×

Startup Scale up Series EP 9: golfdigg ความชอบปั้นความสำเร็จ

03.10.2018
  • LOADING...

golfdigg เริ่มต้นที่ความชอบ
golfdigg (กอล์ฟ-ดิกก์) แพลตฟอร์มให้บริการจองสนามกอล์ฟออนไลน์ เริ่มก่อตั้งเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาโดย ภูริชช์ อักษรทับ (Chief Golf Officer) ที่มีความหลงใหลในกีฬากอล์ฟอย่างมาก และกลุ่มเพื่อนที่เปิดบริษัทพัฒนาแอปพลิเคชันที่กำลังเริ่มต้นค้นหาไอเดียเพื่อสร้างบริการดีๆ ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาผู้คน นำโดย ธีระ ศิริเจริญ (CEO), วิชาติพล สุรพลพิเชฏฐ์ (Chief Product Officer), ทัศวิท อินทสุวรรณ (COO) และเสฎฐวุฒิ อรุณศรี (CTO)

 

 

จุดเริ่มต้นของ golfdigg มาจากปัญหาส่วนตัวของภูริชช์ที่มักจะจองสนามกอล์ฟกับเพื่อนๆ ในช่วงเวลาหลังเลิกงาน แต่ปรากฏว่าสนามปิด จองไม่ได้ ที่สำคัญคือหลายครั้งที่โทรจองแล้วพบว่าราคาที่เพื่อนๆ จองนั้นถูกกว่าหรือสนามมีราคาโปรโมชันดีๆ เลยคิดว่าควรจะมีบริการจองสนามกอล์ฟแบบออนไลน์ที่จะสามารถจองได้ตลอด 24 ชั่วโมงและมีราคาที่เป็นธรรม จึงเริ่มรวมทีมเพื่อนำไอเดียนี้มาพัฒนาให้เกิดขึ้นเป็นบริการจริงๆ

 

คำว่า digg หมายถึงสิ่งที่เราชื่นชอบหรือหลงใหล ทำให้เมื่อนำ golf + digg รวมกันก็จะหมายถึงความชื่นชอบหรือหลงใหลในกีฬากอล์ฟ ดังนั้นบริการต่างๆ ที่ตั้งใจพัฒนาขึ้นมาก็เพื่อนักกอล์ฟตัวจริงหรือคนที่ชื่นชอบในกีฬากอล์ฟจริงๆ

 

 

จากความชอบสู่ธุรกิจระดับอินเตอร์
เริ่มแรก golfdigg ได้โฟกัสโมเดล Last Minute Deal ที่มีจุดขายคือการนำ Timeslot ของสนามกอล์ฟระดับพรีเมียมมาลดราคา 30-80% แทนที่จะปล่อยให้เสียเปล่าแบบไม่ได้อะไรเลย เริ่มแรกรูปแบบการจองจะสามารถจองล่วงหน้าได้ 1 วันเท่านั้น (สโลแกนช่วงแรกคือ จองวันนี้ ตีพรุ่งนี้) ก็ถือเป็นการทดสอบด้วยว่าสิ่งที่ golfdigg กำลังทำนี้เป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมกอล์ฟประเทศไทยจริงๆ หรือไม่

 

ผลตอบรับนั้นเป็นไปในทางที่ดี ได้รับการตอบรับจากคนเล่นกอล์ฟจริงๆ นักกอล์ฟสามารถจองสนามกอล์ฟได้สะดวกสบายในราคาที่เป็นธรรมและคุ้มค่ามากขึ้น สนามกอล์ฟก็มีช่องทางในการขายออนไลน์ซึ่งสามารถเพิ่มยอดขายได้จริง และ golfdigg ก็ขยายจากการจองล่วงหน้า 1 วันไปเป็นสามารถจองได้ล่วงหน้า 1-7 วันในปีต่อมา ปัจจุบันนี้ลูกค้านักกอล์ฟสามารถจองได้ล่วงหน้าสูงสุดถึง 30 วัน และแต่ละวันก็มี Timeslot ให้เลือกหลากหลายเวลาในราคาต่างๆ อำนวยความสะดวกนักกอล์ฟมากขึ้น

 

 

golfdigg ให้บริการจองสนามกอล์ฟออนไลน์ผ่านช่องทางแอปพลิเคชันทั้งบน iOS และ Android รวมถึงบนเว็บไซต์ www.golfdigg.com มีผู้ใช้บริการรวมทุกช่องทางแล้วกว่า 100,000 คน โดยมีลูกค้านักกอล์ฟทั้งชาวไทย, Expat (ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศ) กว่า 90% โดยใช้ช่องทางแอปพลิเคชัน และอีก 10% คือชาวต่างชาติกลุ่มชาวญี่ปุ่น เกาหลี และยุโรป ซึ่งถือเป็นกลุ่มหลักที่จะเดินทางมาตีกอล์ฟในประเทศไทยโดยเลือกใช้ช่องทางเว็บไซต์

