×

‘ศรีตรัง’ เปิดตัว ‘ยางมีพิกัด (GPS)’ ขานรับมาตรการ EUDR ระบบตรวจสอบย้อนกลับยางพารา 100% เร่งยกระดับอุตสาหกรรมยางพาราไทยในตลาดยุโรป [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
21.03.2024
  • LOADING...
ศรีตรัง ยาง GPS ยางมีพิกัด

เมื่อกระแสความยั่งยืนเป็นทั้งความท้าทายและโอกาส การตื่นตัวที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลต่อการทำธุรกิจชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องพึ่งพาการส่งออก ทั้งเงื่อนไขที่เข้มงวดมากขึ้นและเกี่ยวข้องกับเรื่องความยั่งยืน หลายประเทศออกมาตรการการนำเข้าสินค้าเป็นตัวขับเคลื่อนเรื่องนี้

 

อย่างในตลาดสหภาพยุโรป หรือ EU ที่ออกกฎหมาย EUDR (EU Deforestation Regulation) ว่าด้วยสินค้า 7 ประเภท ต้องปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของยุโรป ซึ่ง ‘ยางพารา’ เป็นหนึ่งในนั้น 

 

บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA ผู้นำธุรกิจยางธรรมชาติครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลก และผู้ผลิตและจัดจำหน่ายถุงมือยางธรรมชาติและถุงมือยางไนไตรล์รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หนึ่งในองค์กรที่ให้ความสำคัญด้านความยั่งยืนมาโดยตลอด จึงเปิดตัว ‘ยางมีพิกัด’ หรือ ‘ยาง GPS’ ที่มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) แหล่งที่มาของยางได้ 100% เพื่อแสดงความพร้อมตอบรับกฎหมาย EUDR อีกทั้งเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมยางพาราไทยให้อยู่เหนือมาตรฐานประเทศอื่นๆ และเป็นโอกาสที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่ง สร้างความได้เปรียบทางการค้าของไทย ไปจนถึงโอกาสในด้านราคายางที่เพิ่มขึ้น 

 

 

วีรสิทธิ์ สินเจริญกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่และกรรมการบริหาร บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ STA เผยว่า “ประเทศไทยมีโอกาสและความได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆ จากหน่วยงานการยางแห่งประเทศไทย ที่ช่วยดูแลและส่งเสริมอุตสาหกรรมยางพาราไทยมาโดยตลอด และเป็นหน่วยงานที่ตื่นตัวเรื่อง EUDR อย่างมาก อีกทั้งสวนยางในประเทศไทย เกษตรกร และคู่ค้า ก็มีความพร้อมที่จะเดินหน้า เพื่อแสดงจุดยืนในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โปร่งใส และตรวจสอบได้”

 

‘ยางมีพิกัด’ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมยางพาราไทย

 

‘ยางมีพิกัด’ คือยางที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของยางได้ (Traceability) 100% ว่ายางธรรมชาติ อย่างเช่น ยางก้อนถ้วย น้ำยางสด และยางแผ่น มาจากพื้นที่สวนไหน ของใคร ซึ่งต้องเป็นสวนที่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

“ยางมีพิกัดยังเป็นการแสดงจุดยืนในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โปร่งใส และตรวจสอบได้ของศรีตรัง และเป็นกุญแจที่ช่วยผลักดันทำให้ประเทศไทยมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น เนื่องจาก ‘ยางมีพิกัด’ ไม่ได้แค่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะตลาดในยุโรปเท่านั้น แต่เพิ่มโอกาสในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยขยายตลาดยางพาราไปตลาดโลก” วีรสิทธิ์กล่าว

 

 

กฎเหล็ก EUDR ดันยางพาราไทยผงาดในตลาดโลก

 

วีรสิทธิ์บอกว่า กฎหมาย EUDR จะเป็นแรงขับที่ทำให้ทุกฝ่ายตื่นตัวและมีการพัฒนายางพาราอย่างต่อเนื่อง

