×

สำรวจ ‘จุดมืดของดวงอาทิตย์’ ผ่านชัตเตอร์ของช่างภาพ THE STANDARD

โดย THE STANDARD TEAM
15.10.2024
  • LOADING...

วันนี้ (15 ตุลาคม) ช่างภาพทีมข่าว THE STANDARD เก็บภาพบรรยากาศจุดมืดของดวงอาทิตย์ (Sunspot) เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา บริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย 

 

ข้อมูลจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุถึงจุดมืดของดวงอาทิตย์ว่า เป็นบริเวณที่มีความเข้มของสนามแม่เหล็กมากบนผิวของดวงอาทิตย์ การที่จุดมืดดูมืดกว่าบริเวณอื่นๆ เพราะมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณรอบๆ คือ ที่จุดมืดจะมีอุณหภูมิประมาณ 3,700 เคลวิน 

 

ขณะที่โฟโตสเฟียร์หรือผิวของดวงอาทิตย์​​มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 5,700 เคลวิน ขนาดของจุดมืดมีตั้งแต่ 3,600 กิโลเมตร ไปจนถึง 50,000 กิโลเมตร ปกติจุดมืดแต่ละจุดจะมีอายุไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ แม้ว่าจุดมืดที่ใหญ่จริงๆ จะอยู่ได้หลายเดือนก็ตาม 

 

ขณะที่เว็บไซต์ Spaceth.co อธิบายลักษณะของจุดมืดบนดวงอาทิตย์ว่า มักจะมีอยู่โดยทั่วไปบนดวงอาทิตย์ จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิพื้นผิวและเวลาที่เราสังเกตการณ์จุดมืดบนดวงอาทิตย์ โดยจะเกิดขึ้นมาและค่อยๆ จางหายไป จนในที่สุดเราก็ไม่สามารถสังเกตเห็นได้อีกเลย และทุกๆ 11 ปี จุดมืดบนดวงอาทิตย์จะกลับมาเริ่มใหม่อีกครั้ง เรียกว่า วัฏจักรดวงอาทิตย์

 

สำหรับวัฏจักรนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ บนดวงอาทิตย์ ตอนที่มีจุดมืดมากก็จะทำให้เกิดการลุกจ้าหรือเกิดลมสุริยะมากขึ้นและรุนแรงขึ้น เนื่องจากจุดมืดบนดวงอาทิตย์เป็นจุดที่มีสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์พุ่งออกมา นำเอาก๊าซร้อนที่อยู่ภายใต้นั้นขึ้นมาด้วย แล้วก็สาดพวกนี้ออกไปในอวกาศโดยไม่ได้วกกลับเข้ามา ในกรณีที่เป็นสนามแม่เหล็กเปิด กลายเป็นลมสุริยะพัดพาออกไป อาจสร้างความเสียหายให้แก่อุปกรณ์ต่างๆ หรือดาวเทียมบางตัวได้ แต่เมื่อตอนที่มีจุดมืดบนดวงอาทิตย์น้อย ปรากฏการณ์การลุกจ้าหรือลมสุริยะก็จะเบาบางลง แต่ก็ไม่ถึงกับว่าไม่มีเลย

 

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X