 

ชาวต่างชาติรู้จัก golfdigg ผ่านทางเสิร์ชเอนจินและคอนเทนต์รีวิวที่ลูกค้าได้จองมาจริงๆ แล้วได้กลับไปเขียนรีวิวถึงความประทับใจใน golfdigg การเติบโตของลูกค้าต่างชาติก็จึงเป็นในรูปแบบออร์แกนิก (เติบโตแบบเป็นธรรมชาติโดยไม่ได้ใช้เงินการตลาด) golfdigg ให้ความสำคัญกับ User Experience ที่ดีสำหรับลูกค้าทุกๆ คน และในไตรมาส 4 ของปี 2018 นี้ยังมีแผนที่จะเริ่มทำการตลาดผ่านพาร์ตเนอร์สำคัญๆ มากขึ้น

เสียงของลูกค้าคืออินพุตที่สำคัญการพัฒนา golfdigg โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลักอยู่ 3 ครั้งคือ

 

ครั้งที่ 1 เปลี่ยนแปลง Business Model คือเปลี่ยนจากการให้บริการแบบ Last Minute Deal ที่จะเน้นที่ราคาที่ถูกที่สุดเป็นหลัก มาเป็นให้บริการ Golf Booking Service ที่มี Last Minute Deal เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบริการ เพราะลูกค้านักกอล์ฟนั้นมีหลายเซกเมนต์ ทั้งกลุ่มที่ต้องการจองในราคาที่ถูกจริงๆ หรือกลุ่มที่ราคาเป็นเรื่องรอง เน้นเวลาที่ออกรอบที่ใช่เป็นเหตุผลสำคัญในการจองมากกว่า

 

ครั้งที่ 2 การเพิ่มบริการ Ticket และ Leisure สำหรับนักกอล์ฟ เพื่อให้บริการกับนักกอล์ฟอย่างครอบคลุม สามารถเลือกจองบริการอื่นๆ ก่อนและหลังตีกอล์ฟได้ เช่น คอร์สเรียนตีกอล์ฟสำหรับมือใหม่ที่อยากทดลองเรียน, แพ็กเกจตีกอล์ฟต่างจังหวัดพร้อมที่พัก, บัตรเข้าชมการแข่งขันกอล์ฟ, บัตรเข้าร่วมการแข่งขันกอล์ฟ, คูปองน้ำและอาหารในสนามกอล์ฟ และบริการอื่นๆ ที่จะทยอยให้บริการเร็วๆ นี้

 

ครั้งที่ 3 การเพิ่มบริการ Web Reserve ซึ่งเป็นเว็บไซต์ให้นักกอล์ฟสามารถจองสนามกอล์ฟที่ต้องการได้ผ่านเว็บไซต์ของสนาม ซึ่งปัจจุบันมีสนามกอล์ฟที่ให้บริการแล้ว 3 สนาม และถือว่าอยู่ในช่วงเริ่มต้นที่กำลังทยอยปล่อยฟีเจอร์ต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง



จุดเปลี่ยนแต่ละครั้งของเราล้วนมาจากฟีดแบ็กของนักกอล์ฟและสนามกอล์ฟ ซึ่งแต่ละครั้งที่เปลี่ยนถือเป็นการเปลี่ยนเพื่อขยายขอบเขตของการให้บริการให้กว้างขึ้น เจาะลึกมากขึ้น แต่ยังโฟกัสที่อุตสาหกรรมกอล์ฟที่สามารถเป็นได้ทั้งกีฬาและการท่องเที่ยว

 

 

ล่าสุดกับบริการใหม่ ฟังก์ชันเวอร์ชันล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเร็วๆ นี้คือ golfdigg Family ซึ่งคือการนำระบบ Loyalty Program มาคิดและปรับปรุงใหม่ทั้งหมดให้เหมาะสมกับธุรกิจและโดนใจลูกค้านักกอล์ฟมากขึ้น โดยนักกอล์ฟที่จองออกรอบผ่าน golfdigg จะได้สิ่งที่แตกต่างและมากกว่าการจองด้วยช่องทางอื่นๆ ทุกการจอง 200 บาทจะได้รับ 1 พอยต์ และถ้ามีครบ 250 พอยต์จะได้รับการอัปเกรดขึ้นเป็นระดับ Gold ถ้าสะสมจนได้อีก 500 พอยต์ก็จะได้รับการอัปเกรดเป็นระดับ Black ซึ่งปัจจุบันเรามีลูกค้าระดับ Black อยู่ที่เกือบๆ 1% และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่นักกอล์ฟทราบว่าในแต่ละระดับนั้นจะได้รับสิทธิพิเศษอะไรบ้าง