 

ทั้งนี้ กฎ EUDR จะเริ่มมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปี 2567 ส่งผลให้การส่งออกยางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากยางธรรมชาติไปยุโรป ต้องผ่านการตรวจสอบแหล่งที่มา เพื่อยืนยันว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่าและบุกรุกป่าสงวน ต้องมาจากสวนยางที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่อนุรักษ์ และพื้นที่ป่า การจัดการสวนยางพาราต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่ส่งผลกระทบต่อสังคม  

 

 

ณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า “ประเทศไทยให้ความสำคัญเรื่อง EUDR อย่างมาก มีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการนี้อย่างเป็นรูปธรรม ส่วนตัวมองว่าประเทศไทยได้เปรียบหลายประเทศ เพราะมีไม่กี่ประเทศในโลกที่มีหน่วยงานกำกับเกี่ยวกับเรื่องยาง การขับเคลื่อนโดยมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุนจะช่วยขับเคลื่อนนโยบายได้อย่างชัดเจนและรวดเร็วกว่าประเทศอื่น ขณะเดียวกันหลายบริษัทในประเทศไทยก็ทำงานร่วมกันในลักษณะของพันธมิตร การที่ศรีตรังทำเรื่องยางมีพิกัด (GPS) จะเป็นโมเดลให้กับหลายบริษัทที่อยากขับเคลื่อนเรื่องนี้สามารถทำตามได้” 

 

‘ยางมีพิกัด’ เครื่องมือเสริมแกร่ง Sri Trang Ecosystem 

 

ปภาวี ศรีสุทธิพงศ์ Business Development and Partnership Manager บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) บอกว่า ศรีตรังลงทุนกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสร้างระบบนิเวศที่ครบวงจร ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวสวนยาง พร้อมเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียทั้งห่วงโซ่อุปทานของศรีตรังเข้าด้วยกันใน ‘Sri Trang Ecosystem’ แอปพลิเคชัน Sri Trang Friends, แอปพลิเคชัน Sri Trang Friends Station, บริการ Super Driver และระบบ Smart Factory ที่ช่วยทรานส์ฟอร์มกระบวนการรับซื้อยางสู่ดิจิทัล เชื่อมโยงผู้ที่อยู่ในระบบนิเวศ ได้แก่ ชาวสวนยาง, ผู้ค้ายาง, ผู้ขนส่งยาง, ชุมชน, คู่ค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยาง

 

 

“Sri Trang Ecosystem ทำให้การต่อยอด ‘ยางมีพิกัด (GPS)’ ง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น ในทางกลับกัน ยางมีพิกัด (GPS) ก็ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ Sri Trang Ecosystem ยั่งยืนมากขึ้น สามารถตรวจสอบย้อนกลับและยืนยันความโปร่งใสของกลุ่มบริษัทศรีตรังได้อีกทาง เชื่อว่าจะสามารถสร้างมิติใหม่แก่อุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยและการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยางพาราในตลาดโลก”

 

สำหรับเป้าหมายจำนวนเกษตรกรและผู้ค้ายางที่จะทำยางมีพิกัดกับศรีตรัง ปภาวีตั้งเป้า 100,000 รายภายในสิ้นปี 2567 และขยายเพิ่มขึ้นเป็น 220,000 รายภายในสิ้นปี 2568 โดยประมาณ เพื่อรองรับ EUDR ตามคำสั่งซื้อของลูกค้าในอนาคต

 

ด้านตัวแทนของคู่ค้ากลุ่มบริษัทศรีตรังเผยเหตุผลที่ตัดสินใจเข้าร่วมทำยางมีพิกัดว่า “เป็นโครงการที่ส่งผลดีต่อชาวสวนยางมาก โดยเฉพาะเรื่องของรายได้ที่เพิ่มขึ้น ช่วยยกระดับยางพาราไทยให้ไปสู่สากล นอกจากนี้เกษตรกรที่จะเข้าร่วมได้ต้องมีเอกสารสิทธิ์ ก็เท่ากับช่วยเรื่องการบุกรุกที่ดินทำกินได้อีกทาง”

