เมื่อธุรกิจครอบครัวมั่งคั่งย่อมต้องการที่จะส่งต่อความมั่งคั่งให้กับลูกหลาน การเตรียมการไว้แต่เนิ่นๆ ทั้งจัดการสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ภาษีที่ต้องชำระ รวมถึงการวางรากฐานที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจ ช่วยทำให้การส่งต่อมรดกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เดอะวิสดอมกสิกรไทยจัดสัมมนาพิเศษ ‘Wealth Decoded Talk รู้ลึก รู้ทันภาษี ส่งต่อความมั่งคั่งอย่างมั่นคงและยั่งยืน’ โดย จรัญญา แสงสุขดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แท็กซ์ สเปเชียลลิสท์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการสินทรัพย์และวางแผนภาษี และ อุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมให้ข้อมูลอัปเดตล่าสุดถึงกลยุทธ์การบริหารจัดการสินทรัพย์และภาษีที่เกี่ยวข้อง
สำรวจและวางแผนสินทรัพย์ตนเอง
การวางแผนการจัดการมรดกเริ่มต้นจากขั้นตอนจากการสำรวจสินทรัพย์ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ จดบันทึกและจัดทำทะเบียนสินทรัพย์ทั้งหมด ทั้งเงินสด, อสังหาริมทรัพย์, สังหาริมทรัพย์, สิทธิบัตร
จรัญญา แสงสุขดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท แท็กซ์ สเปเชียลลิสท์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการสินทรัพย์และวางแผนภาษี
จุดสำคัญของการสำรวจและทำทะเบียนสินทรัพย์คือเพื่อให้รวบรวมสินทรัพย์และจัดระเบียบเป็นกลุ่ม และสำรวจสินทรัพย์บางส่วนที่อาจถือครองกับผู้อื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว โดยอาจสำรวจปีละ 1 ครั้ง
อุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
การส่งต่อความมั่งคั่งของครอบครัว นอกจากการวางแผนที่รอบคอบและรอบด้านแล้ว การหาเครื่องมือที่ช่วยให้การเปลี่ยนผ่านราบรื่นและถ่ายทอดมรดกเต็มประสิทธิภาพตามความต้องการสามารถทำได้ผ่านเครื่องมือ 4 ประเภท คือ
- การทำพินัยกรรม: การจัดสรรปันส่วนสินทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนเสียชีวิตให้แก่บุคคลที่ต้องการ ซึ่งสามารถทำพินัยกรรมให้กับใครก็ได้ที่เป็น ‘บุคคล’ ไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรม และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
- การยกให้: การให้สินทรัพย์แก่ทายาทขณะที่ยังมีชีวิตสามารถช่วยลดภาระภาษีได้ แต่ต้องคำนึงถึงขีดจำกัดภาษีและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
- การตั้งบริษัทโฮลดิ้ง: วิธีนี้ช่วยในการจัดการสินทรัพย์ในรูปแบบของธุรกิจ ลดภาระภาษี และสามารถส่งต่อธุรกิจครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
- การทำประกันชีวิต: เครื่องมือนี้ไม่เพียงแต่ให้ความคุ้มครองชีวิต แต่ยังสามารถเป็นตัวช่วยในการส่งต่อความมั่งคั่งโดยไม่ต้องเสียภาษีมรดก
เมื่อรวบรวมสินทรัพย์ที่มีทั้งหมดแล้ว ขั้นต่อไปคือการตรวจภาษีที่ติดอยู่กับสินทรัพย์ที่เราถือครอง ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีมรดก, ภาษีรับให้, ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และภาษีธุรกิจเฉพาะ
กฎหมายที่ต้องรู้ในการส่งต่อความมั่งคั่ง
กฎหมายด้านภาษีที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่จะส่งต่อเป็นมรดกเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องศึกษา การศึกษาภาษีในแต่ละสินทรัพย์จะช่วยให้เราสามารถวางแผนและจัดการสินทรัพย์ที่พร้อมส่งต่อเป็นมรดกในรุ่นต่อๆ ไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ
เริ่มจาก ‘ภาษีมรดก’ เป็นกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้น ณ เวลาปัจจุบันในการส่งต่อความมั่งคั่ง โดยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 กล่าวว่า