 

golfdigg Family จะเป็นสิ่งหนึ่งที่นักกอล์ฟที่จองผ่าน golfdigg ถามเป็นประจำว่าจะนำพอยต์ไปทำอะไรได้ ซึ่งเราก็พยายามคิดในหลายๆ มุม ลองสอบถามและทดสอบกับนักกอล์ฟในแต่ละกลุ่มจริงๆ ว่าอยากให้พอยต์เหล่านี้ไปทำอะไรถึงจะดีที่สุด ซึ่งนักกอล์ฟส่วนมากจะพูดออกมาคล้ายๆ กัน จึงทำให้มั่นใจว่าน่าจะตอบโจทย์พี่ๆ นักกอล์ฟทุกๆ คน



สิ่งที่ golfdigg คาดหวังจากบริการนี้คือการที่นักกอล์ฟรู้สึกชอบกับสิทธิประโยชน์ในแต่ละระดับที่ทีมงานพยายามคิดและพัฒนาขึ้นมา ลูกค้าสามารถใช้ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษต่างๆ ที่มีทั้งหมดเพื่อจองสนามกอล์ฟให้คุ้มค่าที่สุด ซึ่งก็ตรงกับมิชชันของ golfdigg นั่นก็คือ We make people enjoy more golf.



ประสบการณ์จริงในต่างแดน
ในวันที่ 5-7 กันยายนที่ผ่านมานี้ golfdigg มีโอกาสร่วมเดินทางพร้อมกับ AIS The StartUp ไปยังประเทศเกาหลีใต้ เพื่อร่วมประชุมสุดยอดสตาร์ทอัพเอเชีย (The Asia Startup Summit 2018: ASSUM 2018)



“จริงๆ ตลอด 3 วันที่งาน ASSUM 2018 เราก็เรียนรู้หลายๆ เรื่อง แต่ประเด็นสำคัญที่สุดคือการได้ฟังข้อมูลเชิงลึกของแต่ละประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาหลีใต้ และจีน จากผู้ที่มีประสบการณ์และอยู่ในตลาดนั้นจริงๆ มาเล่าให้ฟัง ถือว่าเป็นประโยชน์มากๆ เรารู้ถึงพฤติกรรมลูกค้าในประเทศต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับการทำการตลาดแบบ Inbound ที่ให้นักกอล์ฟในประเทศต่างๆ เดินทางมาตีกอล์ฟในประเทศไทย และเตรียมสำหรับการขยายธุรกิจไปประเทศอื่นๆ ซึ่งเรากำลังอยู่ระหว่างการศึกษาและเตรียมตัวอยู่” ธีระกล่าว

 

 

นิยามคำว่า Scale ในแบบฉบับของ golfdigg
Scale ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้สตาร์ทอัพนั้นอยู่ได้ ตัวอย่างจาก golfdigg ที่รายได้หลักจะมาจากค่าคอมมิชชันของฝั่ง B2C ยิ่งขายได้มากก็จะมีส่วนแบ่งที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องขยายธุรกิจให้มีฐานลูกค้าจำนวนมาก และต้นทุนในการดำเนินธุรกิจจะต้องเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่าการขยายธุรกิจ เพื่อที่จะได้มีรายได้เติบโตไปพร้อมกับการขยายตัว มากเพียงพอที่จะอยู่ได้ด้วยตัวเองและยังคงเติบโต ซึ่งก็คือการ Scale นั่นเอง ดังนั้นทั้งกระบวนการทำงานต่างๆ ระบบหน้าบ้าน หลังบ้าน โอเปอเรชัน หรือการซัพพอร์ต เราจะต้องมีการวางแผนมาตั้งแต่แรกๆ ให้สามารถรองรับการ Scale ได้



คำแนะนำจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
golfdigg เองก็ยังคงเป็นสตาร์ทอัพและกำลังอยู่ในช่วงที่ Scale สิ่งที่อยากแนะนำจริงๆ คือการ Scale ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องคิดไว้ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการเริ่มทำสตาร์ทอัพ แต่สิ่งสำคัญคือหากสิ่งที่เราคิดและวางแผนไว้ดันไม่ได้เป็นไปตามที่เราคิด เราก็ควรที่จะแก้ไขปัญหาหรือพร้อมปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อรักษาโมเมนตัมของการเติบโตเอาไว้อยู่ตลอดเวลา เพราะสตาร์ทอัพที่จะอยู่รอดต้องเป็นสตาร์ทอัพที่สามารถ Scale ได้

 

 

AIS The StartUp มีความเชื่อเดียวกันกับ golfdigg เราให้ความสำคัญในการ Scale และขยายขอบเขตธุรกิจพร้อมความมุ่งมั่น เหล่านี้ช่วยต่อยอดให้สมาชิกใน AIS The StartUp เติบโตและสร้างผลกำไรได้อย่างแท้จริง หากใครที่เป็นนักพัฒนาธุรกิจที่อยากติดอาวุธสร้างปีกสู่การ Scale สมัครเข้าร่วมนำเสนอผลงานได้ที่ AIS The StartUp ผ่านทาง www.ais.co.th/thestartup ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X