 

ภาพรวมอุตสาหกรรมยางธรรมชาติปี 2567

 

ภาพรวมเติบโตสถานการณ์ยางในเมืองไทย ความต้องการของตลาดขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 เป็นสัญญาณที่ดีของแนวโน้มด้านราคาและการส่งออกที่เพิ่มขึ้นหลังซบเซาจากสถานการณ์โควิด ปัจจัยหนุนคือดีมานด์ยางจากฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ ที่เริ่มฟื้นตัวจากการที่ลูกค้าได้ระบายสต็อกกลับมาอยู่ในระดับปกติ ประกอบกับความกังวลต่อปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่มีผลให้ฝนตกลดลงและกระทบต่อผลผลิตยางที่ออกสู่ตลาด 

 

คงต้องจับตาสถานการณ์เศรษฐกิจจีนควบคู่กัน เนื่องจากจีนถือเป็นผู้บริโภคยางรายใหญ่ของโลก หากแนวโน้มเศรษฐกิจดูสดใส ย่อมส่งผลดีต่อภาพรวมดีมานด์อุตสาหกรรมยางธรรมชาติเช่นกัน

 

ด้านสถานการณ์ราคายางธรรมชาติเริ่มทยอยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา โดยราคาเฉลี่ยยาง TSR 20 ณ ตลาด SICOM ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 อยู่ที่ 152.7-155.1 เซนต์ต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยเดือนธันวาคมอยู่ที่ 145.4 เซนต์ต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 5-7% 

 

 

จากสถานการณ์ข้างต้น นำไปสู่การวางแผนธุรกิจปี 2567 ของกลุ่มบริษัทศรีตรัง วีรสิทธิ์กล่าวว่า “เราตั้งใจที่จะขยายกำลังการผลิตยางธรรมชาติเพิ่มขึ้น จากเดิม 3.66 ล้านตัน เป็น 3.86 ล้านตัน หากเดินเครื่องกำลังการผลิตตลอด 24 ชั่วโมง ตอนนี้ได้เริ่มปรับปรุงกระบวนการผลิต นำเทคโนโลยีระบบ Automation เข้ามาใช้ภายในโรงงานเพิ่มเติม ติดตั้งระบบ AI ที่โรงงาน 4 แห่ง ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดมุกดาหาร, จังหวัดนราธิวาส และประเทศเมียนมา นอกจากนั้นจะเปิดศูนย์รับซื้อวัตถุดิบที่ประเทศไอวอรีโคสต์ในแถบแอฟริกาตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโตของผลผลิตยางพารา

 

“ตั้งเป้าปริมาณขายยางรวม 1.5 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15% จากปีก่อนที่มีปริมาณการขายรวม 1.3 ล้านตัน ในสัดส่วนนี้จะเป็นยางมีพิกัดอย่างน้อย 50% สำหรับเจาะกลุ่มตลาด EU และตลาดที่มีความต้องการยางคุณภาพสูงที่สามารถบอกแหล่งที่มาของยางได้โดยเฉพาะ หากคิดเป็นสัดส่วนการตลาดในประเทศทั้งหมดยังอยู่ที่ 30% ซึ่งเป็นสัดส่วนการส่งออกของไทยเพียง 10-20% เท่านั้น ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ราคายางในตลาดด้วย”

 

สำหรับแผนรับมือผลกระทบของผลผลิตยางจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ฝ่ายสรรหาของบริษัทฯ ได้มีการวางแผนร่วมกับเกษตรกรและผู้เชี่ยวชาญในการอัปเดตข้อมูลสถานการณ์สภาพอากาศแบบรายวัน เพื่อกำหนดกลยุทธ์รับซื้อและจำหน่ายต่อไป

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising