ในช่วง 7-8 ปี คำว่าสตาร์ทอัพได้เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทย มีการตื่นตัวในเรื่องของ Design Thinking เกิดขึ้น แต่ในขณะนั้นองค์ความรู้สำหรับการทำสตาร์ทอัพยังมีไม่มากนัก และด้วยเทคโนโลยีที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลและข่าวสาร ทำให้องค์ความรู้ในด้านต่างๆ พัฒนามากขึ้น หลายธุรกิจสตาร์ทอัพในยุคแรกสามารถขยายเติบโตจนสามารถสเกลอัพได้ มีการขยายเติบโตอย่างก้าวกระโดดในระยะเวลาไม่นาน
ผู้เขียนขอย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ AIS เริ่มก่อตั้งโปรเจกต์ AIS The StartUp ขึ้นมา ในห้วงเวลานั้น เรามองเห็นความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาให้เกิดกลุ่มธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเข้ามาตอบโจทย์แก้ปัญหาต่างๆ ได้ รวมทั้งยังเป็นเหมือนเวทีที่อยากเปิดโอกาสให้คนที่มีไอเดีย มีสกิล สามารถมีพื้นที่ซัพพอร์ต ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ทำงานกับกลุ่มสตาร์ทอัพไทย เราเหมือนได้เรียนรู้ถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันอยู่เสมอ
ข้อมูลจาก Techsauce Startup Report 2018 มีสตาร์ทอัพไทย 35 รายที่ได้รับทุนรวมกัน 61.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่มีสัญญาณบวกเพิ่มมากขึ้น และทิศทางสำหรับการเติบโตของสตาร์ทอัพไทยยังคงมีแนวโน้มที่ดี
บทบาทสำคัญที่ AIS อยากมีส่วนร่วมในการผลักดันและสนับสนุนวงการนี้ นอกเหนือจากการมีโปรเจกต์ AIS TheStart Up แล้ว เรายังอยากแชร์ความรู้และประสบการณ์ต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลความรู้ให้กับผู้ที่สนใจทั่วไปได้เช่นกัน
แต่หากพูดให้ครบมิติ สตาร์ทอัพก็ไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ของทุกคนที่ลงมาในสนามแห่งนี้ แน่นอนว่าไอเดียหรือธุรกิจที่เฟลก็มีให้เห็นอยู่ แต่เราอยากชวนผู้อ่านมาร่วมกันถอดรหัสว่า Suggestive Failure and Key Success ของการทำธุรกิจสตาร์ทอัพเราควรมีอะไรบ้าง
การที่บริษัทสตาร์ทอัพจะนำพาตัวเองมาอยู่ในระดับสเกลอัพจนเป็นที่ยอมรับในสังคมก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แทบทุกบริษัทต้องใช้เวลาในการพิสูจน์และวางกลยุทธ์อย่างชาญฉลาด องค์ประกอบเปรียบเทียบแบบง่ายให้ทุกคนมองเห็นภาพรวมพร้อมกันว่าข้อแตกต่างระหว่างสตาร์ทอัพที่ได้ไปต่อและต้องกลับบ้านคืออะไร
บทความต่อไป เราจะพาคุณไปมองโครงสร้างของสตาร์ทอัพว่า ในแต่ละสเตปควรจะต้องสนับสนุนและผลักดันสกิลไหนอย่างไร
พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า