำนวนมากด้วยการออกแบบใหม่ก็ลดขยะได้เยอะ!
ยังมีวิธีลดการใช้อื่นๆ ที่ศุภาลัยทำเพื่อลดการสร้างขยะและมลพิษ เช่น การคำนวณปริมาณท่อตั้งแต่ขั้นตอน Shop Drawing, Made to Order ผลิตให้พอดีเท่าที่ใช้, การใช้ท่อระบบดับเพลิงแบบไร้ข้อต่อ ช่วยลดการใช้วัสดุที่ไม่จำเป็น และลดปริมาณขยะเศษท่อเทียบเท่าความยาวหลายร้อยกิโลเมตร นอกจากนี้ยังออกแบบพื้นที่ให้พอดีกับขนาดกระเบื้องเพื่อให้เหลือเศษกระเบื้องน้อยที่สุด
แค่ลดยังไม่พอต้อง ‘หาวิธีใช้ซ้ำ’ จากที่เคยใช้พาเลตไม้ ใช้ได้ครั้งเดียวต้องเอาไปเผาทิ้ง ก็เปลี่ยนมาใช้พาเลตพลาสติกที่ใช้ซ้ำได้เรื่อยๆ ช่วยลดขยะพาเลตไม้เทียบเท่าต้นไม้กว่า 18,157 ต้น เทียบเท่าการช่วยรักษาพื้นที่ป่าไม้กว่า 908 ไร่
ยังมีตัวอย่างนวัตกรรมที่ศุภาลัยคิดค้นร่วมกับ DOS ผลิต ‘TAKa’ ผลิตภัณฑ์ถังอเนกประสงค์ฝังกำแพงที่มาพร้อมกับช่องรับกล่องพัสดุแบบ 3 in 1 เป็นได้ทั้งบ้านเลขที่ กล่องพัสดุ จดหมาย และถังขยะ ผลิตจากพลาสติกที่มีคุณภาพสูง แข็งแรง ทนทาน สามารถนำมารีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ได้ นำร่องติดตั้งโครงการแรก ‘ศุภาลัย เลควิลล์ ศรีสมาน-ปทุมธานี’ และจะติดตั้งในทุกโครงการของแบบบ้านใหม่ ‘Tropical Modern Series’
ยังไม่หมดต้อง ‘นำกลับมาใช้ใหม่’ ได้ด้วย แค่เปลี่ยนวิธีมอง ‘ขยะ’ ไม่ให้เป็น ‘ขยะ’ แต่คือวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ ไม่ว่าจะเป็น นำคอนกรีตที่เหลือมาทำ Subbase ถนน หรือรีไซเคิลสายรัดวัสดุก่อสร้างไปสานเป็นตะกร้า นำเศษอิฐมวลเบาไปทำเป็นกระถางต้นไม้ และนำ Vinyl Proof จากงานโฆษณามาเย็บเป็นถุงช้อปปิ้ง
นอกจากนี้ ศุภาลัยยังมีแนวทางการทำงานที่ยั่งยืนผ่านการสร้างความร่วมมือกับผู้รับเหมาในทุกโครงการ โดยมีข้อกำหนดก่อนเริ่มทำงานจะต้องนำถังแยกขยะ 9 ประเภทไปตั้งในโครงการระหว่างก่อสร้าง และต้องมีการจัดการขยะให้เรียบร้อย
แต่ก็นั่นแหละ เรื่องบางอย่างบอกเฉยๆ คงเชื่อยาก แบรนด์เลยขอพิสูจน์ตัวเองด้วย ‘SUPALAI Waste Meter’ ซึ่งเป็นวิธีพิสูจน์การก่อสร้างรักษ์โลกแบบฉบับศุภาลัย ท้าให้ทุกคนไปดูปริมาณขยะจริงที่ไซต์ก่อสร้างทุกแห่งของโครงการ พร้อมประกาศว่า ทุกไซต์ก่อสร้างของศุภาลัยจะลดขยะจากการก่อสร้างให้ไม่เกิน 3,300 ตัน ต่อการก่อสร้าง 110,235 ตารางเมตร โดยโครงการแรกที่มีการดำเนินการคือ ศุภาลัย ปาร์ค เอกมัย-พัฒนาการ และจะใช้เป็นมาตรฐานการดำเนินการในโครงการต่อไป ประเด็นที่ถ่ายทอดในโฆษณาส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ภารกิจใหญ่ของแบรนด์ นั่นคือ การบริหารจัดการขยะและวัสดุเหลือใช้ในงานก่อสร้าง หรือ Waste Management โดยร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจก่อสร้าง เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 25% ภายใน 3 ปี และพร้อมก้าวสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ
ต้องยอมรับว่าวิธีเล่าเรื่องของโฆษณาชิ้นนี้ยังเข้าใจอินไซต์ของคนยุคใหม่ ที่ไม่ชอบให้ยัดเยียดข้อมูลเกินไปถึงจะอยากรู้ข้อเท็จจริงทั้งหมดก็ตาม จึงเลือกยิงคำถามที่หลายคนน่าจะสงสัยว่า “ทำไมเจ้าท่อ PVC ในหนังโฆษณาต้องใส่แว่น และทำไมทุกคนในหนังโฆษณาถึงใส่แว่นกันหมด?”