- หากมูลค่ามรดกเกิน 100 ล้านบาทจะเก็บภาษีมรดกในอัตรา 5% ในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท สำหรับผู้รับที่เป็นผู้สืบสันดานหรือบุพการี
- หากผู้รับไม่ใช่ผู้สืบสันดาน ไม่ใช่บุพการี หรือเป็นนิติบุคคล จะต้องเสียภาษี 10% ในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท
- ตัวอย่างเช่น หากมอบให้ลูกชายจำนวน 120 ล้านบาท ในส่วน 20 ล้านบาทจะต้องเสียภาษี 5% หรือ 1 ล้านบาท
การส่งต่อมรดกในคราวเดียวอาจทำให้สูญเสียความมั่งคั่งลงไป อีกทางเลือกหนึ่งคือ ‘ภาษีรับให้’ เป็นภาษีเงินได้ที่เก็บจากการรับและให้สินทรัพย์ โดยกฎเกณฑ์กำหนดไว้ ดังนี้
- หากมอบให้ผู้ที่เป็นผู้สืบสันดาน บุพการี หรือคู่สมรส จะต้องเสียภาษี 5% สำหรับมูลค่าที่เกิน 20 ล้านบาทต่อปีจะไม่เสียภาษีในส่วนที่เกิน
- หากมอบให้ผู้ที่ไม่ใช่ผู้สืบสันดาน ไม่ใช่บุพการี หรือไม่ใช่คู่สมรส จะต้องเสียภาษี 10% สำหรับมูลค่าที่เกิน 10 ล้านบาทต่อปีจะไม่เสียภาษีในส่วนที่เกิน
การจัดการอสังหาก่อนเปลี่ยนผ่าน
ก่อนการส่งต่อสินทรัพย์ด้านอสังหา ซึ่งจะมีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรองรับ ภาษีนี้เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการถือครองสินทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคาร และบ้านพักอาศัย อัตราภาษีแตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้งานของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้
- ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตรกรรม: อัตราภาษีไม่เกิน 0.15% ของมูลค่าที่ดิน
- ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการอยู่อาศัย: อัตราภาษีไม่เกิน 0.3% ของมูลค่าที่ดิน
- ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม: อัตราภาษีไม่เกิน 1.2% ของมูลค่าที่ดิน
- ที่ดินรกร้างว่างเปล่า อัตราภาษีเริ่มต้นที่ 0.3% และจะเพิ่มขึ้นทุก 3 ปี จนไม่เกิน 3% ของมูลค่าที่ดิน
ในอสังหาบางส่วน เช่น การขายอสังหาเพื่อการค้าและการให้เช่า จะเก็บ ‘ภาษีธุรกิจเฉพาะ’
- การขายอสังหาเพื่อการค้า: จะมีอัตราภาษี 3% ของรายรับจากการขาย
- การให้เช่าและการบริการทางการเงินอื่นๆ: จะมีอัตราภาษี 3% ของรายรับสุทธิ
การตั้งบริษัทโฮลดิ้งเพื่อเก็บความมั่งคั่ง
การจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งในการส่งต่อความมั่งคั่งสู่ทายาทจะช่วยจัดระเบียบการถือครองสินทรัพย์และธุรกิจครอบครัวให้เป็นระบบ โดยบริษัทโฮลดิ้งจะทำหน้าที่เป็นบริษัทแม่ที่ถือหุ้นในบริษัทย่อยต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์หลายด้าน ทั้งการลดความเสี่ยงทางกฎหมายโดยแยกความรับผิดระหว่างแต่ละกิจการ การบริหารภาษีอย่างมีประสิทธิภาพผ่านโครงสร้างการถือหุ้นที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
การสร้างความโปร่งใสในการบริหารจัดการสินทรัพย์และผลประกอบการ และที่สำคัญคือช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัวจากการแบ่งมรดกที่ไม่เท่าเทียม เพราะทายาทสามารถถือหุ้นในบริษัทโฮลดิ้งและได้รับผลตอบแทนจากภาพรวมของธุรกิจทั้งหมด แทนที่จะต้องแยกกันดูแลแต่ละกิจการซึ่งอาจมีผลประกอบการที่แตกต่างกัน ทำให้การส่งต่อความมั่งคั่งเป็นไปอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
ประกันชีวิต อีกหนึ่งเครื่องมือส่งต่อมรดก
การทำประกันชีวิตอาจเป็นเครื่องมือในการวางแผนชีวิต กระนั้นประกันชีวิตยังเป็นอีกเครื่องมือในการส่งต่อความมั่งคั่งให้รุ่นต่อไปได้
การใช้ประกันชีวิตเพื่อส่งต่อความมั่งคั่งให้ลูกหลานเป็นกลยุทธ์ทางการเงินที่มีความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ในหลายด้าน