นั่นเป็นความตั้งใจที่แบรนด์อยากจะบอกให้รู้ว่า ศุภาลัยไม่ได้คิดและทำเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเท่านั้น ภายใต้การดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืน ยังคิดและทำเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม และบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาลด้วย ด้วยการจับมือกับ หอแว่นกรุ๊ป จัดกิจกรรม ‘แว่นสร้างสุข’ ตัดแว่นสายตาให้กับคนงานก่อสร้าง
ยังมีอีกหลายเรื่องที่ศุภาลัยทำผ่านโครงการ ‘ศุภาลัยสร้างดี’ โครงการที่สร้างขึ้นเพื่อมุ่งหวังที่จะเห็นการเปลี่ยนของโลกไปด้วยกัน ด้วยการพัฒนาสังคม สร้างอาชีพ ให้โอกาสทางการศึกษา และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยนำเอาหลักการ ‘บ้านที่ดี’ ที่เป็นหัวใจหลักของการสร้างที่อยู่อาศัยที่ดี มาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์สิ่งดี เช่น ด้านสิ่งแวดล้อม จับมือกับ SCG นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่ได้รับฉลาก SCG Green Choice มาใช้ในโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมของศุภาลัยกว่า 100 โครงการ หรือความร่วมมือกับ AIS ร่วมรณรงค์นำ E-Waste เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธีแบบ Zero Landfill และยังจับมือกับ KBank ติดตั้งโซลาร์รูฟให้ลูกบ้านศุภาลัยฟรี
นอกจากนั้นยังเดินหน้าโครงการ ‘ศุภพนาลัย by Care The Wild’ เพิ่มพื้นที่ป่าชุมชน สู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก 25% ใน 3 ปี ไปจนถึงการออกแบบโครงการให้กลมกลืนกับธรรมชาติและชุมชน อย่าง โครงการ ศุภาลัย ทัสคานี ดอนแก้ว-แม่ริม ที่ทำทางน้ำที่ไหลผ่านโครงการไปลงยังแปลงนาของชาวบ้าน และยังอนุรักษ์อุโมงค์ต้นไม้และต้นไม้ใหญ่ดั้งเดิมเอาไว้
ด้านการศึกษา ศุภาลัยสนับสนุนกิจกรรมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง อาทิ ‘Supalai iCreator Workshop’ เปิดคลาสเรียนเสริมเทรนด์ฮิตตามหาสีที่ใช่กับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือ iCreator Workshop Facebook for Content Creator เจาะลึกเคล็ดลับปั้นเพจให้สุดปัง ดังชั่วข้ามคืน!
ส่วนด้านสังคม เช่น ชวนเพื่อนพนักงานร่วมกันสร้างสิ่งดีๆ ส่งต่อเสื้อกันหนาว เครื่องนุ่งห่มให้กลุ่มพี่น้องคนงานก่อสร้างและครอบครัวผ่านกิจกรรม ‘ปันอุ่นคลายหนาว’ หรือกิจกรรม ‘สายใยรักครอบครัวศุภาลัย’ ที่จัดต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 35
นี่เป็นเพียงบทพิสูจน์ส่วนหนึ่งเท่านั้น เชื่อว่าจากนี้ไปแบรนด์อสังหาที่จริงจังเรื่องความยั่งยืนมาตลอด คงไม่หยุด ‘พิสูจน์’ ตัวเอง เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน เพราะมากไปกว่าการพิสูจน์ตัวเองให้ทุกคนเห็น ระหว่างทางของการทำสิ่งเหล่านี้ จะนำมาซึ่งการสร้างสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน…แน่นอน