- ประการแรก เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตไม่ถือเป็นสินทรัพย์ของผู้ตายตามกฎหมาย จึงไม่ต้องเสียภาษีมรดก ช่วยให้ครอบครัวหรือผู้รับผลประโยชน์ได้รับสินทรัพย์ทั้งหมดโดยไม่ต้องแบกรับภาระภาษีที่อาจเกิดขึ้น
- ประการที่สอง การกำหนดผู้รับผลประโยชน์ทำได้อย่างยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย
- ประกันชีวิตยังมีข้อได้เปรียบในการปกป้องสินทรัพย์จากการถูกเรียกร้องโดยเจ้าหนี้ของผู้เอาประกันภัยเมื่อเสียชีวิต ทำให้ผู้รับผลประโยชน์ได้รับเงินก้อน เพื่อใช้จัดการกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิต เช่น การศึกษาของบุตร หรือค่ารักษาพยาบาล โดยไม่ต้องกังวลถึงปัญหาทางการเงิน
- เงินสินไหมมรณกรรมจากประกันชีวิตยังสามารถได้รับการจัดการได้อย่างรวดเร็ว ไม่เหมือนการสืบทอดสินทรัพย์ผ่านพินัยกรรมที่อาจใช้เวลาและมีความซับซ้อน ในกรณีของประกันชีวิต ผู้รับผลประโยชน์สามารถรับเงินได้ภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากแจ้งเหตุการเสียชีวิต ทำให้เป็นแหล่งเงินสดที่สำคัญในยามฉุกเฉิน
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามกฎหมาย ทำให้เป็นวิธีการประหยัดภาษีที่มีประโยชน์สำหรับผู้เอาประกัน และยังคุ้มครองคงที่ตลอดอายุสัญญา ทำให้การวางแผนระยะยาวง่ายขึ้นและมั่นคงมากขึ้น
การทำประกันชีวิตยังช่วยส่งเสริมการส่งต่อมรดกได้ ยกตัวอย่างเช่น ชายอายุ 65 ปี อยากส่งต่อสินทรัพย์จำนวน 150 ล้านบาทให้บุตร ในขณะที่ตัวเขาทำกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ทุนประกัน 2.5 ล้านบาทเอาไว้ เมื่อเขาเสียชีวิต บุตรจะสามารถนำเงินมาจ่ายภาษีส่วนเกินของ 100 ล้านบาทไว้ได้
การใช้ประกันชีวิตเพื่อส่งต่อมรดกจึงเป็นวิธีการที่สามารถสร้างหลักประกันทางการเงินที่มั่นคงให้กับคนที่เรารักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความกังวลใจเรื่องภาระทางการเงินและภาษีได้อย่างดีเยี่ยม
จะเห็นได้ว่าการส่งต่อมรดกและความมั่งคั่งให้ลูกหลานอาจมีกฎเกณฑ์และกำแพงด้านภาษี แต่การวางแผนและการจัดการล่วงหน้าที่ดีจะช่วยลดความไม่แน่นอนลง และส่งต่อความมั่งคั่งได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์
สำหรับแบบประกันที่จะเป็นตัวช่วยในการวางแผนส่งมอบมรดกตามรูปแบบที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้แก่ ประกันชีวิต พรีเมียร์ เลกาซี่ คลายกังวลเรื่องภาษีมรดกที่อาจเกิดขึ้น ตอบโจทย์เรื่องการส่งต่อมรดกได้เป็นอย่างดี เพราะทุนประกันสูง เริ่มต้นตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป และสามารถทำทุนประกันได้สูงสุดถึง 500 ล้านบาทเลยทีเดียว
ประกันชีวิต พรีเมียร์ เลกาซี่* ส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่สะดุด
- ให้ความคุ้มครองชีวิตสูง คุ้มครองตั้งแต่วันแรกที่กรมธรรม์อนุมัติ ยาวนานถึงอายุ 99 ปี
- จ่ายเบี้ยสั้นหรือยาวเลือกเองได้ เลือกชำระเบี้ยครั้งเดียว 5 ปี 10 ปี หรือจ่ายถึงครบอายุ 99 ปี
- ส่งมอบหลักประกันให้ครอบครัว ได้ตามเจตนารมณ์ที่ต้องการ
- ช่วยบริหารภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สินไหมมรณกรรมไม่ถือเป็นมรดก ไม่มีภาระทางภาษี
- ค่าเบี้ยลดหย่อนภาษีได้ สูงสุด 100,000 บาท ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
คำเตือน:
- ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
- กรณีกรมธรรม์ไม่ได้ระบุผู้รับผลประโยชน์ หรือระบุไว้แต่เสียชีวิตก่อนหรือพร้อมกับผู้เอาประกันภัย ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์จะตกแก่กองมรดกของผู้เอาประกันภัย